กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต นำแง่คิดดีๆ จาก พิพัฒน์ ละเอียดอ่อน หรือ Khunphiphat เจ้าของผลงาน 100+ Podcast ที่มาพร้อมกับการไขความลับใช้ชีวิตให้ยืนยาว แต่วันนี้มาในรูปแบบเรื่องราวแง่คิด ชีวิต ใน 100+ Story
เพื่อชาติ อาจต้องทำมากกว่านอน!
ร้อนๆ ออกมาจากเตา BMJ และ Frontiers in Endocrinology พึ่งตีพิมพ์ การศึกษา ทำไม คนอ้วน โรคอ้วน & โรค metabolic syndrome จึงตอบสนองต่อ covid-19 ได้ดี ทำให้มีอาการหนักและเสียชีวิต และการออกกำลังกายมีผลต่อ covid-19 อย่างไร
ไว้วันหลังจะเขียนฉบับเต็ม ให้เข้าใจง่ายๆ เรียบเรียงก่อน…
นักวิทยาศาสตร์ทราบมาระยะหนึ่งแล้วว่าคนที่มีความฟิตแบบแอโรบิค มีโอกาสน้อยที่จะเป็นหวัด และการติดเชื้อไวรัสอื่น ๆ และฟื้นตัวได้เร็วกว่าคนที่ไม่มีความฟิต
ขยาย เพิ่มการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันได้ดี การออกกำลังกายที่ดี ยังช่วยเพิ่มการตอบสนองของแอนติบอดีที่มีต่อวัคซีนส่วนหนึ่งเป็นเพราะการออกกำลังกายสามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่และไวรัสสายพันธุ์อื่นๆ & โรคอื่น ๆ
ข้อสรุปการปฏิบัติตามแนวทางการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมีความสัมพันธ์อย่างมากกับความเสี่ยงที่ลดลงสำหรับผลลัพธ์ที่รุนแรงและเสียชีวิต ของการติดเชื้อ COVID-19 ในคนผู้ใหญ่
ขอแนะนำจากงานวิจัยให้พยายามส่งเสริมการออกกำลังกายโดยหน่วยงานสาธารณสุข และรวมอยู่ในการดูแลทางการแพทย์ตามปกติง่ายๆ ไปก่อน รักใคร ชวนให้ลุกออกมาออกกำลังกายตอนเช้า เดิน วิ่ง ปั่น อะไรก็ได้ รอบบ้าน & หมู่บ้าน * (ดูให้เหมาะสม)
ลด นน. = ลดความเสี่ยง!!
“เราหยุดการระบาดไม่ได้ แต่เราออกกำลังกายได้”
พิจารณาการออกกำลังกายให้เหมาะสมแต่ละคน แต่ละสถานที่กันด้วยนะ
Frontiers in Endocrinology คือ
งานวิจัยที่ผ่านการทบทวนอย่างเข้มงวดตั้งแต่การสื่อสารระดับโมเลกุลและเซลล์ขั้นพื้นฐานไปจนถึงการดูแลทางคลินิกการพัฒนาความเข้าใจของเราเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ และนำไปสู่การบำบัดแบบใหม่สำหรับปัญหาสุขภาพที่แพร่หลายมากที่สุดเช่นโรคอ้วนโรคเบาหวานการสืบพันธุ์และการแก่ชรา
BMJ
BMJ เป็นวารสาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลวิจัยทางการแพทย์ที่ได้รับการตรวจสอบและตีพิมพ์โดย British Medical Association เป็นวารสารทางการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดเล่มหนึ่งของโลก