วัคซีน ควรไปต่อหรือรอ?

0
298
kinyupen

จากกรณีศึกษาจากประเทศฝั่งยุโรปที่มีอัตราการตายเป็นแสนคน จบปัญหาได้ทันทีเมื่อประชาชนได้ ”วัคซีน” อย่างทั่วถึง แม้ก่อนหน้านี้สิ่งสำคัญที่สุดคือเตียง Hospital และเครื่องช่วยหายใจ แต่ตอนนี้ปฏิเสธไม่ได้เลย ว่าจิ๊กซอร์ที่จะช่วยให้เราผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 และเป็นความหวังที่จะช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้ คือ “วัคซีน”

 

แต่ด้วยวัคซีนโควิด-19 ที่รัฐจัดหามาไม่ได้มีทางเลือกมากนัก เป็นปัจจัยที่ให้ประชาชนไม่กล้าฉีดวัคซีน กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตมีคำแนะนำจากหน่วยงานที่เกียวข้องกับโควิด-19 เพื่อช่วยตัดสินใจแก่ผู้ที่ลังเลที่จะฉีดวัคซีนจากภาครัฐ และรอเลือกวัคซีนจากเอกชน

 

จากข่าวโรงพยาบาลเอกชนเตรียมสั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 ทำให้ใครหลายคนยินดีที่จะ ”รอ” แต่ในความเป็นจริงแม้แต่โรงพยาบาลกรุงเทพเองตอนนี้ยังไม่มีการสั่งซื้อวัคซีนทางเลือก ในขณะที่วัคซีนนี้ยิ่งฉีดเร็วเท่าไหร่ ยิ่งดี ทำเอาหลายคนทำตัวไม่ถูกว่าจะรอต่อ หรือควรฉีดของรัฐไปก่อน?

 

ภาพจาก โรงพยาบาลกรุงเทพ ณ วันที่ 4 พ.ค. 2564

 

คำแนะนำสำหรับผู้ที่สงสัยว่าจะฉีดวัคซีนของรัฐ หรือรอฉีดของเอกชนดี คือให้เอาของรัฐไปก่อน ฉีดเร็วสุดดีกว่า

 

แพทย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเห็นตรงกันว่า สิ่งสำคัญ ณ วันนี้คือต้องฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้เร็ว ไม่ควรรอ ควรฉีดวัคซีนไปก่อนไม่ว่าจะวัคซีนไหนก็แล้วแต่ แล้วค่อยเลือกเองทีหลัง

ซึ่งวัคซีนสามารถป้องกันโรคได้นานประมาณ 6 เดือนขึ้นไป อาจฉีดวัคซีนที่รัฐบาลจัดหามาก่อน (ซึ่งมีวัคซีน 2 ชนิด คือ ซิโนแวค และ แอสตร้าเซนเนก้า) ฉีดให้ครบ 2 เข็ม จากนั้นรอ 6 เดือน – 1 ปี จึงค่อยเลือกวัคซีนแบรนด์อื่นที่ต้องการ จึงจะดีที่สุด

 

วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ต้องฉีดกี่ครั้ง

  • วัคซีนโควิดซิโนแวค ใช้ในผู้อายุ18-59 ปี ฉีดจำนวน 2 ครั้ง (2 โดส) ฉีดสองครั้งห่างกัน 21 วัน (2-4 สัปดาห์)
  • วัคซีนโควิดแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) ฉีดสองเข็มห่างกัน 8-12 สัปดาห์

 

นายแพทย์เขตต์ ศรีประทักษ์ แพทย์เฉพาะทางโรคหัวใจ และหลอดเลือด สถาบันโรคทรวงอก ได้แนะนำว่า ในสงครามโควิด เวฟ 3 มีคนเสียชีวิตวันละเป็นสิบอย่างที่เห็น และมีผู้ป่วยใหม่วันละพัน เราต้องหาทางออกด้วยการบริหารจัดการในสิ่งที่เรามีก่อน

โดยตนได้ฉีดวัคซีน Sinovac ครบ 2 เข็มแล้ว พบว่า Sinovac มีความปลอดภัยสูง และประสิทธิภาพดีในระดับหนึ่ง และได้พบว่ามีภูมิคุ้มกันเกือบ 80%

 

ขณะที่มีข้อมูลของคนไข้ที่ฉีด Astra vaccine Covid-19 จากคนไข้ของตนที่อยู่ในความดูแลส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ และโรคประจำตัวมาก หลายท่านได้รับการฉีด Single dose Astra แล้ว พวกท่านเหล่านั้นได้มาเจาะเลือดตรวจภูมิคุ้มกันหลังฉีดประมาณ 1 เดือน พบว่าภูมิคุ้มกันขึ้น Neutralizing Antibody ขึ้นสูงสุด 91% บางคน 60-70% ทั้งหมดนี้คือด้วยวัคซีนเข็มเดียว (ข้อมูลจาก :  thairath.co.th)

 

แม้การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ 100% คือยังมีโอกาสป่วยได้อยู่ แต่ถ้าเป็นโรคส่วนใหญ่อาการจะน้อยลง ลดอัตราการเสียชีวิต ลดความรุนแรงที่จะเข้าโรงพยาบาล

 

สุดท้ายนี้ เรายังคงต้องยึดหลักลดการแพร่เชื้อโควิด-19 ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ ลดการสัมผัส เลี่ยงพื้นที่เสี่ยง และเว้นระยะห่างทางสังคมกันต่อไป แม้จะฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้วก็ตาม

 

กินอยู่เป็น ขอขอบคุณข้อมูลจาก

kinyupen