6 เคล็ดลับอายุยืน แข็งแรง จากงานวิจัย ‘เทโลเมียร์’

0
949
kinyupen

เคยคิดไหม? ว่าการยืดอายุทำง่ายกว่าการมีสุขภาพดีตอนแก่ ยังคงช่วยเหลือตัวเองได้ กินได้ ออกกำลังกายได้ ไม่มีโรคร้ายแม้จะอยู่ในวัยชรา ด้วยการแพทย์ที่พัฒนามาตลอดได้ยืดอายุของประชากรไปมาก เจ็บป่วยเมื่อไหร่ก็ไปหาหมอ

แต่เราคงไม่อยากอายุยืนเป็นร้อยปีแต่นอนป่วยติดเตียงกันแน่ๆ … จะอายุยืนทั้งที ต้องมีแข็งแรงสิ! กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตมี 6 เคล็ดลับทำให้อายุยืนแต่แก่ช้าและยังสุขภาพดีอยู่เสมอมาฝาก

 

เทโลเมียร์ ส่วนปลายสุดของโครโมโซมที่ส่งผลต่อความเสื่อมถอยของร่างกาย

3 นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน Elizabeth H. Blackburn, Carol W. Greider และ Jack W. Szostak ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ ปี ค.ศ.2009 ค้นพบองค์ความรู้ด้านการชะลอวัยจากงานวิจัยเทโลเมียร์ ที่สัมพันธ์กับอายุที่ยืนยาว ซึ่งเจ้า Telomere นี่แหละตัวการที่ทำให้เรา “แก่”

 

“เทโลเมียร์” (Telomere) เป็นส่วนปลายสุดของโครโมโซมในเซลล์ เมื่อแรกเกิดเทโลเมียร์จะมีความยาวที่สุด และทุกครั้งที่เซลล์แบ่งตัวเพื่อซ่อมแซมร่างกาย เทโลเมียร์จะค่อยๆ หดสั้นลงเรื่อยๆ เมื่อเทโลเมียร์หดสั้นลงมากๆ จนไม่มีเทโลเมียร์หลงเหลืออยู่ จะทำให้เกิดการเสื่อมของอวัยวะต่างๆ หรือความแก่ชราตามมา

 

ภาพจาก www.vitdripcenter.com

 

ฟังเรื่องเทโลเมียร์เพิ่มเติมจากหนังสือเสียง 100+ พอดแคสต์

 

วิธีดูแลรักษาเทโลเมียร์ เพื่อชะลอแก่ แข็งแรง อายุยืน 

ข้อมูลในเว็บไซต์ BDMS Wellness Clinic อธิบายว่า ปัจจุบันมีการพัฒนาวิธีการรักษาเพื่อเพิ่มความยาวให้กับเทโลเมียร์ โดยอาศัยความรู้ในการกระตุ้นเทโลเมอเรส โดยใช้การวัดค่าความยาวของเทโลเมียร์มาประเมินแผนการรักษานั้นๆ ว่ามีการเพิ่มความยาวของเทโลเมียร์อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

วิธีดูแลรักษาเทโลเมียร์ สามารถทำได้โดยลองเปลี่ยนมาใช้ชีวิตให้เป็นมิตรกับสมดุลแห่งชีวิต เริ่มต้นจากพฤติกรรมง่ายๆ ได้แก่

 

1. นอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง และเข้านอนก่อน 22.00 น.

2. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ : แก้ว หรือ 2 ลิตร

3. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดอาหารปรุงแต่งอาหารจานด่วน อาหารประเภทนม เนย ไขมันจากสัตว์ อาหารที่มีรสจัด ทั้งหวานจัดเค็มจัด หรือมันจนเกินไป งดอาหารที่มีส่วนผสมของทรานส์แฟต เน้นรับประทานอาหารประเภทผักและเส้นใยให้ได้สัดส่วน 50% ต่อมื้อ, เนื้อขาวเช่นเนื้อไก่หรือ เนื้อปลา 25% ต่อมื้อ และข้าวแป้งธัญพืชไม่ขัดสีอีก 25% ต่อมือ

4. ออกกำลังกายหัวใจ (Cardio exercise) เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยานอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือ เน้นการขยับตัวและการเดิน (Physical activity) ให้ได้วันละ 10,000 ก้าว

5. นั่งสมาธิ (Meditation) ปล่อยวาง เดินจงกรม ลดความเครียด พักการใช้สมองเพื่อขจัดความเครียดและความเหนื่อยล้าทางจิตใจ

6.ลดละเลิก การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

 

นอกจากนี้สุขภาพจิตก็สำคัญ หลีกเลี่ยงกับความเครียด ความวิตกกังวล เรื่องบางเรื่องให้ปล่อยวางและมองในทัศนคติที่เป็นบวกควบคู่กันไป

 

หากเราจมปลักอยู่กับปัญหาเป็นระยะเวลาที่นาน เป็นปีๆ เป็นหลายๆ ปี สิ่งเหล่านั้นจะเข้ามามีผลกระทบอย่างรุนแรงกับร่างกายของเรา ทั้งในระบบเซลล์ ระบบไมโทคอนเดรีย ในระบบของเทโลเมียร์ที่ทำให้หดสั้นลง ร่างกายเราก็จะต้องถูกบั่นทอน และเสื่อมสภาพลง

 

ที่มา BDMS Wellness Clinic

 

kinyupen