สมองเสื่อม…กลัวแล้วทำไง ?

0
2336
kinyupen

หากคุณอยู่กับพ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ คำที่ได้ยินบ่อยคือ พักนี้ หลง ๆ ลืม ๆ  และถ้าตัวคุณเองอยู่ในช่วงวัย 50  ขึ้นความคิดและความกังวลที่จะเริ่มเข้ามา “นี่ตรู จะสมองเสื่อมหรือเปล่า” กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต รวบรวมข้อเขียนทั้งจากสื่อและบทความของผู้รู้ รวมถึงคุณหมอมาเพื่อจะหาคำตอบ และทางออกเบื้องต้นให้คุณได้ปลอดกังวล

อันดับแรกต้องเข้าใจก่อนว่า สมองเสื่อมกับอัลไซเมอร์ เป็นคนละโรคแต่มีความเกี่ยวข้องกัน สมองเสื่อม เป็นโรคที่ทำให้ความจำเสื่อม และความสามารถด้านอื่นๆของสมองลดลง ส่วนอัลไซเมอร์ เป็นโรคที่เกิดจากเนื้อสมองเสื่อมสลาย โดยผู้ป่วยสมองเสื่อมจำนวนมากมีสาเหตุจากอัลไซเมอร์ ซึ่งมีสาเหตุจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองตีบ หรืออุดตันทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอและนำไปสู่เนื้อสมองตาย หรือเสื่อมสลาย

ขณะที่สมองเสื่อมอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่นติดเชื้อในสมอง ขาดสารอาหารบางชนิด ระบบในร่างกายทำงานแปรปรวน เช่นต่อมไทรอยด์ทำงานมากหรือน้อยเกินไป ตับหรือไตทำงานผิดปกติ ศีรษะถูกกระแทกบ่อย หรือมีเนื้องอกในสมอง เป็นต้น สมองเสื่อมบางชนิดอาจรักษาได้แต่ชนิดที่เกิดจากเนื้อสมองเสื่อมสลายไม่สามารถรักษาให้หาย แต่สามารถชะลออาการได้

อ่าน อย่าชะล่าใจ “โรคสมองเสื่อม” เกิดได้ในวัยทำงาน

อาการหลงลืม ไม่ใช่โรคสมองเสื่อม แต่อาการจำไม่ได้ ว่าเป็นผู้ทำแม้เพิ่งเกิดไม่นานอาจจะใช่ เช่น จำไม่ได้เลยว่าตัวเองว่าเป็นคนเปิดแก๊ส  พฤติกรรมเปลี่ยนจากที่เคยชอบแต่งตัว ก็ไม่แต่ง ไม่อาบน้ำ  อารมณ์รุนแรงไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งตลอดเวลา เช่นเกรี้ยวกราด หรือ ยิ้ม หัวเราะตลอดเวลา ซึ่งถ้าหากผู้สูงวัยในบ้านเริ่มมีพฤติกรรมแปลกๆ ดังกล่าวควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะแพทย์จะซักถามและทดสอบสมรรถภาพของสมองเพื่อหาสาเหตุ อาการและประคองอาการ

อย่างไรก็ตามล่าสุดวารสารวอล์ลสตรีท เจอร์นัลได้นำเสนอข้อมูลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ และการแพทย์ว่าในอนาคต 20 ปีข้างหน้าจำนวนผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในโลกใบนี้จะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวคือจาก 43.8 ล้านเป็น 88 ล้านคน ในงานวิจัยชิ้นนี้จึงได้เสนอแนวทางปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงได้ถึง 35% ในวันที่ยังแข็งแรง โดยแต่ละพฤติกรรมก็มีเกณฑ์สนับสนุนในระดับที่แตกต่างกันไป หากทั้งนี้เมื่อเทียบกับบทความของแพทย์ไทย และการประชุมของกลุ่มแพทย์ที่ประเทศอังกฤษ ก็จัดได้ว่าอยู่ในหลักการและหมวดเดียวกัน ที่พอจะเป็นข้อแนะนำหนักแน่นให้เราดำเนินรอยตาม

  1. ออกกำลังกาย
  2. งดบุหรี่
  3. ควบคุมความดันโลหิต
  4. เลี่ยงอาหารมัน เบาหวาน
  5. ควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้อ้วน
  6. ดูแลไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้า

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัย ที่ดูเหมือนจะสอดคล้องกับข้างต้นคือ เราควรมีการดูและระบบเส้นเลือดให้มีสุขภาพดี นั่นหมายถึงว่าให้มีการไหลเวียนดี มีหลอดเลือดที่แข็งแรง ดังเห็นได้ว่าข้อ 1-5 จะเกี่ยวข้องกับ การไหลเวียนของเลือด  หากการวิจัยของอังกฤษอาจมีเสริมให้ ฝึกสมาธิ และทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

เมื่อรู้แล้ว ..เริ่มดูแลและป้องกันให้ห่างไกลโรคแต่วันนี้ และอย่าปล่อยให้ความกลัวครอบงำ

kinyupen