เมื่อการใช้เงินแบบเดิมๆ ไม่สามารถรองรับเหตุฉุกเฉินได้อีกต่อไป วิกฤตต่างๆ เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้คนสนใจเรื่องการเงินมากขึ้น แต่ช่วงนี้การทำธุรกรรมสำคัญๆ ที่ธนาคารอย่างเปิดบัญชีหรือลงทุนอะไรก็ลำบาก ใช้สมาร์ทโฟนให้เป็นประโยชน์ซะสิ!
กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตวันนี้ มาแนะนำ “แอปพลิเคชัน” ที่จะช่วยให้การเงินเป็นเรื่องง่าย แอปฯ ดีและฟรีทั้ง iOS และ Android แทบไม่ต้องก้าวเท้าออกไปไหนเลย
- แอปฯ บันทึกรายรับรายจ่าย
- แอปฯ ออมเงินฝากดิจิตอลดอกเบี้ยสูง
- แอปฯ กองทุนรวม เปิดบัญชีเองได้เลยที่บ้าน แถมซื้อได้หลาย บลจ.
6 แอปฯ บันทึกรายรับรายจ่าย
จัดการเงินง่าย ไม่มีหลุด จดบันทึกได้ทุกที่ทุกเวลา ฟังก์ชันเยอะมาก พร้อมกราฟสถิติละเอียดยิบ ทั้งการเก็บเป็นปฏิทิน แบบรายวัน หรือรายเดือน จะกี่บัญชีก็เอาอยู่
1. Money Manager Expense & Budget
- เหมาะกับคนที่มีบัญชีการเงินหลายบัญชี เพราะแอปฯ นี้สามารถเพิ่มบัญชีเข้าไปได้หลายบัญชี หรือจะทำบัญชีแบบกลุ่มก็ยังทำได้
- คำนวณเงินล่วงหน้าของเราออกไปได้ด้วย
- แปลงออกมาเป็นไฟล์ Excel ได้
- มีโปรแกรมบน PC สำหรับจัดการข้อมูลต่างๆ แบบละเอียด
2. Metang
- แอปฯ ภาษาไทย
- มีสกุลเงินหลายประเทศ
- ใช้งานง่าย สะดวก รวดเร็วด้วยการกดไอคอนหรือพูด เท่านั้นเอง…
- วางแผนงบท่องเที่ยว ไปที่ไหนไม่มีสะดุด
3. Wallet
- เรียบง่าย ใช้ง่าย สะดวก มีบอกสรุปรายการใช้งานของเราทั้งหมดไว้ที่หน้าแรก
- เชื่อมต่อกับธนาคาร ช่วยให้จัดการง่ายขึ้น ไม่ต้องคอยใส่ข้อมูลทุกครั้ง
- มีฟังก์ชันแชร์บัญชี เมื่อต้องใช้บัญชีร่วมกับคนอื่น
4. Monny
- ตั้งเป้าหมายในการเก็บเงินได้
- เก็บสถิติละเอียดยิบ
- มีรีพอร์ตสรุปยอดที่ใช้
- เป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เสมือนพี่เลี่ยงการเงิน บันทึกสินทรัพย์และหนี้สินได้ ความมั่งคั่งสุทธิ สุขภาพทางการเงิน
- ค้นหาจุดอ่อนทางการเงินได้
- ดูประวัติย้อนหลังได้ ทั้งรายวัน รายเดือน และรายปี
- ทำขึ้นโดย UNITED จากประเทศญี่ปุ่น น่ารักมาก เปลี่ยนธีมได้ บันทึกประจำวันในแต่ละวันด้วยฟอนต์แบบตัวเขียน ได้อารมณ์หมือนกับเรากำลังจดลงกระดาษโน้ต
- มีสกุลเงินหลายประเทศ
- สามารถตามดูความคืบหน้าการบันทึกของเพื่อนได้สูงสุด 2 คน ถ้าเพื่อนใช้งานแอปฯ นี้เหมือนกัน
8 ออมเงินดอกเบี้ยสูง
เงินฝากออมออมทรัพย์ดอกเบี้ยช่างไม่น่าจูงใจ อยากลงทุนเพิ่มผลตอบแทน แต่ก็อยากมีเงินสดติดมือเอาไว้กันเหนียว เงินฝากดิจิตอลคือคำตอบ เพราะดอกเบี้ยสูง สมัครง่ายไม่ต้องไปธนาคาร
แต่ละธนาคารก็มีอัตราดอกเบี้ยบัญชีออมทรัพย์ออนไลน์ที่แตกต่างกัน ลองมาเปรียบเทียบกันดู ว่าจะเลือกบัญชีออมเงินกับธนาคารไหนดี ** (อัปเดตเมื่อวันที่ 10 ก.พ.64)
1. ME by TMB
แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
- บัญชี ME MOVE ไม่ได้รับดอกเบี้ย
- บัญชี ME SAVE- เงินฝาก 10 ล้านบาทแรก : 0.40% ต่อปี (สามารถรับดอกเบี้ยโบนัสเพิ่มขึ้นอีก 0.70% ต่อปี รวม 1.10% ต่อปี)
– ส่วนที่เกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป : ไม่ได้รับดอกเบี้ย
จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ในเดือนมิถุนายน และธันวาคม ของทุกปี
รายละเอียดเพิ่มเติม : ME by TMB
2. Krungthai NEXT Savings
- เงินฝาก 1 ล้านบาทแรก : 1.50% ต่อปี
- ส่วนที่เกิน 1 ล้านบาทขึ้นไป : 0.50% ต่อปี
จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ในเดือนมิถุนายน และธันวาคม ของทุกปี
รายละเอียดเพิ่มเติม : ธนาคารกรุงไทย
3. Chill D CIMB THAI Bank
เงินฝากออมทรัพย์ชิลดี ซีไอเอ็มบี ไทย ดอกเบี้ยสูงสุด 2% ต่อปี เฉพาะเงินฝากส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 50,000 บาท โดยคำนวณดอกเบี้ยเงินฝากแบบขั้นบันได
จ่ายดอกเบี้ยรายเดือน โดยคำนวณดอกเบี้ยแบบขั้นบันได
รายละเอียดเพิ่มเติม : ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย
4. Kept by krungsri
แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1 กระเป๋า 2 กระปุก ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่างกัน
- กระเป๋า Kept บัญชีไว้ใช้ : 0.10% ต่อปี
- กระปุก Grow บัญชีไว้เก็บ : เดือนที่ 1-12 อัตรา 1.60% ต่อปี, เดือนที่ 13-24 อัตรา 1.80% ต่อปี (เฉลี่ย 1.70% ต่อปี)
- กระปุก Fun บัญชีเก็บสนุก : 0.10% ต่อปี หากใช้ฟีเจอร์แอบเก็บครบ 10 ครั้งในเดือน รับดอกเบี้ยโบนัสในเดือนถัดไปเป็น 1%* (อัตราดอกเบี้ยปกติ 0.10% + 0.90% รวมเป็น 1% เป็นระยะเวลา 1 เดือน)
จ่ายดอกเบี้ย
- กระเป๋า Kept : จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ทุกวันที่ 28 มิถุนายน และ 28 ธันวาคม
- กระปุก Grow : จ่ายดอกเบี้ยทุกวันที่ 28 ของเดือน โดยระบบจะโอนดอกเบี้ยที่ได้รับเข้าที่กระเป๋า Kept ให้อัตโนมัติ
- กระปุก Fun : จ่ายดอกเบี้ยทุกวันที่ 28 ของเดือน
รายละเอียดเพิ่มเติม : keptbykrungsri.com, เฟซบุ๊ก Kept by krungsri
5. TMRW by UOB
บัญชีเงินฝาก TMRW แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
- บัญชีเงินฝาก TMRW Everyday : 0.10% ต่อปี
- บัญชีเงินฝาก TMRW Savings : ไม่เกิน 1 ล้านบาท = 1.30% ต่อปี, ยอดเงินมากกว่า 1 ล้านบาท = 0.25% ต่อปี
จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน โดยเงินจะเข้าบัญชีในวันทำการสุดท้ายของแต่ละเดือน
รายละเอียดเพิ่มเติม : tmrwbyuob
6. SCB EASY Savings
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ อีซี่ – EZ Savings ธนาคารไทยพาณิชย์
- วงเงินฝากไม่เกิน 5 ล้านบาท : 1.50% ต่อปี
- วงเงินฝากส่วนที่เกิน 5 ล้านบาท : 0.50% ต่อปี
จ่ายดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ทุกวันที่ 25 มิถุนายน และ 25 ธันวาคม
รายละเอียดเพิ่มเติม : ธนาคารไทยพาณิชย์
7. MAKE by KBANK
แอปฯ น้องใหม่จากธนาคารกสิกร เพื่อคนยุคใหม่
- ดอกเบี้ย 1.5% ต่อปีสูงสุด 100,000 บาท
- ส่วนที่เกิน 100,000 บาทขึ้นไป จะได้ดอกเบี้ยเงินฝาก 0.50% ต่อปี
นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันน่าสนใจ เช่น
– Pop Pay โอนเงินผ่านบลูทูธได้ใน 10 เมตร
– Chat Banking คุยเรื่องเงินแบบโซเชียลแชท
– Cloud Pocket ช่องทางจัดเก็บเงินตามความต้องการ
รายละเอียดเพิ่มเติม : MAKE by KBank
8. KKP Start Saving
รายละเอียดเพิ่มเติม : KKP Start Saving
6 แอปฯ กองทุนรวม เปิดบัญชีเองได้เลยที่บ้าน แถมซื้อได้หลาย บลจ.
เปิดบัญชีกองทุนรวมง่ายๆ ทางออนไลน์ เปิดพอร์ตง่าย ซื้อง่ายขายคล่อง น่าเชื่อถือ ทำได้ทุกอย่างผ่านออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสาร
1. Easy Invest
ซื้อได้ 20 บลจ.
ลงทุนได้ทั้งกองทุนรวมและซื้อตราสารหนี้ อีกทั้งยังมีระบบ Robo Adviso
รายละเอียดเพิ่มเติม : www.scbs.com/easyinvest
2. FINNOMENA
ซื้อได้ 19 บลจ.
เหมาะกับมือใหม่ที่ต้องการผู้ช่วยจัดพอร์ต มีพอร์ตลงทุนแนะนำให้เลือก 21 แบบ จากระบบ Robo Advisor ผสานกับมุมมองผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน
รายละเอียดเพิ่มเติม : www.finnomena.com/port/
3. FinVest
ซื้อได้ 16 บลจ.
มีตัวช่วยชี้เป้ากองทุนโดยผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญจากกสิกรไทย
รายละเอียดเพิ่มเติม : www.finvest.co.th
4. Odini
ซื้อได้ 16 บลจ.
ลงทุนอัตโนมัติด้วย Robo Advisor
รายละเอียดเพิ่มเติม : odiniapp.com
5. TMB TOUCH
ซื้อได้ 11 บลจ.
ผู้ช่วย Smart Port จัดพอร์ตครบวงจร มีให้เลือก 5 โมเดลตามความเสี่ยง
รายละเอียดเพิ่มเติม : https://www.tmbbank.com/howto/app/mutual-funds-buy.php
6. Ascend WEALTH
ซื้อได้ 10 บลจ.
ผู้ใช้งานทรูมันนี่ วอลเล็ท ซื้อขายกองทุนรวมได้เลยบนแอป ซึ่งสะดวกสบายมากๆ
รายละเอียดเพิ่มเติม : www.truemoney.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
- สูตรจัดการเงินผ่าน 4 บัญชี
- วิธีเก็บเงิน 1 ล้านแรก สูตรออมเงินให้รวยที่ใครๆ ก็เอื้อมถึง
- สูตรออมเงิน 2021 แก้เบื่อ ชาเลนจ์ตัวเอง พร้อมตารางออมเงิน
- กองทุนที่ต้องมีติดพอร์ตปี 2564
- เคล็ดลับการเลือกกองทุนรวม โดย ดร.นิเวศน์ กูรู VI
นอกจากจะเปิดบัญชีกองทุนรวมผ่านแอปฯ ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีแอปฯ ธนาคารต่างๆ ที่นอกจากทำธุรกรรมการเงิน ยังซื้อขายกองทุนรวมได้อีก อย่าง K PLUS ,SCB EASY ,KMA-Krungsri ใครมีแอปฯ นี้อยู่แล้ว ยิ่งทันใจเข้าไปอีกค่ะ
กินอยู่เป็น ขอขอบคุณข้อมูลจาก