กองทุนที่ต้องมีติดพอร์ตปี 2564

0
691
kinyupen

เราพบกับความวิกฤตเศรษฐกิจจากโรคระบาดที่ยากจะควบคุมมาทั้งปีลากยาวจนถึงตอนนี้ เมื่อเกิดข่าวร้ายมักเกิดเหตุการณ์หุ้นร่วงทะลุนรก แต่ที่หุ้นบางตัวกลับทำ New Hight ซะงั้น ท่ามกลางความผันผวนของตลาดหุ้น ผู้ที่รู้จักปรับตัวมักหยิบจับโอกาสได้

 

กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตมีคำแนะนำดีๆ จากการสัมมนาในงาน MONEY EXPO 2020 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2563 หัวข้อ “กองทุนที่ต้องมีติดพอร์ตปี 64” โดยคุณอิศรา พุฒตาลศรี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.วี และคุณคมสัน ผลานุสนธิ กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาดและผลิตภัณฑ์ บลจ.แอสเซท พลัส

 

3 ปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่ Cyclical Rotation

  • การมาของวัคซีน
  • มาตรการการคลังชุดใหม่
  • นโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ยาวนานเพียงพอ

 

หุ้นกลุ่มไหนน่าจะได้ประโยชน์สูงสุดรับเศรษฐกิจฟื้น

หุ้นในกลุ่ม Cyclical + value

  • หุ้นกลุ่มพลังงาน : Energy ที่ -54% ในปี 2563 คาดว่าปี 2021 จะกลับมาทำกำไรได้ 33%
  • หุ้นกลุ่มวัสดุ : Materials ที่ 2% ในปี 2563 คาดว่าปี 2021 จะกลับมาทำกำไรได้ 26%
  • หุ้นกลุ่มอุตสาหกรรม : Industrials ที่ -39% ในปี 2563 คาดว่าปี 2021 จะกลับมาทำกำไรได้ 56%
  • หุ้นกลุ่มการเงิน : Funancials ที่ -24% ในปี 2563 คาดว่าปี 2021 จะกลับมาทำกำไรได้ 21%
  • หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ : Real Estate ที่ -18% ในปี 2563 คาดว่าปี 2021 จะกลับมาทำกำไรได้ 15%
  • หุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย : Consumer Discretionary ที่ -37% ในปี 2563 คาดว่าปี 2021 จะกลับมาทำกำไรได้ 67%

 

หุ้นในกลุ่ม Defensive + Technology

  • หุ้นกลุ่มสินค้าจำเป็น : Consumer Staples ที่ 0% ในปี 2563 คาดว่าปี 2021 จะกลับมาทำกำไรได้ 10%
  • หุ้นกลุ่มการดูแลสุขภาพ : Healthcare ที่ 6% ในปี 2563 คาดว่าปี 2021 จะกลับมาทำกำไรได้ 12%
  • หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี : Technology ที่ 10% ในปี 2563 คาดว่าปี 2021 จะกลับมาทำกำไรได้ 15%
  • หุ้นกลุ่มโทรคมนาคม : Telecom ที่ 4% ในปี 2563 คาดว่าปี 2021 จะทำกำไรได้ -1%
  • หุ้นกลุ่มสาธารณูโภค : Utilities ที่ 0% ในปี 2563 คาดว่าปี 2021 จะกลับมาทำกำไรได้ 8%

 

Asset Plus Equity Portfolio Allocation 2021

ทั้งนี้เป็นการแนะนำอย่างกลางๆ เพราะแต่ละคนรับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน ซึ่งคุณอิศราและคุณคมสัน ได้แนะนำสัดส่วนกองทุนสำหรับปี 2564 แยกย่อยไว้ดังนี้

 

 

EM Asia 50%

**EM : Emerging Market (ระบบเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ หรือ ตลาดกำลังพัฒนา) ประเทศเหล่านี้ มีอัตราการเติบโตทาง GDP ที่สูงกว่าตลาดพัฒนาแล้ว

  • China จีนเป็นประเทศแรกๆ ที่เกิดการระบาดของโควิด19 แต่ตอนนี้โควิดแทนไม่มีผลกระทบอะไรกับพี่จีนเลย ประเทศจีนซึ่งเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลกกลายเป็นเศรษฐกิจเดียวที่กำลังแบกกำลังซื้อที่กำลังถล่มลงอย่างหนัก ประเทศอื่นๆ มักฟื้นตัวจากมาตรการอัดฉีดเงินของรัฐ แต่ประเทศจีนนั้นฟื้นตัวได้ด้วยตัวเอง
  • Vietnam การเติบโตของเวียดนาม เหมือนกับไทยเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว สมัยที่ SET 200 ถือกองทุนเวียดนามไว้ เติบโตได้ยาวๆ
  • India อินเดียเป็นประเทศที่ประสบโควิด 19 อย่างหนักหน่วง และคาดว่าปีหน้าต้องฟื้นตัว รีบซื้อเสียตอนที่ยังถูกก็ไม่เลว
  • Thailand สำหรับไทยที่รอฟื้นตัวในปีหน้า ก็น่ามีติดพอร์ตไว้เช่นกัน เพียงแต่ SET ที่ 1500 ก็ยังถือว่าแพงและธุรกิจไทยไม่ค่อยมีตลาดเกิดใหม่ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยดัน GDP ได้เร็วเหมือนประเทศอื่นที่แนะนำในข้างต้น

 

DM Recovery 30%

**DM : Developed Market (ตลาดพัฒนาแล้ว) ซึ่งข้อดีก็คือมีความแข็งแกร่งของระบบการเงินและตลาดทุนที่แน่นอนกว่าและมีเสถียรภาพทางการเมืองที่มั่นคงพอสมควร แต่อัตราการเติบโตอาจจะไม่สูงเท่ากับทาง EM เพราะตลาดพัฒนาไปมากแล้ว

  • Europe
  • Japan

 

Thematic Investment 20% เป็นการลงทุนโดยอาศัยการจับทิศทางกระแสหลักของโลกที่กำลังเปลี่ยนไป

  • Disruptive Technology
  • Healthcare Innovation
  • Robotics & A.I.

 

 

ธุรกิจแบบไหน ไปไกลได้ยาวๆ ไม่ง้อฟื้นตัวจากโควิด19

  • เทคโนโลยี
  • AI , ระบบอัตโนมัติ
  • ธุรกิจรักโลก รักสิ่งแวดล้อม เช่น พลังงานสะอาด รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมจากโจ ไบเดน
  • เกมส์ E-sport กำลังมาแรง

 

อย่างไรก็ตาม “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน” กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตขอให้ทุกคนวางแผนการลงทุนให้ดี และอย่าลืมแยกเงินสำรองฉุกเฉินไว้ก่อนจะได้ไม่กระทบกับชีวิตประจำวันเมื่อเกิดวิกฤตร้ายแรงกับตัวขึ้นมาจริงๆ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

kinyupen