ตรวจแล้ว “ติดโควิด19” ต้องทำอย่างไรต่อ

0
542
kinyupen

เพราะผู้ติดเชื้อโควิด19 รอไม่ได้ ควรเร่งจัดการอย่างทันท่วงที เพื่อไม่ให้มีอาการรุนแรงขึ้นและป้องกันเชื้อแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น แต่ในสถานการณ์นี้ที่ผู้ติดเชื้อพึ่งพาใครได้ยาก ปรึกษาใครก็ไม่ได้ มีแนวทางอย่างไรที่จะจัดการตัวเองได้อย่างถูกต้องบ้าง

กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตมีข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด19 มาฝาก

 

ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ว่าควรทำตัวอย่างไร (ข้อมูลวันที่ 21 เมษายน 2564)

  1. เตรียมเอกสารหลักฐานและโทรแจ้งโรงพยาบาลที่ตรวจก่อน
  2. ถ้าโรงพยาบาลที่ตรวจ ยังหาเตียงให้ไม่ได้ภายใน 1-2 วัน โทร 1668, 1330
  3. ต้องการปรึกษาการปฏิบัติตัวระหว่างรอเตียง โทร 1668
  4. มีไข้สูง หายใจเหนื่อย ถ่ายเหลวหลายครั้ง โทร 1669
  5. ลง Line Official Account @sabaideebot

 

 

นอกจากนี้ยังมีกรณีการส่งต่อข้อมูลในช่องทางออนไลน์ว่า

ตรวจการติดเชื้อโควิด-19 ง่ายๆ ด้วยตัวเอง โดยการกลั้นหายใจ เช็กอาการไอ-แน่นหน้าอก ซึ่งไม่จริง

กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจงว่า ขณะนี้ยังไม่มีผลวิจัยทางการแพทย์ยืนยันว่าวิธีการดังกล่าวสามารถใช้เช็กการติดเชื้อโควิด-19 ได้ รวมถึงขณะนี้การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ยังไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง ต้องวินิจฉัยและดำเนินการโดยแพทย์เท่านั้น

 

ก่อนหน้านี้ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบายว่า กรณีการคัดกรองเชิงรุกแล้วพบผู้ติดเชื้อ จะแบ่งตามความรุนแรง

  • สถานะสีเขียว ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย จะให้ กทม.รับไว้ใน โรงพยาบาลสนาม ขณะที่ผู้ติดเชื้อจากการรับบริการ ไม่ว่าจะจากแล็บหรือ โรงพยาบาลใดก็ตาม หากความรุนแรงสถานะสีเขียว จะต้องเข้ารักษาในฮอสปิเทล (Hospitel)
  • ส่วนสถานะสีเหลือง-สีแดง จะรับไว้ใน โรงพยาบาล ที่มีเวียนกันทั้งในสังกัด กทม. สังกัด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย/โรงเรียนแพทย์ สังกัดกรมการแพทย์ และ โรงพยาบาลเอกชน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

นอกจากนี้ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า

กรณีผู้ติดเชื้ออยู่บ้านกับครอบครัวใหญ่ ควรแยกห้องนอนออกจากคนอื่นในบ้านให้เป็นสัดส่วน ไม่กินอาหารร่วมกับผู้อื่นในบ้าน แยกขยะ แยกห้องน้ำ หากไม่สามารถแยกห้องน้ำได้ ให้ผู้ติดเชื้อใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้าย และล้างห้องน้ำทุกครั้งหลังใช้

กรณีอยู่คนเดียว ใช้ชีวิตได้ตามปกติภายในบ้าน เลี่ยงการใกล้ชิดกับพนักงานส่งของ สำหรับผู้ที่อาศัยอยู่คอนโด ควรหลีกเลี่ยงการใช้พื้นที่ส่วนกลาง แจ้งเจ้าหน้าที่นิติบุคคลให้เตรียมมาตรการ และแจ้งลูกบ้านให้ระมัดระวัง ฉีดพ่นฆ่าเชื้อบริเวณส่วนกลาง รวมถึงการจัดการขยะติดเชื้อ

kinyupen