วัยทำงานของคนไทย ปัจจุบันจะมีอยู่ 3 เจน คือ Gen X Gen Y และ Gen Z ที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 23 – 55 ปี โดยหนี้ก้อนโตแต่ละกลุ่มจะสัมพันธ์กับความต้องการและพฤติกรรมของช่วงอายุ คือ หนี้ที่อยู่อาศัยจะเป็นของ Gen X และ Gen Y ส่วนหนี้รถยนต์ หรือ สินเชื่อประเภทเช่าซื้อจะเป็นกลุ่ม Gen Y และ Gen Z โดยเฉพาะ เนื่องจาก 2 กลุ่มนี้ส่วนใหญ่เริ่มค้าขายออนไลน์ ทำให้เป็นหนี้ในสินเชื่อหลายประเภท ทั้งสินเชื่อบุคคล บัตรกดเงินสด และจากข้อมูลเครดิตบูโรล่าสุด ระบุว่า Gen Z มีหนี้กระจุกตัวในกลุ่มสินเชื่อรถยนต์
การเป็นหนี้ของกลุ่มคนต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ทั้ง Gen Y และ Gen Z ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพฤติกรรม ค่านิยมในการใช้ชีวิต ที่ต้องการทั้งความสนุกสนาน ความมีอิสระในการดำเนินชีวิต แต่ขาดความเข้าใจ หรือความใส่ใจด้านบริหารจัดการเงินโดยเฉพาะวินัยด้านการออมประกอบกับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตในเมืองจะค่อนข้างสูงจึงส่งผลให้เกิดหนี้และเอาเงินอนาคตมาใช้
ดังนั้นสิ่งที่กลุ่ม Gen Y และ Gen Z ต้องทำแต่วันนี้ด้วยเทคนิคพื้นๆ แต่ต้องมีวินัย คือ
- ทำบัญชีรายรับ รายจ่ายทุกวันและทบทวนดูทุกสิ้นเดือน ว่าใช้เงินในส่วนใดมากสุด อาจแปลกใจก็ได้ว่าส่วนใหญ่หมดไปกับกาแฟและชาไข่มุก หรือ shopping online ที่สุดท้ายไม่ได้ใช้
- สร้างวินัยการออมและลงทุนเพื่ออนาคต โดยเลือกรูปแบบการออมที่คิดว่าเหมาะกับสถานการณ์และแผนในอนาคตของตนเอง ซึ่งมีหลักที่สำคัญ 3 ประการ
- เปิดสูตรการออมเงินของมนุษย์เงินเดือน “ออมอย่างไร ให้มีเงินใช้ในยามแก่”
- วิธีเก็บเงินให้โสดแบบสวยๆ แต่รวยตอนแก่
- 4 กับดักสร้างหนี้..วนไป สไตล์มนุษย์เงินเดือน
2.1 วางแผนและประเมินผลตอบแทน / ความเสี่ยง
ไม่ยากอย่างที่กังวล..เพราะมีตัวช่วยสำหรับวางแผนและประเมินผลตอบแทน ที่จัดทำเป็นแบบสอบถามในonline สำหรับผู้ต้องการวางแผนการลงทุนอาจดูในเว็บตลาดหลักทรัพย์ หรือ บลจ.ของธนาคารต่างๆ ว่าเราจะรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด เช่น รักษาเงินต้นทั้งหมด หรือ ขาดทุนได้บ้าง ทั้งกำหนดว่าต้องการผลตอบแทนเท่าใดต่อปี ทั้งนี้ความเสี่ยงกับผลตอบแทนจะผกผันกันเสมอโดยเกณฑ์ในการเลือกอาจเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากประจำ
2.2 คัดเลือกและจัดสรรสัดส่วนการลงทุน
เงินที่จะออมในระยะยาวจัดสรรได้หลายวิธี ทั้งประกันเงินออม ประกันบำนาญ ซึ่งจะได้เงินคืนในระยะยาวแบบเป็นก้อนหรือแบบรายเดือน และยังมีการลงทุนในรูปแบบซื้อผ่านกองทุนที่มีหลากประเภท ลงทุนในหุ้นกู้ ลงทุนในตลาดหุ้น หรือล่าสุดลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หรือ ลงทุนซื้อกองทุนที่ให้ผลตอบแทนลดหย่อนภาษีอย่าง SSF ที่มาแทน LTF โดยมีระยะเวลา 7 ปี และกองทุน RMF ที่จะมีเงื่อนไขมากกว่าคือขายคืนได้ต่อเมื่ออายุครบ 55 ปี (ควรศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม)
หากวิธีการจัดสรรสัดส่วนการลงทุนมีหลักการง่ายๆ ที่ บลจ.ไทยพาณิชย์ แนะนำคือ การคุมความเสี่ยงและผลตอบแทนให้ตอบโจทย์การลงทุน ควรจะมีการกำหนด Risk Management เช่น ไม่ลงทุนในตราสารใดเกิน 30% หรือ ไม่ควรลงทุนในอุตสาหกรรมเดียวกันมากกว่า 40% เช่น ไม่ซื้อหุ้นโรงไฟฟ้า หรือ หุ้นด้านพลังงานหลายๆ รายแต่ให้กระจายในอุตสาหกรรมอื่น ๆ
2.3 ติดตามผลลงทุนต่อเนื่อง
หลายคนมักจะลงทุนในกองทุน หรือ หุ้น แล้วปล่อยไว้รอเก็บเกี่ยว หากสิ่งหนึ่งที่ควรระวังและใส่ใจคือการติดตามผล วิธีการง่ายๆ หากลงทุนในกองทุน หรือ หุ้นประเภทใด สิ่งที่ควรดู คือข่าวจากสื่อต่างๆ ที่มาจากกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน นโยบายของภาครัฐที่จะทำให้เราประเมินแนวโน้มได้ หรือ ใบสรุปผลตอบแทนที่แต่ละกองทุนจะส่งมาให้รายไตรมาส อย่างน้อยเพื่อรู้ อย่างดีก็ย้ายปรับเปลี่ยนได้ทัน เช่นหากลงทุนในกลุ่มหุ้นบริษัทการบิน และในช่วงโควิดที่คนหยุดเดินทางอาจต้องขายออกชั่วคราวเพื่อไม่ตกใจกับราคาหุ้นที่จะร่วงลง แต่สำหรับผู้ที่ลงทุนในหุ้นก็มีเครื่องมือติดตามผลในสื่อออนไลน์ที่สามารถเลือกโปรแกรมได้ตามชอบ
- มีเงินออมสำรองฉุกเฉิน
เหตุการณ์ไม่คาดคิดมักเกิดเสมอ ดังนั้นไม่ให้การลงทุนเพื่ออนาคตต้องชะงัก หรือ ลดมูลค่าเนื่องจากส่วนใหญ่เป็นการลงทุนระยะยาว จังหวะที่ต้องการถอนออกอาจไม่ใช่ช่วงราคาดี จึงควรกันเงินส่วนหนึ่งให้เป็นการออมเผื่อฉุกเฉิน ในส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ก้อนใหญ่ทีเดียวหากทยอยสะสม เช่น เงินฝากประจำรายเดือนระยะสั้น หรือ สลากออมสินที่หลัง 3เดือนสามารถขายได้โดยไม่ถูกหักเงินต้น หรือ เก็บเงินได้ระยะหนึ่งซื้อทองแท่งหากต้องการขายก็จะทำได้ทันที (แนะนำเฉพาะผู้ที่สามารถจัดเก็บในที่ปลอดภัย)
ทั้งหมดนี้ คือ การวางแผนเพื่อออมและจัดเก็บหากในส่วนของการใช้จ่าย สิ่งที่พึงระวังคืออย่าใช้บัตรเครดิตโดยหลงไปกับโปรโมชั่น 0% เพราะวันที่รูด กับวันที่จ่ายสถานการณ์อาจไม่เหมือนกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง
- จริงหรือ Gen Y วินัยการเงินพัง
- “รวยจอมปลอม” ใช้ชีวิตติดหรู แต่หนี้ท่วมหัว คุณเป็นหนึ่งในนั้นหรือไม่?
กิน อยู่ เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตจึงขอให้ทุกคนมีสุขภาพการเงินที่ดีทั้งจ่ายทั้งออม และมีแผนการเงินที่ยืดหยุ่นในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน