พิชิต “มะเร็งร้าย” ได้ด้วยพลังใจ

0
450
kinyupen

เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมคนถึงป่วยด้วยโรคมะเร็งกันเยอะ ในข้อเท็จจริงนั้นมะเร็งไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในร่างกาย ซึ่งเซลล์นั้นๆ จะมีการเจริญเติบโตเป็นก้อนเนื้อ และลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง หรือถ้าในขั้นร้ายแรงคือลุกลามไปทั่วทั้งร่างกาย

ปัจจุบันประเทศไทย มีผู้ป่วยมะเร็งประมาณ 153.6 ต่อประชากรไทย 100,000 คน ช่วงอายุที่พบเป็นมะเร็งมากคือ เพศชาย 55-75 ปี เพศหญิง 45-65 ปี แต่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่อายุ 30 ปี สำหรับเพศชาย และ 25 ปี สำหรับเพศหญิง โดยแต่ละปีมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่กว่า 1.3 แสนราย และมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตมากกว่า 6 หมื่นราย แนวโน้มที่ผู้ป่วยมะเร็งจะเพิ่มขึ้นอีกอย่างต่อเนื่องถึงประมาณ 3.5% ต่อปี

 

สาเหตุหลักๆ ของการก่อให้เกิดโรคมะเร็งนั่นคือ ไลฟ์สไตล์และรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการพฤติกรรมรับประทานอาหารที่ไม่คำนึงถึงร่างกาย รวมถึงการสูบบุหรี่ การติดเชื้อไวรัส HPV (มะเร็งปากมดลูก) โรคอ้วน สารเคมี ที่ทำให้คนในยุคปัจจุบันเข้าใกล้มะเร็งมากขึ้น แน่นอนว่าถ้าพูดถึงประเด็นนี้หลายคนอาจมีข้อคัดค้านในใจ แต่เชื่อเถอะว่ามะเร็งไม่ได้ส่งผลต่อเราในระยะสั้น แต่ส่งผลถึงระยะยาวเลยทีเดียว

 

รูปแบบของมะเร็ง เป็นแบบไหนบ้าง ?

จากผลสำรวจ พบว่า มะเร็งในตัวมนุษย์นั้นมีมากกว่า 100 ชนิด โดยเรียกตามอวัยวะที่มีเซลล์มะเร็งอยู่ ซึ่งมะเร็งแต่ละแบบก็จะมีรายละเอียดและความร้ายแรงของโรคแตกต่างกันออกไป ซึ่งมะเร็งที่เรารู้จักและคุ้นเคยกันดีก็จะมีดังนี้

 

  1. มะเร็งเต้านม : เป็นมะเร็งที่มีผู้ป่วยมากเป็นอันดับหนึ่ง และยังระบุสาเหตุแน่ชัดไม่ได้ ซึ่งอาจเกิดจากทั้งพันธุกรรม หรือพฤติกรรมของผู้ป่วย คนที่เป็นมะเร็งเต้านมจะมีก้อนเนื้ออยู่ที่บริเวณทรวงอก สามารถตรวจเช็คขั้นต้นได้ด้วยตัวเอง

 

  1. มะเร็งปากมดลูก : เกิดจากการรับเชื้อไวรัส HPV ทำให้เซลล์บริเวณปากมดลูกเกิดอาการผิดปกติ จนแปรเปลี่ยนเป็นเซลล์มะเร็ง สามารถรักษาให้หายได้ในขั้นต้น แต่หากลุกลามแล้วอาจต้องทำการฉายรังสี หรือเคมีบำบัดเพื่อการรักษา และอาจต้องผ่าตัดนำมดลูกออกหากจำเป็น ถือเป็นมะเร็งที่พบในผู้หญิงมากเป็นอันดับ 2

 

  1. มะเร็งตับ : มะเร็งอันดับหนึ่งที่เกิดในเพศชาย นับว่าเป็นมะเร็งที่มีความอันตรายอย่างมากเนื่องจากตัวมะเร็งจะแทบไม่แสดงอาการเลย ซึ่งสาเหตุของมะเร็งก็สอดคล้องกับพฤติกรรมคนไทย คือการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ หรือไหม้เกรียม และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

 

  1. มะเร็งปอด : เป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 2 ในผู้ชาย และพบได้มากในผู้หญิงเช่นกัน ซึ่งสาเหตุหลักคือการสูบบุหรี่หรือรับควันบุหรี่เป็นประจำ สะสมไปเรื่อย ๆ ซึ่งจะแสดงอาการช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ป่วยจะมีอาการไอเป็นเลือด ปวดหัว ชัก ไปจนถึงเสียชีวิตในเวลาไม่นาน

 

นอกเหนือจากที่กล่าวไปยังมีมะเร็งชนิดอื่นๆ อีก เช่นมะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งถุงน้ำดี ดังที่บอกว่ามะเร็งสามารถเป็นได้แทบทุกส่วนของร่างกาย แน่นอนว่าหากเป็นมะเร็งในระยะแรก ๆ เราสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่จะแตกต่างกันไปตามชนิดมะเร็งนั้น ๆ

 

มะเร็ง รักษาได้ ?!

สำหรับในประเทศไทย การรักษาโรคมะเร็งมีหลายวิธีการผสมผสานกันไปตามชนิดและอาการของโรค ดังนี้

 

 

 

 

อย่างไรก็ตาม ทางแพทย์เจ้าของไข้จะมีการสังเกตว่าคนไข้ตอบสนองต่อการรักษาแบบใดมากกว่ากัน ไม่จำเป็นว่ามะเร็งจะต้องรักษาด้วยวิธีเคมีบำบัดหรือผ่าตัดอย่างใดอย่างหนึ่ง

 

นอกจากนี้ เคยมีคนใช้วิธีการรักษาโรคมะเร็งด้วยธรรมะมาแล้ว ใช้วิธีการอย่างไร ก็คือการนำเอาการฝึกสมาธิและการเจริญสติมาใช้ประกอบการรักษานั่นเอง อย่าง ดร.เอียน กอว์เลอร์ (Ian Gawler) สัตวแพทย์ชาวออสเตรเลีย ซึ่งป่วยเป็นโรคมะเร็งที่กระดูกชนิดร้ายแรงเมื่ออายุ 24 ปี พยายามหาวิธีที่จะเอาชีวิตรอดจากมะเร็ง โดยการนำการใช้สมาธิมาบำบัดโรคมะเร็ง พร้อมทั้งหาความรู้จากที่ต่าง ๆ รวมทั้งอ่านหนังสือแนวธรรมชาติบำบัดอย่างมากมาย แล้วนำมาทดลองปฏิบัติอย่างจริงจัง จนกระทั่งก็ประสบความสำเร็จ หายขาดจากมะเร็ง เมื่ออายุ 38 ปี

 

อีกท่านหนึ่งเคยยกตัวอย่างไว้ในบทความก่อนหน้านี้ นั่นคือนักแสดงอาวุโสของไทย อย่าง คุณเมตตา รุ่งรัตน์  ที่ตอนนี้ลดงานบันเทิงลงมาก เนื่องจากปัญหาสุขภาพมากมาย หนึ่งในนั้นคือโรคมะเร็งนั่นเอง สาเหตุเกิดนั้นก็มาจากการที่สามีสูบบุหรี่จนทำให้ป่วยและเสียชีวิตลงก่อนหน้าในที่สุด ซึ่งเจ้าตัวต้องต่อสู้กับโรคมะเร็งมากกว่า 10 ชนิด และเป็นโรคหนักๆ ทั้งนั้น โดยคุณเมตตามองว่าเป็นเรื่องของระบบร่างกายและธรรมชาติ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดขึ้นกับทุกคน ถ้าจิตเราตก เราก็จะแพ้กับโรคภัยไข้เจ็บ เจ้าตัวจึงตัดสินใจนำเอาธรรมะมาช่วยรักษาจิตใจ เพื่อให้จิตใจข้มแข็ง ถ้าให้อธิบายก็คือ “ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว” จิตใจต้องเข้มแข็งเหนือร่างกาย จิตใจต้องอยู่เหนือโรค ถ้าจิตใจของเราเข้มแข็ง เราก็จะสู้กับโรคร้ายดังกล่าวได้

 

สุดท้าย ไม่กว่าตัวเราหรือคนรอบข้างจะป่วยหรือเกิดเป็นโรคอะไรสักอย่าง เราคงต้องทราบสาเหตุของการเกิดโรคเสียก่อน จึงจะหาทางป้องกันได้ หากเรารู้จักใส่ใจ ป้องกันตัวเองตั้งแต่แรกมิให้เกิดโรคขึ้น ก็จะเป็นการตั้งรับที่ดีที่สุด เพื่อรักษาโรคดังกล่าวให้หายได้ตั้งแต่เนิ่นๆ

 

ความน่าจะเป็นที่จะหายจาก “มะเร็ง”

ปัจจุบันนี้ ในแวดวงแพทย์สามารถรักษามะเร็งหลายชนิดให้หายขาดและกลับมามีสุขภาพที่ปกติได้ หรืออย่างน้อยก็ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งมีชีวิตการอยู่รอดที่ยาวนานเท่ากับบุคคลปกติที่อยู่ในวัยเดียวกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ระยะของมะเร็งที่พบ เพราะมะเร็งระยะเริ่มแรกย่อมมีการตอบสนอง ต่อการรักษาหรือมีโอกาสหายมากกว่าระยะลุกลามหรือระยะสุดท้าย

 

สำหรับโรคมะเร็งต่าง ๆ ที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ในปัจจุบันนี้ ประกอบด้วย มะเร็งเม็ดเลือดขาวแบบเฉียบพลันชนิดลิมป์โฟ ไซติค ลิวคีเมีย , มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอร์ดกิ้น , มะเร็งไตในเด็กชนิด วิมส์ ทูเมอร์ , มะเร็งลูกอัณฑะ , มะเร็งกระดูก ชนิดอ๊อสติโอเจนนิค ซาร์โคม่า , มะเร็งรังไข่ชนิดเนื้อเยื่อบุผิว , มะเร็งผิวหนังบางชนิด เช่น Basal cell carcinoma , มะเร็งเต้านม , มะเร็งปอดชนิด Small cell, มะเร็งหลังโพรงจมูก , มะเร็งเนื้อเยื่อชนิด Germ cell

 

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้ป่วยมะเร็งจะกลับมาหายเป็นปกติหรือจะตายจากโลกนี้ไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ประกอบกัน อาทิ

 

  1. ระยะของโรค : ผู้ป่วยระยะต้นมีโอกาสหายขาดมากกว่ามะเร็งระยะปลาย มะเร็งระยะแพร่กระจายมีโอกาสหายขาดน้อยมาก ซึ่งกรณีนี้มักจะได้การรักษาแบบประคับประคอง Palliative treatment เพื่อลดความเจ็บปวดและเพิ่มคุณภาพชีวิตเท่านั้น

 

  1. อวัยวะต้นเหตุของโรคมะเร็ง : มะเร็งต้นเหตุ (primary cancer) บางตำแหน่งแม้เป็นระยะแรกก็การพยากรณ์โรคไม่ดี เช่น มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี มะเร็งสมอง มะเร็งไต เป็นต้น ในขณะที่มะเร็งบางตำแหน่งมีโอกาสอยู่รอดดีมาก แม้เป็นในระยะปลาย ๆ เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งอัณฑะ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งบางชนิดก็มีการพยากรณ์โรคกลางๆ ขึ้นกับระยะตามข้อ 1 เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ เป็นต้น

 

  1. การผ่าตัดมะเร็งที่มีลักษณะเป็นก้อน (solid tumor) ที่ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดได้ มักจะดีกว่าก้อนที่ใหญ่โต หรือลุกลามต่อมน้ำเหลือง หรืออวัยวะใกล้เคียงทำให้ผ่าตัดไม่ได้ มะเร็งบางชนิดตอบสนองต่อยาเคมีดีมาก มีโอกาสหายสูงมาก เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งอัณฑะ มะเร็งปอดชนิดเซลล์ตัวเล็ก เป็นต้น มะเร็งบางชนิดผ่าตัดไม่ได้แต่รักษาด้วยการฉายแสงคู่กับยาเคมีได้

 

  1. ลักษณะเซลล์ที่เห็นจากกล้องจุลทรรศน์ : โดยพยาธิแพทย์ (แพทย์ที่ดูผลชิ้นเนื้อทางกล้องจุลทรรศน์) จะเป็นผู้วินิจฉัยความรุนแรงของเซลล์มะเร็งเรียกว่า grading ซึ่งแพทย์มะเร็งวิทยาทั้งหมดอายุกรรมเคมีและหมอฉายแสง รวมถึงหมอผ่าตัดจะได้วางแผนร่วมกันในการรักษา ผู้ป่วยรายดังกล่าว เช่น มะเร็งเต้านม ระยะที่ 1 แต่เกรดของมะเร็งไม่เหมือนกัน ก็มีความรุนแรงของโรคไม่เท่ากัน มะเร็งต่อมลูกหมาก ดูเกรดตาม gleason score ก็เป็นตัวบอกการให้การรักษาเสริมด้วยฮอร์โมนบำบัด

 

  1. อายุของผู้ป่วย : โรคบางโรคเป็นในคนอายุน้อยไม่ดี เช่น มะเร็งเต้านม ในคนอายุน้อยกว่า 35 ปี มีโอกาสมีโรคกำเริบสูงกว่าผู้ป่วยระยะเดียวกันที่อายุมากเป็นต้น มะเร็งบางชนิดเป็นในอายุมากไม่ดี เช่น มะเร็งสมอง ยิ่งอายุมากกว่า 60 ยิ่งแย่ เป็นต้น

 

  1. สภาพร่างกายผู้ป่วย : ผู้ป่วยเดินมาหาหมอ กับนอนมา แม้เป็นมะเร็งชนิดเดียวกัน ระยะเดียวกัน และเกรดเดียวกัน ก็ทำให้แพทย์รักษาต่างกัน แพทย์จะต้องดูว่าผู้ป่วยทนต่อการรักษาได้หรือไม่ และต้องทำความเข้าใจด้วยว่าแผนการรักษานั้นจะเป็นไปเพื่อให้หายขาด (curative care) หรือประคับประคอง (palliative care)

 

  1. สถานพยาบาลและแพทย์ที่ให้การรักษา : อาจจะปฏิเสธได้อย่างยิ่งเลยว่า โรงพยาบาลบางแห่งมีความเชี่ยวชาญ มีเครื่องไม้เครื่องมือมีประสบการณ์มากกวาอีกสถาบัน ซึ่งปกติผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าแพทย์ท่านใด โรงพยาบาลอะไรเชี่ยวชาญเรื่องอะไร สำหรับประชาชนทั่วไป ข้อมูลเชิงลึก หรือ “วงใน” แบบนี้คงหายาก ถ้าอย่างนั้นก็ต้องดูจากสถิติว่าสถาบันนั้นรักษาโรคแบบนี้กี่คน เป็นต้น

 

  1. ยารักษามะเร็ง : มะเร็งบางชนิดมียาดี ๆ มากมาย เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก สาเหตุที่มียาดี ๆ มากเป็นเพราะโรคมะเร็งเหล่านี้เป็นโรคที่พบบ่อย ผู้คนเป็นกันมาก ทำให้มีงานวิจัยออกมามาก ตรงกันข้ามมะเร็งบางชนิดพบได้ไม่บ่อย เช่น มะเร็งสมอง มะเร็งต่อมน้ำลาย มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

สุดท้ายแล้ว หลายคนอาจจะยังหวาดกลัวกับโรคมะเร็ง เพราะต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา หากอยู่ในขั้นร้ายแรงก็อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นจำนวนมาก แม้ว่าจะมีสิทธิประกันสุขภาพหรือประกันสังคมก็อาจครอบคลุมไม่ทั่วถึง แต่ถ้าคุณเริ่มที่จะรักษาสุขภาพกายสุขภาพจิตให้ดี โรคมะเร็งก็อาจจะไม่ใช่โรคที่น่ากลัว หากรู้จักป้องกันและรักษาตั้งแต่ต้น โรคร้ายนี้ก็จะไม่เข้าใกล้ตัวเราอย่างแน่นอน และนี่คือวิถีแห่ง กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต

kinyupen