เงิน 1,000,000 บาทเชื่อว่า ใครก็อยากมี อยากได้ในสมุดบัญชี แต่ถ้าบอกว่าคุณทำได้ คาดว่าคนฟังหลายคนคงอึ้ง และไม่คิดว่าจะเป็นไปได้เพราะแค่เงินหมื่น เงินแสน ยังไม่มีเก็บเลย
ในคอลัมน์ Wealth Corner โดย ดร.ศุภกร สุนทรกิจ ได้ให้แนววิธีที่ กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต คิดว่าเราทุกคนสามารถปรับใช้ได้ หากสูตรอาจจะช้าเร็ว ตัวเลขขั้นต่ำก็ตามกำลัง โดยในคอลัมน์มีการกล่าวถึงคำพูดที่ว่า ล้านแรกนั้นยากสุด แต่ล้านต่อๆ ไป จะง่ายขึ้น ซึ่งคำพูดนี้พ่อของผู้เขียนถ้าปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ก็คงเกิน 100 ปีได้เคยพูดไว้ ว่า ให้ไปให้ถึง 1,000,000 บาทแรกให้ได้ จากนั้นมันจะง่ายขึ้นโดยเมื่อมาดูกับหลักการ หรือ เข้าใจวิธีการ “คำว่า 1,000,000 บาทแรกเป็นไปได้จริง” สำหรับคนกินเงินเดือนอย่างเรา
เงิน 1 ล้านบาทแรก ทำได้จริงถ้ามีวินัยและตั้งใจจริง เชื่อหรือไม่ถ้าคุณเป็นคนกินเงินเดือน ตั้งใจและมีวินัย ประเภทแบบหยอดไปเรื่อย ๆ คุณสามารถทำให้มันเกิดขึ้นได้ช้าสุด 13 ปี
หลักการที่ 1 เก็บตามกำลังแบบมีวินัยและตั้งแต่เริ่มมีรายได้ 16,000 บาทต่อเดือนขึ้นไปโดยเก็บตั้งแต่เดือนละ 500 -5,000 บาทฝากเป็นประจำ จะให้ดีคือฝากประจำแบบไม่เสียภาษี จนเมื่อได้เงินก้อนนำเข้าไปลงทุนมีให้เลือกตั้งแต่ กองทุน ที่มีบริษัทหลักทรัพย์ บริหารจัดการ จนถึงซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์วิธีการให้เอาแบบง่ายๆ ประเภทมือใหม่ คือดูผลกำไรย้อนหลัง 3 – 5 ปี ถ้ามันสวยเติบโตผู้บริหารมีข่าวขยายธุรกิจเข้าตา ก็เอาอันนั้น สิ่งที่ต้องทำคือกระจายเสี่ยงหลายขา และดูว่าทั้งหมดที่เราลงไปได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมากกว่า 3% หรือไม่
โดยที่มาของเงินล้าน ใน 13 ปีนั้น นำมาจากหลักการจากข้อเขียนของ ดร ศุภกร ที่ว่า ถ้าพนักงานกินเงินเดือน 30,000 บาทตั้งเป้าลงทุนทุกเดือน ๆ ละ 5,000 บาทมีเงื่อนไขผลตอบแทน 3% พนักงานคนนี้จะมีเงิน 1,000,000 บาทในเวลา 13 ปีครึ่ง และถ้าเขาเอาเงินผลตอบแทนที่ว่า 3% ที่ได้แต่ละปีสมทบลงทุนไปเรื่อยๆ เงินล้านที่ 2 จะใช้เวลา 9.58 ปี ล้านที่3 ในเวลา 7.42 และล้านที่ 4 ในเวลา 6 ปี ซึ่งนี่คำนวณผลตอบแทนที่ 3%
หลักการที่ 2 อาจย่นให้เร็วขึ้น และเมื่อมีเงินต่อเดือนออมได้มากขึ้น สามารถใช้วิธีลงทุนแบบ Dollar-Cost- Averaging (DCA) คือลงทุนเหมือนฝากประจำ แต่เข้าไปซื้อกองทุนของธนาคารต่างๆ ด้วยวิธีลงทุนสม่ำเสมอเท่ากันทุกเดือนต่อเนื่อง เช่น 5000 บาททุกวันที่ 15 ของเดือน โดยเลือกกองทุนที่ดูแล้วว่าอยู่ในขาธุรกิจที่กำลังมา อย่างเช่น ธุรกิจที่เกี่ยวกับรถไฟฟ้า หรือ สุขภาพ ซึ่งการลงทุนแบบนี้ยังสามารถเลือกในกลุ่มกองทุนที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี อย่างพวก RMF หรือ SSF โดยกลุ่มนี้นอกจากจะได้ประหยัดเงินภาษีที่อาจต้องจ่าย แล้วยังรวมถึงผลกำไรจากราคาของกองทุนที่อาจเพิ่มขึ้น (ในภาวะเศรษฐกิจดี) หรือบางกองก็จะมีปันผล นั่นหมายถึงการย่นระยะเวลาเก็บเงินล้านแรก ได้เร็วขึ้น
การลงทุนแบบ DCA จะช่วยลดความเสี่ยง และความผันผวนของการลงทุนได้ เช่น หากลงทุนในช่วงที่ตลาดปรับตัวรุนแรงอย่างตอนเกิดโควิด-19 ถ้าหากลงทุนครั้งเดียวช่วงต้นปีก็มีโอกาสขาดทุนสูงสุดถึง -20% และเมื่อสิ้นปี จะได้ผลตอบแทน อยู่ที่ 16.26%
แต่หากเราลงทุนแบบ DCA ก็จะทำให้เดือนที่ขาดทุนมากที่สุดลดลงเหลือเพียง -17.46% และเมื่อตลาดฟื้นตัวกลับมา ก็จะได้ผลตอบแทนสิ้นปีอที่ 19.26% มากกว่าการลงทุนแบบครั้งเดียว
หลักการที่ 3 ใช้วิธีผสม หลังจากเก็บเงินได้ระยะหนึ่งแบ่งเงินที่จะลงทุนออกเป็นหลายๆ ทางคือเงินฝากประจำที่เก็บได้เป็นก้อน ซื้อหุ้นกู้ที่มีเครดิต มากกว่า B ขึ้นไป ผสมกับการลงทุนในกองทุนประหยัดภาษี และซื้อหุ้น IPO หรือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์กลุ่มหุ้นปันผล โดยประมาณคร่าวๆ ให้มีผลตอบแทนที่ 10% มีโอกาสูญเงินต้นน้อยนั่นหมายถึงจะใช้เวลาน้อยลงในการมีเงินล้านบาท
แต่ถ้าท่านสนใจลงทุนแบบเรียนรู้ซื้อ ขายหุ้น ทางตลาดหลักทรัพย์ก็มี ห้องเรียนนักลงทุน ที่เปิดให้คำแนะนำกับมือใหม่
นี่ก็คือหลักมีสลึงพึงบรรจบ ให้ครบบาท ทุกอย่างย่อมเป็นไปได้ ขึ้นอยู่กับวินัย และความตั้งใจ ท้ายนี้ กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตขอให้ทุกท่านมีเงินล้านในเร็ววัน สาธุ สาธุ