10 วิธีเก็บเงินฉบับมนุษย์เงินเดือน

0
440
kinyupen

มนุษย์เงินเดือนอย่าชะล่าใจ หากใช้จ่ายไม่ระมัดระวัง เมื่อถึงเหตุฉุกเฉินขึ้นมาจะไม่มีเงินใช้เอานะ กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตมีเทคนิคเก็บเงินให้อยู่ ด้วยหลากหลายวิธีออมเงินที่มนุษย์ออฟฟิศทำได้ง่ายๆ มาฝาก

1. หักเก็บก่อนใช้

เมื่อได้รับเงินเดือนมาปุ๊บ ให้โอนเข้าบัญชีออมเงิน หรือหย่อนกระปุกทันที ซึ่งเงินออมนี้ห้ามนำมาใช้ทุกกรณี ส่วนเงินที่เหลือค่อยไปจัดสรรค่าใช้จ่ายประจำวันไป ต้องหักดิบกับตัวเองเพราะถ้าใช้ก่อนเก็บสุดท้ายจะไม่เหลือเก็บ

2. ก่อนใช้ ให้แยกเงินเป็นหมวดหมู่

แบ่งเงินตามหมวดหมู่ แล้วกระจายไปแต่ละบัญชี โดยคำนึงถึงรายรับ-รายจ่าย ประจำเดือน

ตัวอย่าง เอฟมี 4 เงินบัญชี แบ่งเป็น

– บัญชีใช้จ่ายประจำวัน

– บัญชีเก็บเงินสานฝัน, ให้รางวัลชีวิต เช่น ไปเที่ยว ซื้อเกม

– บัญชีเงินเก็บฉุกเฉิน

– บัญชีเงินออมระยะยาว-ลงทุน

บทความที่เกี่ยวข้อง : สูตรจัดการเงินผ่าน 4 บัญชี – kinyupen

3. แบ่งเงินใช้เป็นรายวัน

กำหนดเงินสดที่จะพกในแต่ละวันให้น้อย และให้ใช้แค่ที่พกไว้ในกระเป๋าจริงๆ อย่างพวกค่ารถ ค่าอาหาร ค่าน้ำ และเงินเผื่อๆ นิดหน่อย ห้ามกด ATM เพิ่มเด็ดขาดจนกว่าจะถึงเช้าวันใหม่

4. สะสมแบงก์ 50

เป็นวิธียอดฮิตสำหรับมือใหม่หัดออม เพราะแบงก์ 50 ก็ไม่ใช่ว่าจะได้รับมาง่ายๆ ส่วนใหญ่คนจะได้เงินทอนเป็นแบงก์ 100 แบงก์ 20 เสียมากกว่า วัดดวงกับแบงก์ 50 คงไม่หนักเกินไปนัก หากได้รับแบงก์ 50 มาแล้วห้ามใช้ ไม่ว่าจะเป็นเงินทอน เงินเดือน รายรับอะไรก็แล้วแต่ เล่นเกมกับตัวเองไปเลย ว่าต้องเก็บแบงก์ 50 ให้ได้

5. ทำมื้อเที่ยงใส่กล่องพกไปที่ทำงาน

สำหรับใครที่ชอบการทำอาหาร ต้องไม่พลาดกับวิธีนี้ ได้เวลาอวดข้าวกล่องกับเพื่อนแล้ว ทำเองประหยัดกว่าถ้าทำเผื่อไว้หลายๆ มื้อ แช่เย็นไว้ แล้วมื้อเย็นกลับมากินต่อ ได้ทำอาหารที่เราอยากกิน แถมสุขภาพดีเพราะเป็นวัตถุดิบที่เราใส่ใจ แถมประหยัดเงิน จะมีอะไรแฮปปี้ไปกว่านี้อีก

6. ปรับพฤติกรรมการดื่มน้ำ

น้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่เราขาดไม่ได้ แต่ค่าน้ำกลับเป็นสิ่งที่ฟุ่มเฟือยที่สุดแล้ว น้ำเปล่าราคาไม่กี่บาท แต่ร้านค้ากลับขาย 10 บาท แต่ถ้าเราพกน้ำไปเอง หรือกรอกน้ำตู้ ในหนึ่งวันค่าน้ำก็แทบจะฟรี

– สร้างนิสัยพกน้ำเปล่าไปทุกที่ ดื่มแทนน้ำหวาน น้ำสี

– ลดการซื้อกาแฟ หรือกินกาแฟฟรีที่ออฟฟิศแทน

– ถ้าห้ามไม่ใจไม่ไหว ซื้อชา กาแฟมาชงเอง ประหยัดกว่า

7. ทำรายรับรายจ่าย เช็กเงินที่รั่วไหล

เราจะนึกไม่ออกเลยว่าแบงก์พันเมื่อเช้าหายไปไหน จนกว่าเราจะลำดับเหตุการณ์ การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายก็เช่นกัน บันทึกไว้ไล่ดูว่าสามารถตัดรายจ่ายตรงไหนได้อีก เพื่อจะได้นำเงินมาออมได้มากขึ้น

8. ใช้เกมช่วยออมเงินสนุกๆ

ถ้าไม่มีใจจะออมเงิน เก็บเงินไม่อยู่ หมดไฟในการออมเงิน ก็ต้องหาตัวช่วยแล้วล่ะ เช่น ตารางออมเงิน ปรับเงินลงกระปุกยามผิดกฎที่ตั้งไว้ ซื้อสลากออมสินไว้ลุ้น ออมเงินจากเลขท้ายหวย สุ่มเลขออมเงิน จับฉลากเก็บเงิน เก็บเงินแข่งกับเพื่อน

บทความที่เกี่ยวข้อง

9. งดใช้โบนัส

เงินโบนัสเป็นสิ่งที่หลายคนตั้งหน้าตั้งตาคอย แต่อย่าเพิ่งรีบใช้เงินก้อนโตนี้ไปจนหมด เอาเงินก้อนนี้เก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉินจะช่วยคุณได้เป็นอย่างดีในอนาคต จะนำโบนัสนี้ไปฝากบัญชีออมดอกเบี้ยสูง หรือลงทุนให้มีดอกเบี้ยทบต้นพอกพูนเยอะๆ ก็คุ้มค่าเช่นกัน (สำหรับการลงทุนไม่ว่าสินทรัพย์ใดก็ตาม ควรศึกษาและประเมินความเสี่ยงให้ดีก่อนนะคะ)

10. เสริมความรู้เรื่องการลงทุน

วางเงินให้ถูกที่ แบ่งสัดส่วนเหมาะสม แล้วความมั่งคั่งจะเป็นของคุณ แต่การลุยแหลกลงทุนโดยที่ไม่ได้เข้าใจอะไรเลย วัดดวงไปวันๆ สุดท้ายการลงทุนนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับเล่นการพนัน จะทำให้ขาดทุน หัวร้อนและจิตตกเสียเปล่าๆ

ต้องเข้าใจก่อนว่าไม่มีอะไรที่ได้มาง่ายๆ ถ้าผลตอบแทนดีก็มีความเสี่ยงมาก แต่เราสามารถรับมือความเสี่ยงได้ด้วย “ความรู้”

ดังนั้นการศึกษาเรื่องการเงินการลงทุน รู้จักกระจายความเสี่ยง เข้าใจในสินทรัพย์นั้นๆ ใช้เงินเย็นลงทุน มีเงินออมฉุกเฉินไว้พร้อมก่อนลุย ฯลฯ จะช่วยต่อยอดให้เงินของคุณงอกเงยได้ยั่งยืนที่สุด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here