ออมเงินช่วงเศรษฐกิจถดถอยได้ไหม?

0
689
kinyupen

เศรษฐกิจเริ่มถดถอย ข้าวของแพงขึ้นทุกอย่าง น้ำมันแพง ต้นทุนสูง รายรับเริ่มสู้รายจ่ายไม่ไหว แม้แต่เรื่องการลงทุนก็ยังผันผวน ตึงเครียดทุกสินทรัพย์ เงินเฟ้อก็ขึ้นสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากไปไกลลิบ เก็บเงินไว้เฉยๆ ก็มีแต่ขาดทุน เพราะเงินเราเริ่มมีค่าน้อยลง สู้ราคาของรับตัวไม่ได้นั่นเอง ครั้นจะลงทุนก็ต้องพบเสี่ยงมากมายไปอีก

สถานการณ์แบบนี้ยังจะออมเงินได้อยู่ไหม? ทำยังไงถึงจะมีเงินพอใช้แบบไม่ขัดสน กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตชวนทุกคนเตรียมพร้อมรับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำไปด้วยกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง

ใครที่ควรออมเงิน แม้จะอยู่ในยุคเงินเฟ้อก็ตาม

เชื่อว่าใครหลายคนรู้ว่าถ้าเก็บเงิน 100 ไว้เฉยๆ มันจะไม่งอกเงย และซื้อของได้น้อยลงทุกปี ปีก่อนๆ 100 บาทซื้อข้าวได้ 3 จาน แต่ปี พ.ศ.2565 นี้ซื้อข้าวได้แค่ 2 จาน เป็นต้น แบบนี้เรียกว่า “เงินเฟ้อ” จึงเป็นเหตุให้ทุกคนต้องรู้จักลงทุนเพื่อให้เงินที่มีงอกเงยชนะเงินเฟ้อได้นั่นเอง แต่..

คุณควรออมเงินถ้า..

  • ยังไม่มีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน
  • มีสิ่งที่ต้องใช้เงินในเร็วๆ นี้
  • ต้องการเงินก้อนไปลงทุนต่อ

1. เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน

ถ้ายังใช้เงินแบบเดือนชนเดือนแบบนี้ไม่ดีแน่ เมื่อเจอเรื่องเซอร์ไพรส์กะทันหัน เช่น ตกงาน อุบัติเหตุ ร้านเจ๊ง รายได้ลด เจ็บป่วย มีค่าซ่อม ฯลฯ ขึ้นมาก็จะไม่มีเงินใช้จ่ายเลย เรื่องยุ่งๆ มักทำให้ต้องเสียเงินก้อนใหญ่ กรณีเลวร้ายสุดๆ คือขาดรายได้ไปยาวๆ หลายเดือน ดังนั้นออมเผื่อไว้ดีที่สุด

โดยภาวะเศรษฐกิจปกติ ควรมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน 3-6 เดือนของค่าใช้จ่ายต่อเดือน / ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ควรมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน 6-12 เดือนของค่าใช้จ่ายต่อเดือน และควรออมไว้ในที่ที่สามารถถอนเงินได้ทุกเมื่อ (สภาพคล่องสูง)

คนเตรียมพร้อม : A มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 12,000 บาท จึงออมเงินสำรองไว้ 6 เดือน คือ 72,000 บาท วันหนึ่ง A ถูกปลดออกจากงาน รายได้จึงเป็นศูนย์ แต่โชคดีที่ยังมีเงินใช้ระหว่างหางานใหม่เพราะออมเผื่อไว้แล้วนั่นเอง

คนที่ยังไม่ได้เตรียมพร้อม : B มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 12,000 บาท และไม่ได้ออม ใช้เดือนชนเดือนตลอด วันหนึ่งประสบอุบัติเหตุ B จึงต้องนอนเป็นผักไป 3 เดือน ไม่ได้ทำงาน ขาดรายได้ ไม่มีเงินจ่ายค่ารักษาพยาบาล

คนที่ยังไม่ได้เตรียมพร้อม : C มีค่าใช้จ่ายเดือนละ 12,000 บาท เห็นว่าเงินเหลือใช้ เลยเอาไปลงทุนในตลาดหุ้นหมด ไม่ได้แบ่งมาออมเงินไว้เลย วันหนึ่งเจอวิกฤตโควิด หุ้นของ C ติดดอย แดงเถือกทุกตัว แถมร้านของ C เจ๊ง ไม่มีรายได้ ต้องยอมขายหุ้นแบบขาดทุน 50% มาจุนเจือชีวิต ไม่ได้อะไรเลย

2. มีสิ่งที่ต้องใช้เงินในเร็วๆ นี้

เป็นการออมเพื่อใช้จ่ายในสิ่งที่ต้องการ ซึ่งต้องจ่ายในเร็วๆ นี้ อาจเป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่จำเป็นก็ได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละคน เช่น ค่าเทอมลูก ค่าต่อทะเบียนรถยนต์ ค่าประกันประจำปี ค่าท่องเที่ยว ซื้อของที่อยากได้

ทั้งนี้หากไม่รีบร้อนใช้เงินก็เอาเงินไปลงทุนระยะสั้น-ระยะกลาง-ระยะยาว ดีกว่า ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ต้องใช้เงิน เช่น

  • จะใช้เงินในอีก 1-5 ปี : ลงทุนระยะสั้นถึงปานกลาง เช่นตราสารหนี้
  • จะใช้เงินเมื่อถึงวัยเกษียณ : ลงทุนระยะยาว

3.ต้องการออมเงินเพื่อไปลงทุนต่อ

เป็นการออมเพื่อเอาเงินที่สะสมมาไปลงทุนต่อ เช่น ออมเงินไปสร้างร้านเป็นของตัวเอง สะสมเงินหมื่นไปซื้อหุ้นกู้

คุณอาจออมด้วยการตัดเงินเดือนตัวเองทุกครั้งที่เงินออก แล้วเอาไป DCA กองทุนรวม ครั้งละ 500 หรือเก็บเงินที่เหลือใช้ไปซื้อกองทุนรวมทุกสิ้นเดือนก็ได้เช่นกัน ยิ่งอัตราผลตอบแทนสูงเท่าไร เงินออมก็จะยิ่งงอกเงยรวดเร็วขึ้นเท่านั้น

DCA คืออะไร อ่านที่ ลงทุนง่ายๆ ได้กำไรแบบไม่ต้องคิดเยอะ ด้วยวิธี ‘DCA’ – kinyupen

สำคัญ : การออมรูปแบบนี้ต้องมีเงินสำรองฉุกเฉินเสียก่อน อย่าเอาไปปะปนกัน

เราต้องทนกับเศรษฐกิจตกต่ำแบบนี้ไปอีกนาน (คาดว่า 2 ปีนับตั้งแต่ต้นปี 2565) เตรียมตัววางแผนตั้งแต่วันนี้ยังไม่สายจนเกินไป

1. เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน

2. จดบันทึกรายได้-ค่าใช้จ่าย

3. บริหารหนี้ให้ดี

4. จัดพอร์ตการออมและการลงทุน

ทั้งนี้ไม่ว่าจะออมเงินหรือลงทุนในสินทรัพย์อะไรก็แล้วแต่ก็ต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นเสียก่อน กระจายความเสี่ยงการลงทุนให้เหมาะสม พร้อมพยายามหารายได้ที่ 2 มาเป็นหลักประกัน ถ้าทำแบบนี้ได้แม้รายได้ลด กำไรหด ก็สามารถผ่านพ้นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำไปได้ง่ายขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here