รู้จัก ! วันครีษมายัน กลางคืนสั้น กลางวันนาน?

0
651
kinyupen

วันนี้หลายคนรู้สึกไหมคะว่าแดดแรงกว่าปกติ ทั้งดวงอาทิตย์ยังขึ้นเร็วกว่าเวลาปกติด้วย เนื่องด้วยวันนี้ 21 มิถุนายน เป็นวันที่ตรงกับ “วันครีษมายัน” ซึ่งวันนี้คือวันอะไร แล้วสำคัญอย่างไรนั้น วันนี้กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตจะพาคุณมาหาคำตอบค่ะ

วันครีษมายัน คือวันอะไร?

“ครีษมายัน” (อ่านว่า ครีด-สะ-มา-ยัน) หรือในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Summer Solstice ซึ่งเป็นวันที่ช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปี ในทางภาษาศาสตร์นั้นคำว่า “Solstice” มีรากศัพท์มาจากภาษาอินโดยูโรเปียน โดยรากศัพท์ของ SOLSTICE มาจาก STICE ที่แปลว่า สถิต หรือ หยุด ซึ่งหากนำมาแปลรวมกันแล้วนั้นจะมีใจความหมายถึงวันที่ดวงอาทิตย์จะโคจรไปถึงจุดหยุด(ซึ่งหมายถึงจุดเหนือสุดนั่นเองค่ะ)

โดยในแต่ละวันดวงอาทิตย์จะปรากฏในตำแหน่งต่างกัน ซึ่งจะโคจรเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆเฉลี่ยวันละ 1 องศา ซึ่งตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ไปทางเหนือเรื่อยๆ และจะหยุดที่จุดเหนือสุด จากนั้นจะเคลื่อนลงมาทางใต้

ในวันดังกล่าวดวงอาทิตย์จะขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด และตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางเหนือมากที่สุด จึงทำให้มีช่วงเวลากลางวันยาวนานที่สุดในรอบปีนั่นเองค่ะ อีกทั้งนับเป็นวันเริ่มต้นฤดูร้อนของประเทศทางซีกโลกเหนือ และเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศทางซีกโลกใต้อีกด้วยนะคะ

วันครีษมายัน สำคัญอย่างไร?

ทางฝั่งตะวันตกมีความเชื่อกันว่า . . . วันครีษมายัน นั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการนับวัน อ้างอิงหลักฐานสำคัญที่สามารถยืนยันว่า “วันครีษมายัน” มีอิทธิพลต่อมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งก็คือ สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) ในประเทศอังกฤษที่ถูกสร้างโดยฝีมือมนุษย์ตั้งแต่เมื่อ 3,000–2,000 ปีก่อนคริสตกาล

The famous Stonehenge, the United Kingdom under the cloudy sky

โดยมีการสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นเพื่อเป็นปฏิทินดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์ เพราะ การวางของหิน สัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์  และมีบางทฤษฎีที่บอกว่า คนสมัยก่อนนั้นสร้างสโตรนเฮนจ์ มาเพื่อหาจุดเริ่มต้นของฤดูกาล ผ่านการใช้วันครีษมายัน หรือ Summer Solstice เป็นจุดเริ่มต้นของการนับวัน

สำหรับประเทศไทย ในวันที่ 21 มิถุนายน 2565 ซึ่งตรงกับวันครีษมายัน ดวงอาทิตย์จะขึ้นเวลาประมาณ 05:51 น. และจะตกลับขอบฟ้า เวลาประมาณ 18:47 น. รวมเวลาที่ดวงอาทิตย์ปรากฏอยู่บนท้องฟ้ายาวกว่า 13 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามภายใน 1 ปี ที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะเกิดปรากฏการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการขึ้น – ตก ของดวงอาทิตย์ทั้งหมด 4 เหตุการณ์ ได้แก่

  • วันครีษมายัน – วันที่กลางวันยาวนานที่สุด
  • วันเหมายัน – วันที่กลางคืนยาวนานที่สุด
  • วันวสันตวิษุวัต และวันศารทวิษุวัต – วันที่มีช่วงเวลากลางวันและกลางคืนยาวนานเท่ากัน

หากคุณกำลังสงสัยว่าทำไมวันนี้แดดแรงและรู้สึกเหมือนกลางวันนั้นยาวนานกว่าปกตินั้น เนื่องจากวันครีษมายันนั้นเองค่ะ

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here