บทเรียนแม่ประนอม การเข้าใจผิด ในโลกยุคข้อมูลล้น

0
442
kinyupen

บทเรียนหลังชาวเน็ตสอนภาษาไทยกลางเพจ “แม่ประนอม” โดนแม่ฟาดเจ็บๆ

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 64 ชาวเน็ตรายนั่นทักท้วงคำว่า “แซ่บ” ที่อยู่ในแคปชั่นบรรยายความอร่อยนั้น “ไม่มีไม้เอก” แต่ความจริงแม่ประนอมเขียนคำว่า “แซ่บ” ถูกแล้ว จากแม่ประนอม กลายเป็นแม่ประณามไปโดยปริยาย

 

 

ไม่ทราบว่าการเข้าใจผิดเหล่านี้เกิดจากอะไร ทั้งที่ข้อมูลสามารถค้นหาได้ง่ายแค่ปลายนิ้ว แต่กลับเลือกที่จะเชื่อสิ่งที่ผิด และเชื่อมากจนไปสอนเขาแบบผิดๆ เสียด้วย

 

วันนี้ กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตจะมาสรุปบทเรียนนี้กัน ว่าทำไมยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่เชื่อมั่นแบบผิดๆ อยู่ และทำอย่างไร เราจึงจะไม่กลายเป็นคนที่มีตรรกะความเชื่อผิดๆ แบบนี้

 

การเชื่อมต่อรวดเร็วก็เป็นดาบสองคม หากแสดงความคิดเห็น หรือสร้างพฤติกรรมที่ “เหมือนเป็นผู้รอบรู้” ก็กลายเป็นตัวตลกได้ทันทีทันใดเช่นกัน

เคสแม่ประนอมเป็นบทเรียนหนึ่ง ที่ควรเรียนรู้เรื่องการจะแสดงความคิดเห็นอะไร ต้องรู้ให้จริง ไม่ใช่ยึดเอาว่าสิ่งที่ตัวเรารู้มาถูกเสมอ ไม่ควรเป็น “คนหิวแสง” ที่มีข้อมูลลิงก์เดียว ก็ทำเหมือนเป็นผู้รอบรู้ แต่ลืมไปว่าคนที่เขารู้มากกว่าเราก็ยังมี

 

เราควรทำอย่างไรในโลกยุคข้อมูลล้น

ข้อมูลเร็ว แต่การกระทำอย่าเร็ว ยุคนี้ระบบอินเทอร์เน็ตเฟื่องฟู Big data ข้อมูลต่างๆ สามารถหาได้เพียงปลายนิ้ว อีกทั้งใครๆ ก็สามารถเป็นผู้สร้างคอนเทนต์ได้ ทำให้ข้อมูลล้นระบบ มีทั้งถูกและผิด ยังไม่นับการมีอคติในการเสพสื่อ ที่หากเราชื่นชอบข้อมูลจากไหน ก็จะเชื่อแหล่งนั้นตลอด ไม่รับฟังข้อมูลที่แตกต่างจากแหล่งใดเพิ่มเติมเลย

 

หากผู้ใช้ข้อมูลเองยังขาดการวิเคราะห์ เปรียบเทียบว่าอะไรผิด ถูก หรืออะไรควรเชื่อถือ ก็จะเข้าใจผิดว่า นะค่ะ เขียนถูก คำว่า แซ่บ เขียนว่า แซบ แบบคนที่โดนแม่ประณามเช่นนี้แล

 

ผลเสียจากการใช้ข้อมูลที่ผิด ไม่ได้มีแค่การใช้หลักภาษาที่ผิด แต่รวมไปถึงการเสพข้อมูลการลงทุนที่เราเชื่อในปัจจัยบวกมากกว่าปัจจัยลบ ทำไมขาดทุน หรือความคิดเห็นทางการเมือง ที่เราเชื่อว่าอีกฝ่ายหนึ่งต้องผิดเสมอ แต่เชื่อข้อมูลที่เราชื่นชอบแบบไม่ลืมหูลืมตา และอื่นๆ อีกมากมาย

 

ดังนั้นสิ่งที่ทุกคนลืมคือการเชื่อข้อมูลผิดๆ และรับฟังข้างเดียว ผู้ใช้ Social Media และผู้เสพสื่อ เสพคอนเทนต์ที่ดี ควรระลึกไว้ว่าข้อมูลที่ดีต้องได้รับการสืบค้นหลากแหล่ง

 

kinyupen