ผู้ที่สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง มีแนวโน้มป่วยหนักเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แม้แต่ในสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยโควิด-19 นี้ก็เช่นกัน แม้เจ้าเชื้อไวรัสนี้จะแพร่เชื้อสู่ทุกคนอย่างไม่มีข้อยกเว้น ต่อให้เป็นนักกีฬาทีมชาติก็ติดเชื้อได้ แต่ “สมดุลร่างกายที่ดี” คือปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เราไม่ป่วยหนัก หรือทำให้แทบไม่มีอาการจากเจ้าเชื้อร้ายนี้เลยด้วยซ้ำ ทำให้มีวิธีป้องกันโควิด-19 ออกมานำเสนอมากมาย ไม่ว่าจะเป็น จิบน้ำร้อนบ่อยๆ ทานขิงเยอะๆ สเปรย์พ่นปากฆ่าเชื้อ ซึ่งส่วนมากจะเป็นข่าวเท็จ
“ตากแดดป้องกันโควิด-19” อันนี้เราเคยได้ยินมาบ้าง แม้กว่าแสงแดดจะฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้ เราคงเป็นลมเสียก่อน แต่ความจริงพลังของแดดมีประโยชน์มากกว่านั้น กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตมีงานศึกษาที่สนับสนุนแนวคิดนี้มาฝาก
80% ของคนที่ติดโควิด-19 ขาดวิตามินดี
มีการวิจัยจากผู้ป่วย โควิด-19 จากฐานข้อมูล 4.6 ล้านคน พบว่าคนที่ไปตรวจโควิด-19 แล้วได้ผล positive ก็คือติดเชื้อ จะมีระดับวิตามินดีในเลือดต่ำ และยังพบว่าหากคนที่มีวิตามินดีในเลือดต่ำ ติดโควิด-19 ความจำเป็นจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจมากกว่าคนที่มีระดับวิตามินดีในเลือดสูงกว่า ถึง 6 เท่า และมีโอกาสที่จะเสียชีวิตมากกว่าเกือบ 15 เท่า
90 เปอร์เซ็นต์ของวิตามินดี มาจากแสงแดด
ตากแดดช่วยเลี่ยงการติดเชื้อ
บทเรียนจากวิกฤติไข้หวัดใหญ่เมื่อ 100 กว่าปีก่อน และอาจยังช่วยเราได้ในยามนี้
การติดเชื้อ แสงแดดและไข้หวัดใหญ่ (ข้อมูลจาก : medium.com)
การเอาผู้ป่วยที่ติดเชื้อออกไปตากแดดอาจช่วยได้ เพราะมันไปยับยั้งไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ นอกจากนี้ยังฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ปอดติดเชื้อและการติดเชื้ออื่นๆ ในโรงพยาบาล
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ศัลยแพทย์ทหารมักใช้แสงแดดในการรักษาบาดแผลที่ติดเชื้อ พวกเขารู้ว่ามันเป็นยาฆ่าเชื้อ แต่สิ่งที่พวกเขาไม่รู้ก็คือ ข้อดีอย่างหนึ่งของการวางผู้ป่วยไว้ข้างนอกกลางแดดก็คือพวกเขาสามารถสังเคราะห์วิตามินดีในผิวหนังได้ หากแสงแดดมีความแรงเพียงพอ จนกระทั่งค้นพบเรื่องนี้ในปี ค.ศ. 1920
ระดับวิตามินดีที่ต่ำเชื่อมโยงกับการติดเชื้อทางเดินหายใจ และอาจเพิ่มความไวต่อไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้จังหวะทางชีวภาพในร่างกายของเราดูเหมือนจะมีอิทธิพลต่อวิธีที่เราต่อต้านการติดเชื้อ
งานวิจัยใหม่ชี้ให้เห็นว่า สามารถเปลี่ยนแปลงการตอบสนองต่อการอักเสบของเราต่อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้เช่นเดียวกับวิตามินดี ในช่วงเวลาของการระบาดในปี ค.ศ. 1918
อย่างไรก็ตาม แสงแดดจากดวงอาทิตย์ในปริมาณที่เข้มข้นจะเป็นอันตรายกับผิวหนัง แต่หากได้รับปริมาณที่เหมาะสม แสงแดดจะมีประโยชน์ในการช่วยสังเคราะห์วิตามิน D ซึ่งจะไปช่วยสร้างภูมิต้านทาน และป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคโควิด-19 ได้ ดังนั้นอย่าตากแดดนานจนเกินไป เดี๋ยวจะเป็นลมแดดเอาเสียก่อน
โควิด-19 มีความถี่ต่ำ ทำอย่างไรไม่ติดโรค (รศ.ดร.กรณ์กาญจน์ ภมรประวัติ เรียบเรียงข้อมูล)
งานวิจัยจากรัสเซีย พบว่า ทุกสิ่งมีความถี่ ไวรัสโควิดมีความถี่ 2-7 Hz
ขณะนี้เป็นปีที่พลังงานอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ตกต่ำ เหมือนปีที่ H1N1 ระบาด อัตราการติดเชื้อไวรัสจึงสูง
ผู้คนที่อยู่ในอาคาร ออฟฟิศ ห้างสรรพสินค้า ตลาด รถใต้ดิน รถไฟฟ้า สถานเริงรมย์มีความถี่ต่ำกว่า 7 Hz ถ้าได้รับไวรัส เชื้อไวรัสจะเติบโตได้ง่าย จึงควรหาเวลาออกไปอยู่นอกอาคาร ตากแดด เพื่อปรับความถี่ของตัวเองให้สดใสมีพลัง
อารมณ์ผู้คนมีผลต่อไวรัส
อารมณ์ลบเศร้าหมองความถี่ต่ำ ถ้าสัมผัสไวรัสไวรัสจะเติบโตได้ดี ความรัก ความเผื่อแผ่ ความเมตตามีความถี่สูง ถ้าเจ้าของร่างได้รับไวรัส พบว่าไวรัสเติบโตไม่ได้
นักวิทยาศาสตร์บอกว่า น้ำช่วยร่างกายในการป้องกันการติดเชื้อของโควิด19 ได้ ให้ดื่มน้ำมากๆ ยิ่งถ้าเป็นน้ำที่รับพลังงานดี ๆ บรรจุไว้ เช่น น้ำในขวดแก้วที่ตากแดด น้ำฟังเสียงสวดมนต์ น้ำแช่ดอกไม้ ตามการศึกษาของ ดร. อิโมโต
ดังนั้น ทำใจให้ผ่องใส ออกมาใกล้ชิดธรรมชาติ ตากแดดบ้าง สวดมนต์ ภาวนา ผ่อนคลาย เลี่ยงสถานที่ความถี่ต่ำ (อาคารที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเยอะ หรือผู้คนทุกข์ร้อน เครียด) และดื่มน้ำประจุพลังงานดี ๆ รักษากาย ให้เลี่ยงอาหารหวาน แป้ง และผลไม้ ที่เป็นสาเหตุของอาการอินซูลินสูง ก็จะพอหลบหลีกการตกเป็นเหยื่อของการระบาดรอบนี้นะคะ
วิธีดังกล่าวที่ได้รวบรวมมาเป็นวิธีสร้างภูมิต้านทานเท่านั้น หากไม่แน่ใจว่า ณ ตอนนี้คุณติดเชื้อโควิด-19 แล้วหรือยัง ศ. (วุฒิคุณ) ดร.นพ. พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ นายกสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย มีข้อแนะนำสำหรับกลุ่มเสี่ยงก่อนตรวจหาเชื้อดังนี้
เมื่อเข้าไปในสถานที่เสี่ยงหรือสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโควิดควรทำดังนี้‼️
- ควรกักตัวเองเพื่อรอให้ครบ 5 วันแล้วค่อยไปตรวจหาเชื้อโควิด
- หากผลตรวจเป็นลบ ควรกักตัวเองต่ออีกจนครบ 14 วันแล้วตรวจหาเชื้อซ้ำเพื่อยืนยัน
คนไทยหลายคนเข้าใจผิดหลายประเด็น‼️
- ตระหนกตกใจแล้วรีบไปตรวจก่อน 5 วันหลังการสัมผัสเสี่ยงโรค จึงไม่พบเชื้อหรือผลเป็นลบ
- สบายใจว่าผลตรวจเป็นลบ (ข้อ 1) แล้วไม่กักตัวเองต่อ แต่กลับออกตระเวน,ทะเวน,ตะเวนใช้ชีวิตเหมือนเดิม และแพร่เชื้อให้คนอื่นๆ ต่อไป
นับถึงวันนี้ ไทยต้องเสียค่าใช้จ่ายตรวจเชื้อโควิดไปแล้วกว่า 50 ล้านบาทโดยไม่ได้ประสิทธิผลเท่าที่ควรจากความเข้าใจผิดๆ เหล่านี้
กินอยู่เป็นขอบคุณข้อมูลจาก