จุดจบสายเม้าท์ Scold’ s Bridle หน้ากากหยุดปาก

0
1120
kinyupen

การเป็นคนช่างเม้าท์ ชอบซุบซิบนินทา หรือแม้แต่ใช้ถ้อยคำแสดงความเกลียดชัง (hate speech) บางคนอาจมองว่าก็เป็นเพียงสิ่งบันเทิงขำๆ เล็กๆ น้อยๆ แต่อาจบานปลายกลายเป็นการปั่นป่วนสังคมที่มองข้ามไม่ได้เลยทีเดียว

 

ในไทยเอง บรรดาขาเม้าท์ที่นินทาว่าร้ายให้คนอื่นเสียหาย ถูกปล่อยผ่านแล้วไปก็เยอะ แต่หากถูกเอาเรื่องขึ้นมามีความผิดฐานหมิ่นประมาททันที มีโทษจำคุกสูงถึง 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท และอาจยังต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้เสียหายด้วย

“บินาโลนัน” เมืองเล็กๆ ในฟิลิปปินส์ ออกกฎหมายห้าม “ซุบซิบนินทา” เสียค่าปรับทันที 500 เปโซ (ประมาณ 300 บาท) และต้องบำเพ็ญประโยชน์ด้วยการเก็บขยะ

 

ย้อนกลับไปในสมัยยุโรปยุคกลาง ยุคที่เชื่อกันว่าสิ่งที่จะช่วยให้พ้นบาปที่ก่อได้คือความเจ็บปวดทุกข์ทรมานเท่านั้น ทำให้มีเครื่องทรมานร่างกายอยู่มากมาย การนินทาว่าร้ายก็ถูกลงโทษด้วยเช่นกัน

 

 

การพูดจาไม่ดีนิดๆ หน่อยๆ ถ้าจะถูกทรมานด้วยเครื่องมือใหญ่โตคงจะเกินกว่าเหตุ จึงหันมาใช้การประณามด้วยการสวมใส่ Scold’ s Bridle แทน เพื่อให้เกิดความอับอายและไม่กล้าที่จะทำเช่นนั้นอีก

 

Scold’s Bridle

 

Scold’ s Bridle แม้รูปร่างหน้าตาจะแปลกประหลาดต่างกันไปบ้าง แต่สิ่งที่เหมือนกันคือเป็นหน้ากากที่ทำจากโลหะ ส่วนปากเป็นหนามแหลมหรือเหล็กกดลงที่ปากทำให้ผู้ใส่ไม่สามารถปริปากพูดได้

 

อ้างอิงจากรูปแบบของอุปกรณ์และภาพการใช้งานในสมัยก่อน

 

โดยหน้ากากชนิดนี้ออกแบบไว้สำหรับผู้หญิงที่ขี้นินทา จู้จี้ หรือขี้โกหก แต่หากเป็นคู่สามี-ภรรยา สามีสามารถบังคับให้ใส่อุปกรณ์ทรมานนี้ได้เมื่อภรรยาของเขาพูดมากเกินไป และประจานด้วยการเดินจูงภรรยาไปรอบเมืองทั้งที่สวมสิ่งนี้อยู่ด้วย! (ยุคที่ผู้ชายเป็นใหญ่)

 

 

ในประเทศเยอรมนียังมีการติดกระดิ่งไว้ เดินไปก็จะมีเสียง เป็นเป้าสายตาและขายหน้ามากขึ้นไปอีก

 

 

จากบันทึกเกี่ยวกับ Scold’ s Bridle ในสกอตแลนด์เมื่อปี 1567 เผยว่าแม้อุปกรณ์นี้จะมีไว้ใช้กับผู้หญิงเป็นหลักก็ตาม บางครั้งก็ถูกใช้กับผู้ชายเช่นกัน และเมื่อสิทธิสตรีเริ่มมีบทบาทมากขึ้น รวมถึงโลกที่เปลี่ยนแปลงไป อุปกรณ์นี้เสื่อมความนิยมไปตามกาลเวลา ถือว่าโชคดีสำหรับขาเม้าท์ที่เกิดในยุคนี้ที่ไม่ต้องโดนประจานด้วยการสวมใส่เจ้าสิ่งนี้

 

ขอบคุณรูปภาพและที่มา จาก

kinyupen