ไขปริศนา อาการ “ซึมเศร้า” ตามฤดูกาล

0
831
kinyupen

อาการซึมเศร้าถือเป็นอีกหนึ่งภาวะที่เกิดขึ้นบ่อยมาก บางคนไม่มีอาการแสดงออกมาให้เห็นเลยด้วยซ้ำ แต่รู้หรือไม่ว่า ภาวะของอาการซึมเศร้านั้นสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลได้ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว อาการเป็นอย่างไร กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต มีคำตอบมาให้ทุกคนแล้ว

 

กินอยู่เป็นเป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต ขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า ซึ่งตอนนี้กลายเป็นอีกหนึ่งภาวะโรคร้ายที่พบเจอกับหลาย ๆ คน บางคนไม่มีอาการแสดงออกมาให้เห็นเลยว่ากำลังเป็นโรคซึมเศร้า มารู้อีกทีก็ในวันที่สายไปแล้ว แต่เชื่อหรือไม่ว่า ภาวะของอาการซึมเศร้านั้นสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลได้

ภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล (SAD)

หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า SAD หรือ Seasonal Affective Disorder ซึ่งเป็นอาการซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศเขตหนาว โดยผู้ป่วยภาวะนี้จะมีอาการของโรคซึมเศร้าเป็นระยะ ซึ่งจะเกิดขึ้นและหายไปในช่วงเวลาเดียวกันของทุกปี ส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการในฤดูหนาวและค่อย ๆ ดีขึ้นเมื่อถึงฤดูร้อน

 

ซึ่งผู้ที่เป็นโรคนี้นั้น มักจะมีอาการซึมเศร้าเมื่อกลางวันเริ่มสั้นลงและกลางคืนยาวขึ้น อาการของผู้ป่วยโรคนี้นั้นประกอบด้วยการรู้สึกว่ามีความสุขและระดับพลังงานลดลง รู้สึกไม่มีค่า ไม่มีสมาธิ และไม่สามารถควบคุมความต้องการรับประทานน้ำตาลหรืออาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงได้ ถึงแม้ว่าอาการเหล่านี้จะดีขึ้นเมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ แต่โรคนี้ก็อาจทำให้คุณมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ และมีปัญหาในด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้างและในที่ทำงานได้

 

ปัจจุบัน ในทางการแพทย์ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าอาการดังกล่าวนั้นเกิดจากอะไร แต่เชื่อว่าเกิดจากหลายสาเหตุเช่นการเปลี่ยนแปลงวงจรกลางวันและกลางคืนของร่างกาย การรับแสงของตา และการทำงานของสารเคมีต่าง ๆ เป็นต้น

 

ข้อมูลจากงานวิจัยจากศาสตราจารย์ Lance Workman แห่งมหาวิทยาลัยเชาห์เวลส์ เสนอแนวคิดใหม่ที่น่าสนใจว่า ดวงตาสีน้ำตาลอาจเป็นเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้ก็ได้ เพราะจากการทดลองกับนักศึกษา 175 คน พบว่า ผู้ที่มีดวงตาสีน้ำเงินหรือเขียว ทำคะแนนแบบสอบถามประเมินรูปแบบการเป็น SAD ได้น้อยมาก เมื่อเทียบกับผู้ที่มีดวงตาสีเข้มหรือสีน้ำตาล ซึ่งผลที่ออกมก็สอดคล้องกับงานวิจัยอื่น ๆ ที่มีมาก่อนหน้านี้

 

สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากผู้ที่มีดวงตาสีน้ำตาลต้องซึมซับแสงแดดในปริมาณมากกว่าผู้ที่มีดวงตาสีฟ้าหรือเขียวกว่าที่จะสามารถรับแสงให้ไปถึงเชลล์เรตินได้ ซึ่งการจะซึมซับแสงปริมาณมากในฤดูหนาวก็เป็นเรื่องยาก นอกจากนี้ การที่ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองหนาวและมีดวงตาสีฟ้า อาจเป็นการกลายพันธุ์ตั้งแต่ในยุคโบรณที่กิดขึ้นพื่อต่อสู้กับอาการ SAD ตั้งแต่สมัยที่มนุษย์อพยพไปยังพื้นที่ในละติจูดเหนือแล้วก็เป็นได้

 

 

วิธีการรักษา

การรักษาหลัก ๆ ของอาการซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล หรือ SAD นั้น นอกจากการรับประทานยาต้านอาการซึมเศร้านั้น ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่สามารถใช้รักษาได้ก็คือการใช้แสงนั่นเอง เนื่องจากผลการวิจัยที่ระบุไว้ข้างต้นนั้น ปัญหาคือหากการที่ผู้ป่วยได้รับแสงลดลงแล้วทำให้เกิดโรคดังกล่าว ทำให้การที่ผู้ป่วยได้รับแสงเพิ่มขึ้นก็อาจจะรักษาโรคนี้ได้เช่นกัน เนื่องจากแสงที่สว่างจะไปกระตุ้นเซลล์ที่อยู่ในจอรับภาพภายในลูกตาที่เชื่อมต่อกับสมองส่วนไฮโพทาลามัสซึ่งทำหน้าที่ควบคุมระบบวงจรกลางวันกลางคืนของร่างกาย การกระตุ้นให้สมองส่วนนี้ทำงานในช่วงเวลาที่จำเพาะทุก ๆ วัน จะช่วยทำให้ระบบวงจรดังกล่าวนั้นกลับมาทำงานตามปกติและช่วยลดอาการที่เกิดขึ้นได้

 

การรักษาวิธีนี้ทำได้โดยการนั่งใกล้ ๆ กล่องแสง หรือ light box โดยใช้เวลาอย่างน้อย 30 นาที/วัน ในช่วงที่เพิ่งตื่นนอน กล่องดังกล่าวจะให้แสงความเข้มข้นขนาด 10,000 ลักซ์ ซึ่งเข้มข้นมากกว่าแสงภายในอาคารปกติถึง 100 เท่า ในช่วงเวลาดังกล่าวคุณจะต้องลืมตา แต่อย่ามองเข้าไปที่แสงโดยตรงซึ่งอาจจะทำกิจกรรมได้แก่ การอ่านหนังสือพิมพ์ หนังสือ นิตยสาร หรือทำงานไปด้วยก็ได้

 

สุดท้าย ภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาลนี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ และมีหลายวิธีที่สามารถใช้ในการรักษาได้ ฉะนั้นควรพิจารณาทางเลือกในการรักษาจากแพทย์ก่อนเสมอและติดตามอาการเป็นระยะ ๆ เพื่อช่วยลดอาการภาวะดังกล่าวไม่ให้มาแผ้วพานตัวคุณอีกเลย และนี่คือวิถีแห่ง กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต

kinyupen