บาดเจ็บตอนเล่นกีฬา ยังซ้อมได้หรือไม่? | 100+ Story

0
666
kinyupen

กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต นำแง่คิดดีๆ จาก พิพัฒน์ ละเอียดอ่อน หรือ Khunphiphat เจ้าของผลงาน 100+ Podcast ที่มาพร้อมกับการไขความลับใช้ชีวิตให้ยืนยาว แต่วันนี้มาในรูปแบบเรื่องราวแง่คิด ชีวิต ใน 100+ Story

 

 

Acute phase : Promote tissue healing and avoid deconditioning

บาดเจ็บระยะแรกเฉียบพลัน : การส่งเสริมการรักษาเนื้อเยื่อและหลีกเลี่ยง ป้องกันการเสื่อมสภาพ

เวลาที่นักกีฬามีอาการบาดเจ็บ คำแนะนำที่เจอบ่อยๆ ก็คือ

“หยุด”

“พักก่อน”

“ไม่หยุดไม่หายนะ”

 

แต่ถึงแม้จะหยุดพักจนหายก็ตาม นักกีฬาส่วนหนึ่งเมื่อกลับมาใช้งานส่วนนั่นใหม่ ก็จะเจ็บซ้ำที่เดิมๆ อีก แล้วก็วนๆ ลูปอยู่แบบนั้นเป็นระยะเวลานาน จนบางครั้งต้องเลิกเล่นไป ตามวิธีการรักษาแบบดั้งเดิมแพทย์ใช้โปรโตคอล

  • P = Protection (ปกป้องส่วนที่บาดเจ็บ ไม่ให้มีการบาดเจ็บเพิ่ม)
  • R = Rest (พัก หรือหยุดใช้งานส่วนที่บาดเจ็บ)
  • I = Ice (ประคบเย็น เพื่อลดอาการอักเสบ)
  • C = Compression (กด รัด พัน เอาไว้ ไม่ให้บวมมาก)
  • E = Elevation (ยกสูง เพื่อไม่ให้เลือดมาคั่ง ลดอาการบวมน้ำ)

 

“พัก” โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายของเนื้อเยื่อที่อาจจะเพิ่มมากขึ้น ลดความเจ็บปวดจากการใช้งานและลดอาการบวมน้ำ

“หยุด” เพื่อจะพยายามช่วยส่งเสริมกระบวนการรักษานี้

 

แม้ว่าจะจะได้ผล โปรโตคอลนี้ใช้สำหรับบุคคลทั่วไป แต่การยืดตรึงเวลาการพักส่งผลเสียต่อกล้ามเนื้อและความแข็งแรงในนักกีฬาได้ และส่งผลเสียต่อนักกีฬาที่ต้องการกลับไปแข็งแรงในระดับก่อนบาดเจ็บ ยิ่งไปกว่านั้นนักกีฬาชั้นยอดคาดว่าจะกลับสู่ การแข่งขันในช่วงเวลาที่เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

 

แต่ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีคอนเซ็ปต์ใหม่ในการรักษานักกีฬาที่บาดเจ็บ วิทยาศาสตร์การกีฬาได้เปลี่ยนไป ที่กำลังพูดถึงกันมากขึ้นเรื่อยๆ และเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมพอสมควร…

คอนเซ็ปต์ใหม่ที่พูดถึงคือ “POLICE” เปลี่ยนจากตัว “R” หรือการหยุดพัก เป็น “OL” = Optimal Loading” หรือการแนะนำให้ใช้งานเคลื่อนไหวได้เท่าที่สามารถทำได้

 

ถ้าเข้าใจไม่ผิด คอนเซ็ปต์นี้เริ่มมาจากการรักษาอาการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ปัจจุบันเราแนะนำให้ขยับเร็วที่สุด ลงน้ำหนักให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ จากเดิมที่ต้องใส่เฝือกกันนานๆ ซึ่งบางคนอาจจะเจ็บแค่เล็กน้อย หรือแค่กลัวเจ็บเลยไม่ยอมถอดสักทีจน กล้ามเนื้ออ่อนแรง พังผืดจับ ข้อเท้าติด แล้วก็ต้องมานั่งแก้ไข ฟื้นฟูกันอีกรอบ

 

 

งานวิจัยหลายๆ งานช่วงหลังก็สรุปออกมาได้ว่า การที่ใช้งานเร็วขึ้น จะช่วยให้ป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้ดี และทำให้การซ่อมแซม ฟื้นตัวได้เร็วกว่า หายจากอาการบาดเจ็บได้เร็วขึ้น ไม่ต้องสร้างกล้ามเนื้อใหม่ หรือไม่ต้องยืดดัดข้อต่อที่ติด ซึ่งทำให้เสียเวลาในการรักษา และการกลับไปเล่นกีฬาในระดับความแข็งแรงก่อนการบาดเจ็บอย่างมาก

 

ดังนั้นนักกีฬาจึงต้องใช้วิธีการฟื้นฟูที่แตกต่างและก้าวร้าวมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องเริ่มในระยะเฉียบพลัน การรักษาเป้าหมายสุดท้ายคือการหายของอาการการบาดเจ็บที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และปราศจากความเสี่ยง

ให้แพทย์ปฏิบัติตาม POLICE ที่เหมาะสมที่สุดในการตั้งค่าการโปรแกรมดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ระยะแรกสำหรับนักกีฬา

 

“OL” แสดงให้เห็นว่ามีผลดีในการส่งเสริมการปรับโครงสร้างคอลลาเจนและการรักษาเนื้อเยื่อ จึงควรเริ่มโปรแกรมการโหลดใช้งานทันทีที่สามารถทำได้และมากเท่าที่ความเจ็บปวดอนุญาต การโหลดการใช้งานส่วนที่บาดเจ็บเบื้องต้นควรเริ่มการกลับสู่การใช้งานแบกรับภาระเต็มรูปแบบมากที่สุดที่สามารถทำได้ จนถึง full range of motion

 

อาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายนั้น ก็มีหลายอาการที่สามารถรักษาไปด้วย ทำต่อต่อไปด้วยได้ หรือเพิ่มการเสริมสร้างความแข็งแรง ยืดเหยียดส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บนั้นๆ ควบคู่ไป

เพราะถ้าเราหยุดรอให้หาย แล้วไม่ได้แก้สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือการที่กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นที่ไม่แข็งแรงพอจะรับแรงจากการใช้งานที่หนักมากขึ้น… เวลากลับมาใช้งานใหม่ ก็เจ็บใหม่อยู่ดี

ทั้งนี้ต้องดูความเหมาะสม และสาเหตุในแต่ละเคสไปด้วย

 

สุดท้ายนี้ ปัจจุบันยังไม่มีสูตรสำเร็จของแต่ละอาการบาดเจ็บ ว่าเจ็บอะไร ต้อง Optimal Loading แบบไหน ซึ่งแต่ละเคสต้องพิจารณาดูเอาเอง ถ้าทำอะไรแล้วเจ็บมากขึ้น อันนี้ต้องหยุดหลีกเลี่ยง แต่ถ้าทำได้จนจบ ค่อยๆ ทำได้มากขึ้น และเวลาผ่านไปอาการเจ็บควรจะดีขึ้นลดลงเรื่อยๆ อันนี้ถึงจะเป็น Optimal Loading

สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องรู้ตัวเอง อย่าฝืน!!

kinyupen