4 โรคหน้าฝน…ของคนแก่

0
144
kinyupen

ไม่ว่าจะฤดูไหน ๆ ก็มีโรคภัยเข้ามารุมเร้าเราเสมอ จะเด็กเล็กหรือสูงวัย หรือแม้แต่วัยกลางคนก็หนีไม่พ้น ยิ่งช่วงนี้เข้าสู่ฤดูฝนแบบของแท้ที่ตกได้ทุกวัน คงหนีไม่พ้นโรคที่มากับหน้าฝน ตั้งแต่เบสิกคือ ไข้หวัด ไอ จาม ลามจนไปถึงไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ต่างๆ แถมยังมีพี่โควิดที่ยังระบาดอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย วันนี้ กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต ขอเจาะกลุ่มเปราะบางที่เราควรให้ความสนใจและดูแลเอาใจใส่มากที่สุดคือ “ผู้สูงวัย” ปู่ ย่า ตายาย ของเรานั่นเอง มาดูกันว่าแพทย์ให้ข้อแนะนำในการเฝ้าระวังเรื่องใดบ้างกับกลุ่มสูงวัย ในช่วงฤดูฝนแบบนี้

โรคผิวหนัง เกิดจากความอับชื้นที่มาพร้อมกับสายฝน ไม่ว่าจะเป็นโรคน้ำกัดเท้า ผื่นผิวหนังที่เกิดจากความอับชื้น ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หากเกิดน้ำท่วมขังถ้าผู้สูงอายุเดินลุยน้ำจะเกิด “โรคเท้าเปื่อย” ได้ และอีกโรคที่มาพร้อมกับฝนคือผื่นผิวหนังที่ถูกแมลงกัด โดยเฉพาะ “แมลงก้นกระดก” ลักษณะของผื่นจะเป็นผื่นแดง เป็นรอยไหม้ทางยาว ควรหลีกเลี่ยงการปัดหรือบี้แมลง

.

โรคท้องร่วงเกิดจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย โดยผู้ที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่จะแสดงอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง มีอาการสูญเสียน้ำภายใน 1 – 2 วัน หรือภายในไม่กี่ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับชนิด ประเภท หากเกิดอาการปวดท้องอย่างรุนแรงร่วมกับมีไข้สูง ควรรีบพบแพทย์ทันที ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจทำให้ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่จนเป็นอันตรายได้

.

โรคไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) เป็นโรคที่มียุงลายเป็นแมลงนำโรค เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้ เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลายพร้อมที่จะเข้าสู่คนที่ถูกกัดต่อไป

.

โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน โดยมีลักษณะทางคลินิกที่สำคัญคือ มีไข้สูงแบบทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย

บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้ไว้! 7 สิ่งต้องทำเมื่อฝนมา

กรมควบคุมโรค เตือน 8 โรค 3 ภัยสุขภาพช่วงหน้าฝน

เตือนภัยหน้าฝน “ไข้หวัดใหญ่” อันตราย กรมควบคุมโรคแนะยึดหลัก “ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด”

แนะนำ 5 กีฬาในร่มยอดฮิต ควรค่าแก่การเบิร์นไขมันช่วงหน้าฝน

🌟คำแนะนำสำหรับผู้สูงอายุในหน้าฝน 🌟

✅ดูแลร่างกายและสุขอนามัย สวมใส่เสื้อผ้าแห้ง ไม่อับชื้น รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่

✅ระวังการลื่นล้ม ใส่รองเท้าที่มีการยึดเกาะที่ดี ใช้อุปกรณ์ช่วยพยุง

✅เลี่ยงการเดินลุยน้ำ หากเท้าเปียกควรล้างเท้าให้สะอาดและทำให้แห้งสนิท

✅เมื่อมีอาการคันอย่าเกา ดูแลอย่าให้ผิวหนังแห้งเกินหรืออับชื้น

✅ระวังโรคไข้เลือดออก ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายรอบบ้าน

ขอบคุณข้อมูลจาก : Thonburi Health Village

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here