คนละครึ่งเฟสใหม่ไม่โดน ของแพงขึ้นแต่เงินช่วยน้อยลง

0
744
kinyupen

คนไทยเซ็ง ของแพง น้ำมันแพง ค่าใช้จ่ายพุ่งสูง แต่รัฐบาลจะอัดฉีดโครงการคนละครึ่งน้อยกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา เพราะคนละครึ่งเฟส 5 นี้ได้วงเงินเพียง 800 ต่อคน ซึ่งน้อยกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา ข้าวของยังราคาแพงขึ้นถ้วนหน้าแบบนี้ผู้คนยังคงไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย เกรงว่างวดนี้จะปลุกเศรษฐกิจไม่ขึ้นเสียแล้ว

สิ่งเหล่านี้บ่งบอกอะไร? มันคือยุคข้าวยากหมากแพงที่อะไรก็ฉุดไม่อยู่ วันนี้กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตจะมาชวนทุกคนคุยเรื่องปัญหาปากท้องกันค่ะ

แม้จะมีคนละครึ่ง แต่ทำไมถึงใช้ไม่พอ?

1. ราคาไม่ตอบโจทย์สิ่งที่รัฐให้มา

รัฐร่วมจ่ายค่าอาหาร เครื่องดื่ม สินค้า และบริการที่กำหนด เพียง 800 บาทต่อคน โดยรัฐให้ครึ่งหนึ่งไม่เกินวันละ 150 บาท/วัน ใช้จ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน – 31 ตุลาคม 2565 (2 เดือน)

  • ได้วันละ 150 บาท ใช้แค่ 5-6 วันก็ครบ 800 แล้ว ส่วนอีก 55 วันที่เหลือเราก็แห้งตายไป ไม่มีเงินใช้ต่อ แค่ค่าน้ำ+อาหาร 3 มื้อ มื้อละ 70 บาท ก็ตกวันละ 210 บาทแล้ว ยังไม่รวม ค่าของใช้ประจำวัน เช่น เจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย ยารักษา ผ้าอนามัย สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก เสื้อผ้า ฯลฯ
  • ที่ตลกร้ายคือถ้าอยากใช้ประหยัดๆ ให้ครบโครงการ 800 บาทใช้ 2 เดือน ตกวันละ 13.3 บาท
    ซื้ออะไรได้บ้าง…
    ก็ซื้อได้แค่มาม่า 1-2 ซองเท่านั้นแหละ ฮ่าๆ

2. ร้านค้าที่รับคนละครึ่งหายาก

แม้ช่วงแรกจะมีร้านค้ารับคนละครึ่งกันอย่างคึกคัก แต่ระยะหลังร้านค้าทั่วไป โดยเฉพาะร้านขายของชำเริ่มไม่รับคนละครึ่งกันแล้ว ด้วยเหตุผลเรื่องภาษี ทำให้ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินสดเหมือนเดิมอย่างเสียไม่ได้ หรือต้องหาร้านอื่น แล้วจำใจซื้อของที่ไม่ต้องการเพื่อใช้คนละครึ่งให้มันหมดๆ ไป

3. ค่าครองชีพเราพุ่งสูงขึ้นทุกวันในขณะที่รายรับยังเท่าเดิม!

เงินมูลค่า 300 บาท แต่ก่อนซื้อของได้ 10-12 อย่าง แต่ปัจจุบันอาจใช้ซื้อของได้เพียง 7-8 อย่าง

ขนม 10 บาท ตอนนี้ขึ้นราคาเป็น 12 บาท ฟังดูเล็กน้อย แค่ 2 บาทเราจ่ายไหวอยู่แล้ว แต่รู้ไหมว่าเราต้องจ่ายแพงขึ้นถึง 20% เชียวนะ

ข้าวกะเพราไข่ดาว จาก 50 เป็น 70 บาท คือจ่ายแพงขึ้น 40%

ข้าวเหนียวหมูปิ้ง แต่ก่อนไม้ละ 5-7 บาท ตอนนี้ไม้ละ 10-12 บาท แถมปริมาณเนื้อหมูยังหดลงทุกทีๆ มีแต่มันหมูเข้ามาแทนที่

ทั้งหมดนี้คือ “ภาวะเงินเฟ้อ” ด้วยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป เช่น ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนส่งผลให้น้ำมันขึ้นราคา โรคระบาดที่ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ราคาสินค้าหรือบริการที่เราต้องจ่ายไม่เหมือนเดิมแล้ว

“เงินเฟ้อ” อันตรายแค่ไหน

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 มีคำเตือนจากธนาคารโลก (World Bank) ว่าโลกจะเจอกับภาวะ stagflation หรือเศรษฐกิจถดถอยจากปัญหากับดักเงินเฟ้อ เหมือนกับยุคทศวรรษ 1970 ที่ทั้งราคาน้ำมันพุ่งสูงสกัดกั้นการขยายตัว และราคาสินค้าต่างๆ พุ่งสูงจากภาวะเงินเฟ้อ

“ความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจชะงักงันและเงินเฟ้อจะกัดกร่อนเสถียรภาพของชาติเศรษฐกิจรายได้ปานกลางและรายได้น้อยตามมาอีก ประชาชนหิวโหยหนักขึ้น ถึงขั้นเกิดภาวะข้าวยากหมากแพงในบางพื้นที่ หากมีผลเลวร้ายที่สุด การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในอีกสองปีข้างหน้า จะเข้าสู่การดิ่งถึงศูนย์” นายเดวิด มัลพาสส์ ประธานเวิลด์แบงก์กล่าว

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

คงถึงช่วงที่เราระมัดระวังเรื่องการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น แม้โครงการคนละครึ่งอาจน้อยเกินไป ไม่ตอบโจทย์ค่าใช้จ่ายเท่าที่ควร แต่ก็ยังดีที่อย่างน้อยก็ยังมีอะไรออกมาช่วยได้บ้าง

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here