น้ำมันแพง ค่าไฟแพง มาม่าแพง ค่ารถแพง ทุกอย่างแพงไปหมดยกเว้นค่าแรง
ค่าครองชีพเราพุ่งสูงขึ้นทุกวันในขณะที่ “ค่าแรง” ยังเท่าเดิม! คำฮิตติดหูคือต้อง “ประหยัด” จึงจะอยู่รอด สำหรับมนุษย์เงินเดือน 15,000 อาจพอใช้ความประหยัดอดออมพอประทังชีวิตได้ แต่ถ้าสำหรับผู้ที่ได้ค่าแรงเพียงวันละ 300 บาทล่ะ? ต้องทำอย่างไร
ทีมค่าแรงวันละ 300 บาท กับเงินเดือน 9,000 อยู่อย่างไรให้รอดในปี 2565 กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตจะมาคลี่คำตอบนี้ให้ทุกคนได้ดูกัน
ค่าแรงขั้นต่ำเฉลี่ยทั่วประเทศปัจจุบันอยู่ที่ 321 บาท
รายรับ 321 บาท
– ค่าอาหาร มื้อละ 50 บาท 3 มื้อ = 150 บาท
– ค่าน้ำเปล่า มื้อละ 10 บาท 3 มื้อ = 30 บาท
– ค่าวินมอเตอร์ไซค์ ไป-กลับ = 40 บาท
– ค่ารถเมล์ไป-กลับ = 20 บาท
– ค่าที่พักราคาประหยัด รวมค่าน้ำ-ไฟประมาณ 3,000 บาท/เดือน เฉลี่ยวันละ 83 บาท
รวมรายจ่ายทั้งหมดทั้งหมด 323 บาท/วัน (เกินมานิดหน่อยนะคะ)
*หมายเหตุ : ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายต่อไปนี้*
– ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าโทรศัพท์มือถือ
– เครื่องใช้สอยในครัวเรือน
– เครื่องนุ่งห่ม
– ค่าผ่อนชำระหนี้สิน ดอกเบี้ย
– ค่าแสวงหาความรู้ ค่าหนังสือ
– ค่ารักษาพยาบาล ยารักษาโรค
– ค่าเจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย
– ของใช้ผู้หญิงเช่น เครื่องสำอาง ผ้าอนามัย
– ค่าเลี้ยงดูครอบครัว, สัตว์เลี้ยง
– ค่าซ่อม ค่าใช้จ่ายกรณีฉุกเฉิน
– กิจกรรมสันทนาการ ทำบุญ ภาษีสังคม
– ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็น
สรุป : วันละ 300 อยู่ยาก
เทคนิคเอาตัวรอดในยุคข้าวยากหมากแพง แต่เงินน้อย
- อยู่อย่างไรให้รอด? รับมือวิกฤตของแพง ฉบับ’เฟิร์สจ๊อบเปอร์’ – kinyupen
- สูตรลับคนร้อนเงิน! เหลือ 3000 อยู่อย่างไรให้รอดทั้งเดือน – kinyupen
- 5 วิธีประหยัด เอาตัวรอดจนถึงสิ้นเดือน – kinyupen
กรณีที่แย่กว่าคือถ้าวันไหนไม่ได้ทำงานก็ไม่มีเงิน
ส่วนใหญ่ในโรงงานที่ไม่มีสหภาพแรงงาน นายจ้างจะจ่ายเฉพาะวันทำงานเท่านั้น ซึ่งการทำงานปกติเดือนละ 26 วันคนงานจะได้รับค่าจ้างทั้งหมด 7,800 บาทต่อเดือน
แม้ทุกความมั่งคั่งมีความประหยัดเป็นตัวแปร แต่สำหรับค่าแรงวันละ 300 เป็นไปได้ยากจริงๆ เราอยู่ในยุคที่ค่าแรงไม่สัมพันธ์กับค่าใช้จ่าย อยู่ในประเทศที่ชนชั้นล่างต้องรัดเข็มขัด ระมัดระวังเรื่องการใช้เงินอย่างมาก
การประหยัดก็ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้ แต่ไม่ 100% สิ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาเงินไม่พอได้อย่างแน่นอนที่สุด คือ หารายได้เพิ่ม
บทความที่เกี่ยวข้อง