ใครไม่ยื่นภาษีคริปโตฯ ต้องระวังไว้ ถ้าไม่ยื่นจะเกิดอะไรขึ้น?

0
872
kinyupen

แม้ภาษีคริปโตฯ ที่ออกมาล่าสุดนี้จะไม่ถูกใจใครหลายๆ คน และดูยุ่งยาก พาลให้ไม่อยากเสียภาษีเอาซะเลย แต่ใครที่เทรดคริปโตเคอร์เรนซี่แล้วไม่ยื่นภาษี ระวังไว้ เพราะสรรพากรเขาว่ามา ว่ามีวิธีตรวจสอบ

 

ส่วนใครที่ยังงงๆ กลัวใส่ข้อมูลผิดไม่ต้องกังวล กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต มีคำชี้แจงจากกรมสรรพากร รายละเอียดและข้อกำหนดในการยื่นภาษีคริปโตฯ ที่นักลงทุนต้องรู้!

 

 

วันที่ 6 มกราคม 2565 แหล่งข่าวจากกรมสรรพากร เปิดเผยว่า การเก็บภาษีขายคริปโตเคอร์เรนซี จะยึดลักษณะเดียวกับการเก็บภาษีขายหุ้น ที่หากขายนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ กรณีมีกำไรก็ต้องเสียภาษี ซึ่งจะพิจารณาเป็นรายธุรกรรมเช่นกัน

 

แต่การขายในตลาดหุ้น มีกฎหมายยกเว้นให้ เนื่องจากที่ผ่านมาต้องการส่งเสริมการซื้อขายผ่านตลาดหุ้น

 

เกณฑ์ที่ต้องรายงานภาษีคริปโตฯ กำไรเท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี?

สำหรับบุคคลทั่วไป

หากมีรายได้จากการเทรดคริปโตเพียงทางเดียว โดยมีกำไรจากการขายคริปโตเคอร์เรนซีตลอดทั้งปีไม่เกิน 60,000 บาท ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีหรือเสียภาษีเลย และถ้าหากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ระหว่างปี ก็สามารถยื่นภาษีประจำปีเพื่อขอคืนภาษีส่วนใดกล่าวได้ทั้งจำนวน

 

สำหรับบุคคลทั่วไปที่มีรายได้จากการเทรดคริปโตเพียงทางเดียว

หากบุคคลทั่วไปที่มีรายได้จากการเทรดคริปโตเพียงทางเดียว มีกำไรจากการขายคริปโตเคอร์เรนซีตลอดทั้งปีไม่เกิน 210,000 บาท จะยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีอยู่ แต่รายได้จะยังไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี

ดังนั้น หากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ระหว่างปี ก็สามารถยื่นภาษีประจำปีเพื่อขอคืนภาษีส่วนใดกล่าวได้ทั้งจำนวนเช่นกัน

 

กรณีบุคคลดังกล่าวมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์แล้ว หรือมีบัตรประจำตัวผู้พิการ หากกำไรจากการขายคริปโตเคอร์เรนซีตลอดทั้งปีไม่เกิน 400,000 บาท จะยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีอยู่ แต่รายได้จะยังไม่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี เนื่องจากได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีของผู้สูงอายุและผู้พิการ

ดังนั้น หากถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ระหว่างปี ก็สามารถยื่นภาษี ประจำปีเพื่อขอคืน ภาษีส่วนใดกล่าวได้ทั้งจำนวน

 

 

ภาษีคริปโตฯ คำนวณอย่างไร

“การเสียภาษีคริปโตฯ ก็เหมือนกับขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ ถ้าขายแล้วมีกำไรก็ต้องเสียภาษี ถ้าขาดทุนก็ไม่ต้อง” แหล่งข่าวกล่าว

 

ภาษีคริปโตฯ ให้คิดกำไร ขาดทุน แยกเป็น transaction

เช่น รอบแรก เราซื้อ BTC มา 1.5 ล้าน ขายออกไป 1.6 ล้าน ได้กำไรมา 1 แสนบาท ต่อมาซื้อ BTC 1.9 ล้าน ขายออกไป 1.85 ล้าน ขาดทุน 5 หมื่น

เราไม่สามารถเอาส่วนที่ขาดทุน 5 หมื่นนี้ ไปหักลบออกจากกำไร 1 แสน และเราจะต้องนำเอากำไร 1 แสนบาท ไปยื่นเป็นเงินได้ของเราในปีภาษีนี้ (จะเอาแบบเหมารวมทั้งปี มาหักลบกันว่ากำไรหรือขาดทุนไม่ได้)

 

ใครอยากฟังแบบเต็ม ๆ ลองดูในคลิปตั้งแต่นาทีที่ 33 เป็นต้นไปนะคะ

 

 

ในอนาคตกรมสรรพากรเชื่อมต่อข้อมูลกับกระดานเทรด

ถ้ากรอกข้อมูลผิด ใส่กำไรน้อยกว่าความเป็นจริงจะโดนอะไรบ้าง?

หลายคนกลัวว่าหากกรอกผิดจะเป็นเรื่องใหญ่ แต่ไม่ต้องซีเรียสขนาดนั้น โฆษกกรมสรรพากรชี้แจงว่าการยื่นภาษีเพื่อแสดงรายได้ โดยปกติไม่จำเป็นต้องแนบหลักฐานใดๆ แต่ยืนยันว่ากรมสรรพากรมี big data และมีการทำ data analytics เพื่อวิเคราะห์ว่าผู้เสียภาษีรายใดจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มไม่เสี่ยง

 

หากเจ้าหน้าที่สรรพากรมีข้อสงสัยว่าแสดงรายได้ไม่ครบถ้วน ก็สามารถขอเชิญให้ผู้เสียภาษีชี้แจงได้ หากพิสูจน์ได้ว่าแสดงรายได้ครบถ้วนแล้วก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น

 

แต่ถ้าพบว่าผู้เสียภาษีแสดงรายได้ต่ำกว่าข้อมูลที่กรมสรรพากรมี ทางกรมจะขอให้ผู้เสียเสียภาษียื่นและชำระภาษีเพิ่มเติมจากส่วนที่ขาด ซึ่งหากเป็นการชำระเพิ่มเติมหลังจากหมดเวลายื่นภาษีประจำปีแล้ว จะต้องชำระเงินเพิ่ม (ดอกเบี้ยเนื่องจากชำระภาษีล่าช้า) โดยคำนวณจากเฉพาะภาษีที่ชำระไว้ขาด ในอัตรา 1.5% ต่อเดือน

แต่ไม่มีค่าปรับอื่นเพิ่มเติมแต่อย่างใด เนื่องจากยื่นภาษีแล้ว เพียงแต่แสดงรายได้ไม่ครบถ้วน

 

กินอยู่เป็นขอขอบคุณที่มาจาก

kinyupen