เรามักพบเห็นผู้สูงวัยที่ผอมลง ไม่ค่อยเจริญอาหาร อายุมาก น้ำหนักยิ่งลด มวลกล้ามเนื้อเริ่มร่อยหรอ แม้ดูเป็นเรื่องปกติในวัยชรา แต่อาการเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจเกิดปัญหาลุกลามเรื้อรังได้
กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตมีแนวทางป้องกัน บรรเทาปัญหาผู้ผู้สูงอายุไม่รับประทานอาหาร โดยนำข้อมูลจาก Thonburi Healthcare Group (THG) มาฝาก
ส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการน้ำหนักลดในผู้สูงอายุ คือความไม่อยากอาหาร ไม่รับประทานอาหาร กินข้าวได้น้อยลง ต้องหมั่นสังเกตว่า ผู้สูงอายุมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่
อย่างโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด, ท้องเฟ้อ, ท้องผูก, แน่นท้องคลื่นไส้ หากพบต้นเหตุก็จะช่วยไม่ให้อาการบานปลาย และกลับมารับประทานอาหารได้อย่างปกติ
สาเหตุอาการไม่อยากอาหารที่พบบ่อยคือ
- รับประทานแต่เมนูเดิมๆ
- อาหารเป็นพิษ
- อากาศร้อนหิวน้ำบ่อย
- เกิดจากต่อมรับรู้รสมีปัญหา จนรู้สึกว่าอาหารไม่อร่อย
- เกิดปัญหาทางประสาทสัมผัสการรับรู้ เช่น หู, ตา, จมูก และมีการเคลื่อนไหวน้อยยิ่งกระตุ้นให้เบื่ออาหาร
- ความสามารถในการย่อยน้อยลง ทำให้เกิดอาหารจุกแน่น เฟ้อ จนไม่อยากอาหาร
- เกิดจากยาที่ได้รับมาทานเป็นประจำ
- โรคประจำตัวที่เป็นอยู่ก่อน เช่น พาร์กินสัน, การทำเคมีบำบัด หรืออัลไซเมอร์
- มีปัญหาจากช่องปาก กินอะไรก็เจ็บหรือทรมาน
- อาการป่วยประเภทหวัด, ไอ, จาม หรือโรคเนื้องอกในระบบทางเดินอาหาร
- ภาวะตึงเครียด ปัญหาทางใจที่ทำให้กินไม่ได้ นอนไม่หลับ
วิธีการแก้ไขผู้สูงอายุไม่ทานอาหาร
1. สร้างความอยากอาหารยิ่งขึ้น ด้วยการคิดเมนูอาหารใหม่ๆ เพื่อดูว่าอะไรที่ถูกปาก
2. กระตุ้นให้ร่างกายมีความเหนื่อย และต้องการพลังงานจากอาหารมากขึ้น โดยให้ผู้สูงอายุหมั่นออกกำลังกายเบาๆ เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ แถมช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อ ดีต่อสุขภาพด้วยค่ะ
3. ชดเชยการรับประทานอาหารที่น้อยลง ด้วยวิธีแยกมื้ออาหารให้ถี่ขึ้น
4. พยายามให้คนในครอบครัวรับประทานอาหารร่วมกันบ่อยๆ แสดงถึงความใส่ใจ เพื่อให้ท่านไม่เหงาและมีกำลังใจดูแลตัวเองมากขึ้น
คำว่า “จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว” ยังคงใช้ได้ดี ลูกหลานควรแสดงความใส่ใจเป็นประจำ คอยถามไถ่ ใส่ใจสารทุกข์สุกดิบบ่อย เพื่อให้ผู้สูงอายุมีพลังใจที่ดี รู้สึกว่าตนเองสำคัญต่อคนรอบข้าง
และที่สำคัญควรหมั่นพาผู้สูงอายุในบ้านไปตรวจสุขภาพกาย และสุขภาพภายในช่องปากเป็นประจำ นำยาที่รับประทานเป็นประจำให้แพทย์ดูถึงสาเหตุ ตลอดจนให้ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
กินอยู่เป็นขอขอบคุณที่มาจาก