รีวิว รพ.สนาม ผู้ป่วยเหลือง – แดง เมื่อมีอาการให้รีบมา..ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

0
866
kinyupen

จากสถานการณ์ที่มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อาการผู้ป่วยวิกฤต พุ่งสูงขึ้น ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ไม่สามารถ Home Isolation ได้ ต้องเป็นห้อง ICU ในขณะที่ความต้องการเตียงของผู้ป่วยสีเหลืองและสีแดงมีอย่างจำกัด

นอกจาก ICU ที่เราเคยเห็นข่าวในโทรทัศน์แล้ว จึงทำให้เกิดโรงพยาบาลสนามสำหรับผู้ป่วยหนักเพิ่มขึ้นมา และโรงพยาบาลสนามเฉพาะกิจ ราชพิพัฒน์ – ธนบุรี บำรุงเมือง ก็เป็นหนึ่งในนั้น

 

วันนี้กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต จะพาทุกคนมาดูโรงพยาบาลสนามกัน ว่าระบบปลอดภัย ดูแลดีขนาดไหน โดยมี นพ.กรธัช อชิรรุจิกร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเฉพาะกิจ ราชพิพัฒน์ – ธนบุรี บำรุงเมือง เป็นผู้พาเยี่ยมชม

 

 

โรงพยาบาลเฉพาะกิจ ราชพิพัฒน์ – ธนบุรี บำรุงเมือง ซึ่งเดิมเป็นโรงพยาบาลผู้สูงอายุ มีเตียงในอาการ 3 ชั้น 128 เตียง และในอาคารไอซียูโมดูลาร์  (Modular ICU) โมดูลาร์ละ 10 เตียง โดยทั้งหมด 4 โมดูลาร์

รวมทั้งสิ้น 168 เตียง

 

อาคารไอซียูโมดูลาร์ สร้างอย่างรวดเร็วได้ใน 7 วัน เป็นอาคารแบบไร้รอยต่อ มีห้องกระจกกั้น เป็นห้องแยกโรคระบบความดันลบ เพื่อรักษาผู้ป่วยหนักจากโควิด-19 ทั้งกลุ่มอาการรุนแรง และอาการไม่หนักแต่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจน อย่างมีประสิทธิภาพ

จะมีการเปลี่ยนเวรแพทย์-พยาบาล เพื่อดูแล และสังเกตอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดจากกล้อง CCTV ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ฟังการถ่ายทอดเรื่องราวใน รพ.สนาม ICU

  • ประสบการณ์แปลกๆ ใหม่ๆ ในโรงพยาบาลสนาม ICU อาทิ การรับดูแลผู้ป่วยมะเร็งกระดูกที่มาพร้อมกับหลานอายุ 9 เดือน
  • การเตรียมตัวของญาติหากต้องดูแลผู้ป่วยหลังหายจาก โควิด เมื่อเชื้อลงปอด ควรดูแล หรือ แนะนำการใช้ชีวิตต่อไปอย่างไร หลังออกจาก รพ.
  • ถ้าต้องรับมือกับการระบาดระลอกถัดไป ควรทำยังไงดี?

ซึ่งนพ.กรธัช อชิรรุจิกร ฝากข้อคิดดีๆ ไว้ว่า
“โควิด สอนว่า อย่าประมาทกับชีวิตเพราะมันไม่มีอะไรแน่นอน เป้าหมายของการมีชีวิตต่อคือการทำให้ตัวเองมีความสุข มีการสร้างคุณค่า และการสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่น”
kinyupen