มาตรการเอาตัวรอด ฉีดวัคซีนยี่ห้ออะไรก็ได้ แล้วไม่ตายเลย ทำยังไง

0
468
kinyupen

วิกฤตโควิด-19 ที่ระบาดหนักกว่าเฟสแรกมาก เกิดการกลายพันธุ์แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว หลายหน่วยงานต้องรณรงค์ให้ทุกคนฉีดวัคซีนยี่ห้ออะไรไปก่อนก็ได้ ให้เร็วที่สุด ในขณะที่มีอีกฝ่ายแย้งว่า ไม่ใช่อะไรก็ได้ แต่ควรให้ mRNA กับพวกแพทย์-พยาบาล

แม้เห็นต่างอย่างสิ้นเชิง แต่ทั้งสองแนวคิดไม่มีใครผิด แต่ในเมื่อฉีดวัคซีนอะไรก็ได้ ก็สามารถกันตายเหมือนกันๆ แล้วทำไม mRNA ยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับบุคลากรด่านหน้า?

 

กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต มีบทสรุปจากบทวิเคราะห์จากศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์อมร ลีลารัศมี นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ๆ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสยาม ที่จะมาให้คำตอบเรื่องนี้กัน

 

เราจะทำให้กลุ่มผู้ฉีดวัคซีนยี่ห้ออะไรก็ได้ครบ 2 เข็มมาแล้ว ไม่ตายเลย ทำได้ยังไง

ในที่นี้ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี แบ่งภูมิคุ้มกันจากวัคซีนเป็น 2 ชนิด คือ

1) ภูมิคุ้มกันชนิด “เตรียมพร้อมทันใช้”

2) ภูมิคุ้มกันชนิด “เตรียมพร้อมกันลืม”

 

โดยการแยกชนิดภูมิคุ้มกันนี้ นับจาก ระดับ IgG ในเลือด (อ่านว่า ไอจีจี) ต่อโปรตีนหนาม (spike protein ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของผิวเชื้อที่ทำให้สารพันธุกรรมของเชื้อเข้าไปในเซลล์มนุษย์และเพิ่มจำนวนได้) กล่าวคือ ยิ่ง IgG สูง ยิ่งดี

 

1.ภูมิคุ้มกันชนิด “เตรียมพร้อมทันใช้”

โดยปกติภูมิคุ้มกันวัดจากระดับ IgG ในเลือดขึ้นสูงมากใน 2-3 เดือนแรกหลังฉีดครบสองเข็ม จะลดอาการของการติดเชื้อได้ดีภายใน 2-4 เดือนแรกหลังฉีดครบแล้ว วัคซีนเชื้อตายอาจจะลดความรุนแรงของโรคติดเชื้อไม่ดีเท่าหรือไม่นานเท่าวัคซีน mRNA (เมื่อฉีดวัคซีนครบนานๆ ไประดับ IgG จะลดลงต่ำ จะกลายเป็น ภูมิคุ้มกันชนิด “เตรียมพร้อมกันลืม”)

 

หากการติดเชื้อเกิดขึ้นในช่วงเวลา IgG สูงดีขนาดนี้ mRNA จึงเหมาะกับบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า เช่น หมอที่ต้องตรวจผู้ติดเชื้อบ่อย ๆ มีโอกาสติดเชื้อจำนวนมากเป็นประจำ จะได้ลดความรุนแรงของโรค เหมือนนักผจญเพลิงที่ใส่ชุดดับเพลิงเข้าไปดับเพลิง ชุดต้องหนา ไม่ติดไฟ กันความร้อน เตรียมพร้อมทันใช้ สู้ไฟร้อนแรงได้

 

ยิ่งมี IgG ระดับสูงมากขึ้นเท่าใดในเลือด ยิ่งทำให้ผู้นั้นแสดงอาการของโรคน้อยลงมากเท่านั้น อัตราส่วนของผู้ป่วย (แสดงอาการ) ต่อผู้ติดเชื้อจะต่ำมากหลังฉีดวัคซีน

 

ทำให้บางครั้งเข้าใจว่าป้องกันการติดเชื้อ ทั้งๆ ที่ติดโควิด-19 อยู่ แต่ไม่มีอาการอะไรเลย ก็เลยเป็นที่มาว่า ทำไมประเทศสหรัฐอเมริกาและอิสราเอล ประชากรเกินครึ่งฉีดวัคซีน mRNA ครบสองเข็มแล้ว (อเมริกาฉีดครบร้อยละ 50 ขึ้นไป. อิสราเอล ฉีดครบร้อยละ 63.7) กลับพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ต่อวันเพิ่มขึ้น จึงไม่ใช่ว่าภูมิคุ้มกันไม่เหลือแล้วแต่อย่างใด

 

2.ภูมิคุ้มกันชนิด “เตรียมพร้อมกันลืม”

เมื่อฉีดวัคซีนชนิดใดก็ตาม ระดับ IgG ในเลือดที่สูงมากจะค่อยๆ ตกลงมาเรื่อยๆ เมื่อถึงเวลานี้ หากมีการติดเชื้อจำนวนปานกลางถึงมาก เชื้อจะบุกรุกเข้า แต่ภูมิคุ้มกันชนิด “เตรียมพร้อมกันลืม” จะมาช่วยเราค่ะ (คือร่างกายจำได้แล้ว ว่าต้องสู้มันนะ)

 

ภูมิคุ้มกันชุดนี้จะช่วยผลิต IgG ออกมาต่อสู้เชื้อไวรัสได้รวดเร็วกว่าผู้ที่ไม่เคยฉีดวัคซีน IgG ในเลือดและที่อื่น ๆ จะกลับสูงขึ้นใหม่ภายใน 7 วันเพื่อทำลายเชื้อจนทำให้ผู้ป่วยรายนั้นมีอาการน้อยและหายเร็วขึ้น ผู้ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนอาจจะใช้เวลา 7-14 วันกว่าจะสร้างภูมิคุ้มกันได้สูงเท่ากัน

และนี่ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 แล้ว จีงมีภูมิต้านทานแทบจะพอๆ กับผู้ที่ฉีดวัคซีนมาแล้ว เพราะร่างกายมันจำได้

 

“ผู้ที่เสียชีวิตในไทยส่วนมากจึงเป็นผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนหรืออยู่ระหว่างการฉีดวัคซีนให้ครบ 2 เข็ม”

 

ไม่ว่าได้วัคซีนชนิดใดก็ตามครบ 2 เข็มมานานถึง 6 เดือนขึ้นไป ทุกท่านจะมีภูมิคุ้มกันชนิด “เตรียมพร้อมทันใช้” ระยะสั้นๆ แต่ทุกท่านยังมีภูมิคุ้มกันชนิด “เตรียมพร้อมกันลืม” ไว้สู้กับโควิด-19 ต่อไปอีกนานครับ” ศาสตราจารย์ เกียรติคุณ นพ.อมร ลีลารัศมี กล่าว

 

สรุป

  • mRNA จำเป็นสำหรับบุคลากรด่านหน้า เพราะวัคซีนเชื้อตายอาจจะลดความรุนแรงของโรคติดเชื้อไม่ดีเท่าหรือไม่นานเท่าวัคซีน mRNA
  • การติดเชื้อที่แสดงอาการรุนแรงและถึงตาย จะมีโอกาสสูงที่พบในผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน
  • ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบแล้วอาจจะมีอาการรุนแรงหรือถึงตายได้ถ้ารับเชื้อจำนวนมาก มีโรคประจำตัว อ้วนมาก สูงวัย สูบบุหรี่หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำจากโรคประจำตัว และไม่ใช้วิถีชีวิตใหม่ป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

 

สุดท้ายนี้ขอให้ทุกคน แม้จะยังฉีดวัคซีนหรือไม่ก็ตาม ควรใช้วิถีชีวิตใหม่ สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม จะเป็นวิธีป้องกันการติดเชื้อที่ดีที่สุด

ช่วยลดความรุนแรงของโรค และอาจจะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ตนเองตามธรรมชาติอย่างสมดุลด้วย ช่วยสังคมในการลดการระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย ป้องกันการเกิดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ที่ดุร้ายมากขึ้นหรือดื้อต่อภูมิคุ้มกันชนิด IgG จนกว่าโรคนี้จะสงบทั่วโลกพร้อมๆ กัน

 

ที่มา วัคซีนทางเลือก เตรียมพร้อมทันใช้ หรือเตรียมพร้อมกันลืม (thaihospital.org)

kinyupen