อย่าบอกว่าต้องรอแก่แล้วกระดูกเสื่อมง่าย อายุน้อยกระดูกก็เสื่อมได้เหมือนกันเนื่องจากร่างกายของคนเราใช้งานไม่เท่ากันทำให้ร่างกายกับอายุห่างกันพอสมควร กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตจึงขอนำเสนอ 6 สัญญาณเตือนอาการที่ทำให้มีโอกาสกระดูกเสื่อมซึ่งมี 6 ข้อดังต่อไปนี้
“กระดูกเสื่อม” กำลังถามหา
ระบบโครงสร้างประกอบด้วยกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อ และเอ็น มักเป็นสิ่งที่เราละเลยมากที่สุด กระดูกคือปราการด่านแรกคอยแบกรับผลกระทบจากท่าทางผิด ๆ ในชีวิตประจำวัน กระดูกเปรียบเสมือนเสาเอกของบ้าน หกบ้านหลังนั้นอยู่ภายใต้แรงกระแทกทุกวัน สักวันเสาเอกย่อมพังลงมา จากนั้นตัวบ้านจะพังครืนไปด้วย
ทุกครั้งที่ผู้ป่วยมาหาหมอโรคกระดูก มักต้องการเพียงทำให้หายจากอาการปวด เพื่อจะได้กลับไปทำผิดใหม่ และเข้าใจผิดว่าการกินยาทำให้หายดีแล้ว จนกระทั่งกลายเป็นผู้ป่วยที่เป็น ๆ หาย ๆ อยู่อย่างนั้น โรคกระดูกไม่มียารักษาต้องป้องกันที่ต้นเหตุเท่านั้น องค์การสหประชาชาติจึงต้องรณรงค์ให้ทศวรรษนี้เป็น “ทศวรรษแห่งการต่อสู้กับโรคกระดูกและข้อเสื่อม”
ปัจจุบันภาวะกระดูกเสื่อมยังไม่มียารักษา เนื่องจากสาเหตุหลักเกิดจากแรงหรือการกระทำซึ่งแก้ไม่ได้ด้วยยาแต่ธรรมชาติของร่างกายก็พยายามซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอนี้ตลอดเวลา เรียกว่า ธรรมชาติบำบัด หรือโฮมีโอพารี (Homeopathy)
หากเราไม่ได้ทำพฤติกรรมที่ผิดมากมายกระดูกจะค่อย ๆ เสื่อมไปเองตามวัย ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงอายุ 70 ปีขึ้นไป แต่ถ้าเรามีพฤติกรรมที่ผิดมาก ๆ จนกลไกการซ่อมแซมตัวเองได้สามารถทำงานได้ทันภาวะกระดูกเสื่อมจะเกิดขึ้นเร็วและเป็น ๆ หาย ๆ ไปตลอดชีวิต
กระดูก เป็นอวัยวะระบบเดียวที่เป็นโรคแล้วไม่อันตรายถึงชีวิต มีแต่ความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน และที่สำคัญกระดูกเป็นอวัยวะระบบเดียวที่เราควบคุมการเปลี่ยนแปลงเพราะอยู่ภายใต้การสั่งการจากสมอง เราจึงเปลี่ยนพฤติกรรมหรือการใช้งานกระดูกเพื่อป้องกันความเสื่อมได้โดยไม่ต้องกลัวว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นจะเป็นอันตรายต่อชีวิต แถมเมื่อทำให้กระดูกแข็งแรงและไม่เสื่อมแล้ว ยังช่วยป้องกันสุขภาพโดยรวม
ด้วยภาวะกระดูกเสื่อม เป็นกลุ่มอาการผิดปกติที่มีสาเหตุมาจากการเสื่อมของระบบโครงสร้าง (กระดูก) ครอบคลุมอวัยวะหลายอย่างทั้งเอ็น กล้ามเนื้อ ข้อ เช่น อาการปวดเข่าที่รักษามาตลอด
ตอนมาตรวจแรก ๆ อาจมีเพียงเอ็นอักเสบบางครั้งก็มีอาการปวดเส้น ต่อมากลายเป็นข้ออักเสบ พอนานเข้าก็กลายเป็นข้อเสื่อมในที่สุด กรณีนี้หากไม่เข้าใจความต่อเนื่องของโรค คนส่วนใหญ่จึงเข้าใจว่าเป็นคนละโรคแต่แท้จริงแล้วทุกอาการล้วนเป็นโรคเดียวกันซึ่งยังไม่หายขาดเพื่อช่วยให้เข้าใจความต่อเนื่อง ผมขอนำอาการที่พบบ่อยมากล่าวในที่นี้
1. ปวดหลัง ปวดคอ
พบได้บ่อยมาก ถ้าเป็น ๆ หาย ๆ บ่อย ๆ นานแรมปีโดยไม่พบโรคอื่นที่ร้ายแรง นั่นคือจุดเริ่มต้นของโรคกระดูกสันหลังเสื่อม รวมถึงอาการปวดเรื้อรังที่จุดอื่นก็เช่นกัน ถ้าปวดเข่าหรือหัวไหล่บ่อย ๆ และตรวจไม่พบโรคร้ายแรงอื่น อาจเป็นอาการเริ่มต้นของภาวะกระดูกเสื่อมได้มีเสียงดังตามข้อ
หลายคนกังวลกับอาการนี้มานานแต่เมื่อยังไม่มีสิ่งผิดปกติอื่น (นอกจากเสียงที่ดัง) จึงไม่สนใจตรวจหาสาเหตุ บางคนไม่สบายใจจึงไปปรึกษาแพทย์ซึ่งมักได้รับคำตอบว่า “ไม่เป็นไร เดี๋ยวหายเอง”
ในตำราเชื่อว่าเกิดจากการสะบัดของเอ็นหรือข้อบริเวณนั้นเป็นเรื่องปกติเมื่อเป็นแล้วย่อมหายเองได้โดยไม่มีอันตราย นั่นเพราะยังไม่เข้าใจกลไกการเกิดเสียงดังกล่าวนั้นเอง
2. ปวดเส้น
เป็นอีกอาการที่พบบ่อยมากในภาวะกระดูกเสื่อม มักปวดร้าวเป็นทางยาวมาตามแขนและขาเป็น ๆ หาย ๆ มีระดับความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกันตามพฤติกรรมที่ทำผิด ซึ่งต่างจากอาการหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทที่ปวดรุนแรงมากกว่าและปวดเกือบตลอดเวลา มักพบอาการชาหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วม
ในรายที่ปวดรุนแรงต้องพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยแยกโรคก่อนเพราะวิธีรักษาไม่เหมือนกัน อาการปวดเส้นที่เกิดจากภาวะกระดูกเสื่อมมักเป็น ๆ หาย ๆ เป็นช่วง เวลาปวดมักมีอาการชาร่วมด้วย แต่พอตรวจจริง ๆ กลับระบุบริเวณที่ชาได้ไม่ชัดเจน และบางคนพบร่วมกับอาการกล้ามเนื้อกระตุกด้วย
3. เป็นตะคริวหรือปวดเกร็งตามกล้ามเนื้อ
เป็นอีกสัญญาณหนึ่งของภาวะกระดูกเสื่อมที่พบได้บ่อย เป็นแล้วสักพักก็หายได้เอง มักเป็นมากบางช่วงเวลาแบบเดียวกับอาการปวดเส้นพบบ่อยตอนกลางคืน บางคนเป็นตอนลุกยืนหรือนั่งนาน ๆ บางครั้งรู้สึกชาตามมือและเท้าร่วมด้วย
การปวดเกร็งตามกล้ามเนื้อนาน ๆ อาจทำให้กล้ามเนื้อนั้นแข็งเกร็งเป็นก้อนตลอดเวลาจนมีลักษณะคล้ายเนื้องอก บางคนมาพบแพทย์เพราะกลัวว่าอาการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็ง
4. อาการอักเสบเรื้อรัง
ในรายที่ปวดมานานและเป็นมากขึ้นริมมีการอักเสบรื้อรังตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย พบอาการบวม แดง ร้อนร่วมด้วย แต่ไม่รุนแรง เป็นแล้วหายเองได้แต่หากอักเสบจะเป็นตำแหน่งเดิมที่เคยปวด เช่น ข้อ เอ็น ฯลฯ ถ้าครั้งใดอาการอักเสบรุนแรง กดแล้วเจ็บ มีอาการปวดบวม แดง และร้อนมาก ควรไปพบแพทย์เพื่อแยกโรคก่อนเพราะอาจเกิดจากฝีหนอง โรคไขข้ออักเสบ โรคเกาต์ ซึ่งต้องให้ยาที่แตกต่างกัน
5.เอ็นอักเสบ
ความเชื่อส่วนมากมักคิดว่าที่เป็นบ่อยเพราะเกิดจากการใช้งานหนักเกินไป ทำให้รักษาให้หายขาดได้ยาก พบได้ตามข้อทั้งที่แขน ขา มือ เท้า และนิ้ว นอกจากนี้ยังมีอาการนิ้วล็อก หัวไหล่ติด ปวดเอ็นข้อศอกด้านนอก และพังผืดกดทับเส้นเอ็นเส้นประสาทก็อยู่ในกลุ่มนี้เช่นกัน
ข้ออักเสบ คือมีอาการข้อบวมอักเสบ เมื่อเจาะเอาน้ำออกมาตรวจผลระบุว่าเป็นข้อเสื่อม ไม่พบโรคไขข้อ โรคเกาต์ หรือการติดเชื้ออื่น บางรายอาจมีแค่อาการข้อบวมแดงโดยยังไม่มีน้ำในข้อ ภาพเอกซเรย์ในระยะนี้มักไม่พบข้อเสื่อมหรือถ้าพบก็อยู่ในระยะเริ่มเสื่อมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
6. ข้อเสื่อม
เมื่อทิ้งไว้จนเข้าขั้นสุดท้ายซึ่งกินเวลานานเกินกว่า 5 – 10 ปี อาการข้อเสื่อมจะแสดงออกมาอย่างชัดเจนจนบอกได้โดยไม่ต้องเอกซเรย์ รวมทั้งมีข้อบวมร่วมกับอาการผิดรูป เช่น ข้อเข่าโก่งเข้าหรือโก่งออก ทำให้เดินไม่เป็นปกติ เมื่อเอกซเรย์ดูจะพบว่าข้อเสื่อมอย่างมากมีหินปูนเกาะยื่นออกมาที่ขอบกระดูก ช่องว่างที่ควรมีระหว่างปลายกระดูกหายไป แสดงว่ากระดูกอ่อนเกือบหมดแล้วส่วนแนวกระดูกก็เอียงผิดรูป เพราะมีการสึกของเนื้อกระดูกใต้กระดูกอ่อนด้านใดด้านหนึ่งด้วย
สรุป อาการที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นผลจากการเสื่อมที่เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ และจะเกิดมากขึ้นตามระยะเวลาที่มีพฤติกรรมหรือทำอิริยาบถผิด ๆ ซึ่งไม่ได้แก้ไขที่ต้นเหตุของโรค แต่ร่างกายก็พยายามซ่อมแซมส่วนที่สึกไปแล้ว จึงทำให้อาการดีขึ้นหรือหายเองได้
ในช่วงแรก อาการที่เป็น ๆ หาย ๆ จึงเป็นลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของภาวะกระดูกเสื่อม และเมื่อหายแล้วกลับมาเป็นใหม่ อาการจะรุนแรงและนานขึ้นกว่าเดิม การเป็นแล้วหายสลับกันนี้เรียกว่า วงจรการเสื่อม
ฉะนั้นทางที่ดีที่สุดคือการป้องกันด้วยการปรับเปลี่ยนอิริยาบถการใช้ชีวิตประจำวันให้เหมาะสม เพื่อลดและชะลอการเสื่อมออกไปให้นานที่สุดครับ
เมื่อทราบสัญญาณต่างๆ แล้วก็อย่าลืมตรวจเช็กสุขภาพ และลดความเสี่ยงจากพฤติกรมดังกล่าวเพื่อความปลอดภัยและความสะดวกในการใช้ชีวิตเพื่อที่เราจะได้ใช้ชีวิตได้เต็มที่อย่างที่ ด้วยความปรารถนาดีจาก กินอยู่เป็น
นายแพทย์ถาวร สุทธิยุทธ์, “6 สัญญาณเตือน กระดูกเสื่อมกำลังถามหา,” Delight Magazine 20 (มกราคม-มีนาคม 2564):/80-81.