PM 2.5 ระวังมันกลับมาแล้ว!..เปิดไอเดียรับมือแบบ win – win ชุมชนก็ได้ สิ่งแวดล้อมก็ดี

0
385
kinyupen

เรื่องราวของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ดูเหมือนซาลงไปในบ้านเรา แต่ในความเป็นจริงแล้วยังไม่ได้หายไปไหนเลย เพราะสาเหตุต้นตอของปัญหา ส่วนหนึ่งก็ยึดโยงอยู่ชีวิตประจำวันของมนุษย์เรานี่แหล่ะที่ส่งผลให้เกิดฝุ่น ควันอยู่มาก เช่น การก่อสร้าง ควันไอเสียจากการใช้รถยนต์ การผลิตของอุตสาหกรรมบางประเภท การปิ้ง ย่าง การเผาขยะ หรือ วัสดุเหลือทิ้งเหลือใช้ต่างๆ แม้กระทั่งควันธูป ก็ล้วนเป็นต้นเหตุได้ทั้งสิ้น ดังนั้นมันจึงพร้อมกลับมาเป็นปัญหาต่อสุขภาพของคนไทยได้ทุกเมื่อ

 

ล่าสุดมีการคาดการณ์ว่าปัญหาของเจ้าฝุ่นจิ๋วนี้กำลังจะกลับมาลุกลามในบ้านเราอีกครั้ง โดยเฉพาะช่วงหน้าแล้งที่กำลังคืบคลานเข้ามา จนทำให้ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2563 ได้ตัดสินใจให้มีมติเห็นชอบให้จัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง PM 2.5 โดยเร่งด่วน

 

จาก Action ของภาครัฐในครั้งนี้ ก็พบว่ามีหลายองค์กรที่พร้อมตอบรับและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะภาคธุรกิจในวันนี้ส่วนใหญ่ล้วนตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมไม่แพ้กัน เนื่องจากทุกคนล้วนอยู่ในวงจรที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันทั้งสิ้น เพราะถ้าสิ่งแวดล้อมดี คุณภาพชีวิตประชากรดี การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจประเทศย่อมดีไปด้วย

 

หนึ่งในไอเดียที่กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต พบว่าน่าสนใจ และเป็นการร่วมกู้โลก กู้สิ่งแวดล้อมแบบ WIN WIN นั่นคือแนวคิด “ลดเผา รายได้เพิ่ม” ของบริษัท บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ACE นั่นเอง

 

 

ทั้งนี้  ACE ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำจากพลังงานสะอาด ที่ครอบคลุมหลากประเภท ไม่ว่าจะเป็น โรงไฟฟ้าประเภทชีวมวล โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ พลังงานแสงอาทิตย์ และก๊าซธรรมชาติ ได้ให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 มาโดยตลอด ดังนั้นในการทำธุรกิจจึงพยายามมองหา solutions ที่จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาให้กับประเทศและทำต่อเนื่องมาตลอดหลายปี โดยยึดบนหลักการ ESG (Environmental, Social, and Governance) ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม บรรษัทภิบาล ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจ

 

ดังนั้นจึงกลั่นมาเป็นแนวคิดดำเนินการภายใต้แนวทาง “ลดเผา รายได้เพิ่ม” ด้วยการเปิดรับซื้อวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตรที่หลากหลายกว่า 50 ชนิด อาทิ ฟางข้าว แกลบ ใบอ้อย ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด ฯลฯ เรียกได้ว่าครอบคลุมเศษวัสดุทางการเกษตรเกือบจะทุกชนิดที่มีในบ้านเรา เพื่อนำมาเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าชีวมวลของบริษัทฯ ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ รวม 12 โครงการ ซึ่งกระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ อาทิ ชลบุรี, ขอนแก่น, สุรินทร์, นครราชสีมา, ร้อยเอ็ด, บุรีรัมย์, ลำปาง, หนองคาย, อุบลราชธานี, กาญจนบุรี โดยจะเห็นได้ว่าแต่ละพื้นที่ล้วนเป็นพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรที่สำคัญของประเทศทั้งสิ้น

 

 

สำหรับในปี 2563 และ 2564 ตั้งเป้าหมายรับซื้อวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรไม่ต่ำกว่า 1.7 ล้านตัน โดยเฉพาะช่วงหน้าแล้งจะรับซื้อมากในปริมาณมากขึ้น 40-50% ของปริมาณรับซื้อปกติ เพราะเป้นที่รู้ดีว่าช่วงนี้มักเกิดฝุ่นละออง PM 2.5 มากกว่าปกติ แม้ปริมาณที่รับซื้อแม้จะเกินความต้องการใช้งานเป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้าในเดือนนั้นก็ตาม

 

“ช่วงหน้าแล้งเราซื้อวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเกินกว่าที่ใช้จริงและนำมาเก็บสต๊อก เพราะต้องการลดการเผาในไร่นา ไร่อ้อย และไร่ข้าวโพด โดยประสานผู้นำชุมชน หน่วยงานรัฐและเกษตรกรโดยตรง เชิญชวนนำมาขายให้ ACE ซึ่งรับซื้อในราคายุติธรรมและรับซื้อเกือบทุกชนิดที่มีในประเทศไทย

โดยนอกจากมีส่วนร่วมลดฝุ่น PM 2.5 และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ในแต่ละปีเราช่วยลดได้มากกว่า 434 ล้านกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าแล้ว ยังสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรทั่วประเทศด้วย

นางสาวจิรฐา ทรงเมตตา ประธานกรรมการบริหาร ACE 

 

ตลอด 9 ปีตั้งแต่ปี 2555 การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลของ ACE ได้รับซื้อเศษวัสดุทางการเกษตรในปริมาณรวมแล้วมากกว่า 5 ล้านตัน มีส่วนช่วยลดการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในที่โล่งเทียบเท่าปริมาณ PM 2.5 ที่เกิดจากการเผาฟางข้าว ตอซังข้าวในนาข้าวเนื้อที่รวมกว่า 10.8 ล้านไร่/ปี

 

ขณะเดียวกันยังเป็นช่องทางให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม ทดแทนการเผาได้ปีละมากกว่า 1,200 ล้านบาท ช่วยให้สร้างมูลค่าเพิ่มกระตุ้นให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในชุมชน มากกว่า 5,000 ล้านบาท

 

 

ACE เผยข้อมูลเพิ่มเติมว่า เหตุที่บริษัทฯ สามารถรับซื้อวัสดุได้ในปริมาณมากๆ และค่อนข้างครอบคลุมชนิด ประเภทที่หลากหลายกว่า 50 ชนิด ซึ่งมากกว่าโรงไฟฟ้าชีวมวลส่วนใหญ่จะรับซื้อ นั้นมาจาก 2 ปัจจัยสำคัญนั่น คือ 1.เพราะมีเทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลที่ทันสมัย 2.บุคลากรที่มีประสบการณ์ มีความรู้จริงเกี่ยวกับการเดินโรงไฟฟ้าชีวมวลมากว่า 30 ปี ทำให้สามารถผสมผสานใช้เชื้อเพลิงได้หลากหลายประเภท

 

จนถึงวันนี้การเดินเครื่องโรงไฟฟ้าชีวมวลของบริษัทฯ ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่องทุกวัน พร้อมจะเปิดรับซื้อวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหา PM 2.5 อย่างยั่งยืน

 

ไอเดียนี้ถือเป็นอีกหนึ่งในการแก้ปัญหาที่อาจเรียกได้ว่า Win – Win ทุกภาคส่วน ธุรกิจก็ขับเคลื่อนได้ – ชุมชนมีรายได้เพิ่ม – สิ่งแวดล้อมก็ดีขึ้นตามไปด้วย

 

นี่คือหนึ่งในการขับเคลื่อนของภาคธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมที่แสดงให้เห็นความตั้งใจจริง แต่ด้วย PM 2.5 ถือเป็นปัญหาใหญ่และมีเหตุ ปัจจัย ที่หลากหลายเกินกว่าจะเป็นภาระของหน่วยงานใดเพียงลำพัง ดังนั้นคงต้องพึ่งพาความร่วมมือจากทุกภาคส่วนไม่ว่ารัฐ เอกชน หรือ ประชาชนอย่างเราๆ ด้วย เพื่อร่วมแก้ไขให้ก้าวผ่านไปด้วยกัน

kinyupen