อยู่อย่างไรให้เป็นสุข ในยุค “ค่าครองชีพพุ่ง แต่…รายได้นิ่ง”

0
1019
kinyupen

“ค่าครองชีพพุ่ง รายได้นิ่ง” อีกหนึ่งปัญหาที่คนไทยกำลังเผชิญอยู่ เนื่องจากเป็นช่วงของข้าวยากหมากแพง ส่งผลทำให้หลายคนถึงกับเครียด เพราะค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต ไม่เพียงพอกับรายรับที่ได้มา วันนี้ กินอยู่เป็น พามารู้จักกับการใช้ชีวิตแบบ 360 องศา เพื่อให้ดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุปันได้อยากมีความสุข

 

เคยมีผลสำรวจของสวนดุสิตโพล สำรวจความคิดเห็นของคนไทยว่า มีความวิตกกังวลเรื่องอะไรมากที่สุด คำตอบก็อย่างที่รู้กัน “กังวลเรื่องปากท้องและเศรษฐกิจ” มากที่สุด มากถึงร้อยละ 78.32 นอกจากนี้ จากผลสำรวจฐานข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการอยู่อาศัยในประเทศต่างๆ ทั่วโลกล่าสุด ระบุว่า ไทยอยู่อันดับ 3 ในอาเซียนที่มีค่าครองชีพสูง เป็นรองประเทศสิงคโปร์และกัมพูชา แต่เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนแล้ว กลับสวนทางกับราคาสินค้า ค่าเดินทาง หรือค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ…หรือนี่อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า คุณภาพชีวิตของคนไทยกำลังลดลง

 

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนไทยส่วนใหญ่อยู่ใน “ภาวะเครียด” ถึงแม้ว่าจะมีนโยบายค่าแรงขั้นต่ำและนักศึกษาจบใหม่เงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท แต่รายรับที่ได้ก็ยังไม่เพียงพอ ยิ่งถ้าอยู่ในเมืองกรุง บอกเลยว่า ถ้าบริหารจัดการเงินไม่ดี ยังไงก็ไม่พอ หากในอนาคตภาครัฐมีการประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีก ปัญหาจะตกไปที่นายจ้างที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนรายจ่ายเพิ่มขึ้นอีก อาจส่งผลให้สัดส่วนการจ้างงานของธุรกิจขนาดกลางและเล็ก และจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม เสี่ยงเกิดภาวะเงินเฟ้อ และทำให้ราคาสินค้าของไทยปรับสูงขึ้นไปอีกก็เป็นไปได้

 

 

คนไทยจะรับมือกับวิกฤตนี้อย่างไร? วันนี้ “กินอยู่เป็น” จะมาช่วยแนะนำวิธีดีๆ ให้ ไปดูกัน…

หางานพาร์ทไทม์ งานเสริม : อย่างเช่นรับจ้างถ่ายรูปรับปริญญา งานแต่งงาน งานบวช ฯลฯ , ขายของออนไลน์ เพื่อหารายได้พิเศษมาสมทบ

ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น : พยายามตัดหรือลดรายจ่ายที่คิดว่าฟุ่มเฟือยออกไป อาทิ เงินสำหรับช็อปปิ้ง , ท่องเที่ยว เป็นต้น

– หิ้วกล่องข้าวไปกินที่ทำงาน : อาหารตามสั่งที่จำหน่ายอยู่ทั่วไปราคาก็สตาร์ทอยู่ที่ 30 บาทขึ้นไป บางร้านก็ 50 บาทขึ้น ฉะนั้น หากใครมีบ้าน มีคนทำกับข้าวให้อยู่แล้ว ลองห่อข้าวและอาหารจากบ้านไปรับประทานที่ทำงาน ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เยอะเลยทีเดียว

– บ้านใกล้ ใช้จักรยานหรือเดิน : บางคนที่ทำงานอยู่ใกล้บ้าน แต่ยังนั่งรถเมล์ รถแท็กซี่ รถจักรยานยนต์รับจ้าง ในการเดินทางไป-กลับ อยู่เสมอ ลองเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ สำรวจดูว่าที่ทำงานกับบ้านพักมีระยะห่างมากน้อยแค่ไหน ถ้าห่างกันไม่มาก แบบว่าเดินทางไปถึงภายใน 15-30 นาที ก็ลองเปลี่ยนมาเป็นขี่จักรยานหรือเดิน นอกจากจะประหยัดแล้ว ยังเป็นการออกกำลังกายไปในตัว

 

 

ต้องบอกเลยว่าไม่ใช่เป็นเพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้นที่ใช้วิธีดังกล่าว ในการช่วยลดค่าใช้จ่าย ต่างประเทศอย่างเช่นประเทศญี่ปุ่นก็นิยมการหิ้วปิ่นโตหรือกล่องข้าวไปรับประทานอาหารมื้อกลางวัน โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อข้าวให้สิ้นเปลือง นอกจากนี้ ยังมีที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ที่มีการส่งเสริมการขี่จักรยาน เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน และถือเป็นการออกกำลังกาย

 

สุดท้ายแล้ว แม้ว่าประเทศไทยจะมีค่าครองชีพที่สูง แต่ในสายตาของนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมองว่าค่าครองชีพของไทยถูกและน่าอยู่มาก จึงไม่แปลกที่เศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของไทยจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ  ฉะนั้น การแก้ปัญหารายได้สวนทางกับค่าครองชีพคงต้องกลับมาพิจารณากันใหม่ว่า หากไม่สามารถลดภาระที่มีมากเกินไปได้ อาจต้องหาหนทางเพิ่มรายได้ หรือพยายามปรับให้ค่าแรงสมดุลกับค่าครองชีพมากที่สุด เพื่อที่เราจะได้สามารถใช้ชีวิตต่อไปอย่างมีความสุข…นี่คือวิถี กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต

kinyupen