“การลดน้ำหนัก” กับทฤษฎีแรงจูงใจ

0
865
kinyupen

คนส่วนใหญ่ย่อมปราถนาที่จะมีหุ่นดี ผอม ไม่อ้วน ซึ่งคนมีอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวมากจึงพยายามหาทุกวิถีทางในการ “ลดน้ำหนัก” ซึ่งมีแรงจูงใจหลากหลายอย่างให้เขาได้ลงมือทำ นั่นคือ การที่มีหุ่นที่ดี สุขภาพที่ดี นั่นเอง

ผอม สวย หล่อ หุ่นดี เฟอร์เฟกซ์ เซ็กซี่ เชฟบ๊ะ สเลนเดอร์ คำเหล่านี้ใครหลายๆ คนก็ปราถนาที่จะมีรูปร่างที่เป๊ะ คือไม่อ้วน และไม่ผอมจนแห้งจนเกินไป หลายคนเกิดมาได้รับการเลี้ยงดูปูเสื่อไม่เหมือนกัน จนทำให้รู้จักกับว่า “ผอม สมส่วน อ้วน” หลายคนคงไม่อยากที่จะอ้วน เพราะความอ้วนนั้นไม่ใช่เรื่องดีต่อสุขภาพร่างกายเราเลย มีแต่ผลเสียล้วนๆ ร่างกายเรามีแต่ไขมันตามส่วนของร่างกาย หากไม่ออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก หรือทำให้ร่างกายอ้วนยิ่งขึ้นไปกว่าเดิม โรคภัยไข้เจ็บจะมาเยือนได้อย่างง่ายดาย

คนเราเมื่อรู้ว่าตัวเองมีความอ้วนหรือรู้ตัวว่าเราน้ำหนักขึ้น เข้าข่ายอ้วนขึ้นกว่าเดิม ปัจจัยหลักสำคัญก็คือการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทไขมัน นั่นล่ะตัวที่ทำให้คุณอ้วนขึ้นได้อย่างง่ายดาย หากเราไม่หาวิธีเบิรน์มันออกไป น้ำหนักคุณก็ขึ้น รูปร่างของคุณก็จะค่อยๆ ขยายพองขึ้น ใหญ่ขึ้น แล้วคนที่เขาผอม หุ่นดีล่ะ เขาทำอย่างไรถึงหุ่นดีได้ตลอด ก็เพราะว่าเขารู้จักเลือกรับประทานอาหาร และ ออกกำลังกายอยู่เสมอนั่นเอง

“คนอ้วนอยากผอม” แนวคิดนี้สามารถปฏิบัติได้จริงหรือไม่? บอกเลยว่า สามารถทำได้แน่นอน ถ้าคุณมี “แรงจูงใจ” ที่จะลงมือทำ อย่างที่เราเห็นในโลกโซเชียลมีเดียหรือในกระทู้พันทิปที่มีการแชร์เรื่องราวการลดน้ำหนักจากอ้วนกลายเป็นผอม ในระยะเวลาสั้น และด้วยวิธีการต่างๆ คุณในฐานะผู้รับสารเมื่ออ่านคอนเทนท์นี้แล้ว ก็มีแรงจูงใจที่จะอยากทำบ้างใช่ไหมล่ะ? นั่นล่ะ คุณกำลังมี “แรงจูงใจ” ที่จะลงมือลดน้ำหนักแล้ว

การเกิด “แรงจูงใจ” กับบุคคลนั้น อับราฮัม มาสโลว์ อธิบายความหมายของคำนี้ว่า เป็นสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมต่างๆ ดังนั้น ก่อนที่บุคคลจะมีพฤติกรรมใดๆ ขึ้นมา ต้องเริ่มด้วยกระบวนการของความคิดแล้วเกิดการตัดสินใจที่จะกระทำหรือมีพฤติกรรมขึ้น ส่วน Petri อธิบายความหมายของคำว่า “แรงจูงใจ” ว่าเป็นแนวคิดที่ใช้เมื่อต้องการอธิบายถึงพลังหรือแรง (Force) ที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่ส่งผลต่อพฤติกรรม ขณะเดียวกันแนวคิดเกี่ยวกับแรงจูงใจสามารถอธิบายความแตกต่างในเรื่องของความรุนแรงของพฤติกรรมได้ด้วย กล่าวคือ ยิ่งมีระดับแรงจูงใจมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้เกิดพฤติกรรมที่รุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

กล่าวโดยสรุป “แรงจูงใจ” (Motivation) หมายถึง ปัจจัยต่างๆ ที่เป็นแรงกระตุ้นหรือผลักดันให้บุคคลมีพฤติกรรมแสดงออกมาอย่างมีทิศทาง เครื่องบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ทั้งนี้ แรงจูงใจประกอบด้วย ความต้องการ (Needs) , แรงขับเคลื่อน (Drive) , การกระตุ้นเร่งเร้า (Urges) และ แรงปรารถนา (Wishes) ซึ่งตัวแปรทั้งหมดก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่นำไปสู่การแสดงออกทางพฤติกรรมนั่นเอง

ฉะนั้น คนส่วนใหญ่ที่หันมาออกกำลังกายด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย เล่นกีฬา ควบคุมอาหาร หรือแม้กระทั่งเข้าคลินิกดูดไขมัน ทุกคนล้วนมีแรงจูงใจสำคัญนั่นคือการ “ลดน้ำหนัก” เป้าหมายของแรงจูงใจนี้ คือ การที่ตนเองจะได้ผอม หุ่นดี ไม่อ้วน และเมื่อเราผอมแล้ว คนรอบข้างเขาก็จะไม่มองเราหรือทักกับเราว่า “ไอ้อ้วน อีอ้วน อ้วนจัง” เพราะได้ยินคำนี้บ่อยๆ ก็ทำให้เราเสียสุขภาพจิตได้เช่นกัน

kinyupen