รู้หรือไม่? ภาวะเลือดข้น ส่งผลส่งต่อร่างกายมากแค่ไหน หากคุณให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพ คุณก็จะรู้ว่า ภาวะเลือดข้น ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องธรรมดาทั่วๆ ไป
สำหรับ “ภาวะเลือดข้น” เกิดจากการที่ภาวะไขกระดูกผลิตเซลล์เม็ดเลือดในจำนวนที่มากผิดปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะ “เลือดข้น” มีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้การไหลเวียนในร่างกายช้ากว่าปกติ ซึ่งอาจเกินขึ้นจากสาเหตุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปัญหาที่เกี่ยวกับไต เช่น เนื้องอกในไตเป็นต้น ไม่เพียงแค่นั้น ภาวะเลือดข้นมักมีสาเหตุมาจากการที่คุณมีน้ำหนักตัวเกิน การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือจากภาวะขาดน้ำในร่างกาย ซึ่งอาการของผู้ป่วยโรคภาวะเลือดข้น จะมีอาการมึนงง ปวดศีรษะ เวียนหัว ผิวหนังเป็นสีแดง มีอาการเหนื่อยง่าย ไม่มีเรี่ยวแรงบริเวณขา แขน มือ และ เท้า นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดข้นแบบ Polycythaemia Vera อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ อาทิ โรคหลอดเลือดในสมอง หัวใจล้มเหลว ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด หลอดเลือดดำอุดตัน ฯลฯ ซึ่งเป็นภาวะที่ไขกระดูกทำงานลดลง ไม่สามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือด มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย (Leukemia) ได้ตามปกติ และภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้อันตรายจนอาจทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้
เมื่อพบว่าตัวเองกำลังตกอยู่ในภาวะ “เลือดข้น” ควรพบแพทย์ทันที เพราะเบื้องต้นแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการ ตรวจเลือด ตรวจไขกระดูก และตรวจหาสารพันธุกรรม JAK2 ซึ่งวิธีการรักษาอันดับแรกๆ แพทย์มักจะเปลี่ยนถ่ายเลือดโดยการนำเอาเลือดของคุณออกจากร่างกาย ซึ่งเป็นวิธีการรักษาขั้นพื้นฐานที่นิยมกันมากที่สุด ช่วยลดปริมาณของเซลล์เม็ดเอกให้น้อยลง นอกจากนี้ แพทย์อาจจะให้ยารับประทาน เพื่อชะลอการทำงานของไขกระดูก
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการภาวะเลือดข้นและอยู่ในระหว่างการรักษา ก็สามารถดูแลรักษาตัวเองได้ด้วยการ หาเวลาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เลือดไหลเวียนในร่างกายได้ดี , หลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่นหรือน้ำร้อน เพื่อป้องกันการระคายเคืองและอาการคันตามผิวหนัง และพยายามหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีอากาศหนาวหรือร้อนจนเกินไป เพราะจะส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือด และควรพยายามดื่มน้ำมากๆ เพื่อป้องกันอาการเลือดข้นที่อาจจะเกิดขึ้นได้
ทางที่ดี ทุกๆ คนควรหาเวลาเข้าไปตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อที่เราจะได้ทราบว่า เราเจ็บป่วยหรือเป็นโรคอะไรหรือไม่ หากตรวจพบจะได้หาวิธีรักษาได้ทันเวลา อย่าลืมว่า “สุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญ อย่าให้ความสำคัญในวันที่สายเกินไป”