“บัตรคนจน” ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทย แต่ไม่ลดความเหลื่อมล้ำ

0
730
kinyupen

นิด้าโพลเผยผลสำรวจประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยที่รัฐบาลเพิ่มนโยบายกดเงินสดในบัตรคนจน มองช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้มาก แต่เชื่อว่าไม่สามารถแก้ปัญหาความเลื่อมล้ำตามเจตนารมย์ของรัฐบาลได้ วันนี้ กินอยู่เป็น มาเล่าเรื่องเกี่ยวกับนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฦให้ฟังกัน

 

จากนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของรัฐบาล ที่มอบสิทธิให้ประชาชนคนไทยผู้มีรายได้น้อย เพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาค่าครองชีพจำพวกสินค้าและบริการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีการเปิดใช้งานกันไปเมื่อปี 2560 ที่ผ่านมานั้น ทำให้สามาถแบ่งเบาภาระของประชาชนที่ได้รับสิทธิ์ดังกล่าวได้ ทั้งนี้ การ

 

ล่าสุด นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐกับการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย?” เกี่ยวกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ทางรัฐบาลจะเพิ่มขึ้นรายละ 100 – 200 บาท และสามารถเบิกเงินสดไปใช้ได้เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทย

 

โดยผลสำรวจเกี่ยวกับความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเพิ่มเงินช่วยเหลือแก่ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยสามารถเบิกเป็นเงินสดเพื่อนำไปชำระค่าบริการอื่นๆ ได้ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 80.84 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะประชาชนผู้มีรายได้น้อยจะได้นำเงินมาใช้จ่ายในส่วนอื่นที่ไม่สามารถใช้บัตรสวัสดิการซื้อได้ และยังมีส่วนช่วยให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ขณะที่ร้อยละ 17.80 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด สามารถแก้ได้เพียงเบื้องต้นเท่านั้น และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

เมื่อถามว่าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะช่วยเศรษฐกิจได้มากน้อยแค่ไหน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 12.53 เห็นว่าการเพิ่มเงินช่วยเหลือแก่ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐดังกล่าวจะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้มาก รองลงมา ร้อยละ 32.08 เห็นว่าจะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ค่อนข้างมาก , ร้อยละ 25.30 เห็นว่าสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ค่อนข้างน้อย , ร้อยละ 14.92 เห็นว่าสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้น้อย และ ร้อยละ13.73 เห็นว่าไม่สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้เลย

 

ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 68.08 เชื่อว่าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะไม่สามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและเศรษฐกิจระหว่างคนรวย/คนจน ตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล เพราะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ ช่วยเหลือได้เพียงเฉพาะหน้า รองลงมา ร้องละ 28.89 เชื่อว่าสามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ เพราะเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่คนจนได้ประโยชน์อย่างแท้จริง และทำให้ปัญหาความยากจนลดลง

 

สำหรับสิ่งที่ประชาชนอยากให้เพิ่มมากที่สุด ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.73 ระบุว่า ค่ารักษาพยาบาล รองลงมา ร้อยละ 38.71 ระบุว่า ด้านช่วยเหลืออาชีพด้านเกษตรกรรม ตามด้วยร้อยละ 36.31 ระบุว่า เงินส่งเสริมผู้สูงอายุ/ผู้เกษียณอายุ , ร้อยละ 25.94 ระบุว่า ช่วยเหลือการสร้างอาชีพ , ร้อยละ 23.78 ระบุว่า ค่าการศึกษา/ค่าเล่าเรียน/ทุนการศึกษาบุตร , ร้อยละ 20.35 ระบุว่า ค่าสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา ระบบขนส่งมวลชน , ร้อยละ 10.77 ระบุว่า สวัสดิการสำหรับผู้พิการ , ร้อยละ 9.02 ระบุว่า สวัสดิการสำหรับลูกจ้างรายวัน/ผู้ใช้แรงงาน , ร้อยละ 4.71 ระบุว่า จ่ายคืนหนี้ธนาคารของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เป็นต้น และ ร้อยละ 0.64 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ จัดสรรที่ทำกินและที่อยู่อาศัยให้กับผู้ยากจน

 

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี “เดินหน้า” หรือ “ถอยหลัง”

การใช้ความรุนแรงกับเด็กและสตรีในประเทศไทย สังคมไทยทุกวันนี้ “เป็นอยู่” กันแบบไหน?

kinyupen