เปิดโผ 5 ประเทศที่ดีที่สุดสำหรับผู้หญิง ปี 2020 เศรษฐกิจ การเมือง สวัสดิการ หญิง-ชาย เท่าเทียม

0
997
kinyupen

US News & World Report  สำนักข่าวอเมริกันชื่อดังด้านการสำรวจ ความเห็น และผลการจัดอันดับประเด็นด้านสังคมของโลก เปิดเผยข้อมูลการจัดอันดับประเทศที่ดีที่สุดสำหรับผู้หญิงประจำปี 2020   โดยทำการสำรวจความเห็นจากผู้หญิงจำนวนกว่า  20,000 กว่าคน จาก 73 ประเทศ จากการให้คะแนนจาก 5 ประเด็นได้แก่ การดูแลสิทธิมนุษยชน ,ความเท่าเทียมกันทางเพศ,ความเท่าเทียมกันทางรายได้,ความก้าวหน้า และความปลอดภัย

 

 

ผลการสำรวจในปีนี้พบว่า ประเทศที่ได้คะแนนสูงสุดจากการสำรวจว่าเป็นประเทศที่ดีที่สุดสำหรับการใช้ชีวิตของผู้หญิง คือประเทศเดนมาร์ก ที่ขยับลำดับขึ้นจากอันดับสองในปีที่แล้ว ตามมาด้วยประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ยุโรป และอเมริกา ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิกยังคงติดอันดับในการสำรวจครั้งนี้ ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 49 ตกลงจาก 42 เมื่อปีที่แล้ว ประเทศที่ทำการสำรวจทั้งหมด 73 ประเทศ

 

สำหรับ Top 5 ประเทศที่ดีที่สุดสำหรับผู้หญิงประจำปี 2020 ได้แก่

1.ประเทศ เดนมาร์ก

เดนมาร์กขยับอันดับขึ้นครองอันดับหนึ่งในปีนี้ จากการที่รัฐบาลส่งเสริมนโยบายความเสมอภาคทางเพศอย่างต่อเนื่องและจริงจัง  โดยเฉพาะนำเสนอระบบการดูแลสวัสดิการสำหรับผู้หญิงในทุกวัย  สำหรับผู้หญิงในวัยทำงาน  รัฐบาลมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อให้สถานประกอบการต่างๆ จัดมีนโยบายส่งเสริมผู้หญิง เช่น การลาหยุดเพื่อเลี้ยงดูบุตร  ซึ่งเดนมาร์กถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีความยืดหยุ่นด้านนโยบายของสตรีมากที่สุดในสหภาพยุโรป อ้างอิงจากรายงานเรื่อง The Global Gender Gap report 1018 ในเวที เวิร์ลอิโคโนมิก ฟอรั่ม ที่เดนมาร์กติดอันดับที่ดีที่สุดในลำดับที่  13 จาก 149 ด้วย

 

2.ประเทศสวีเดน

สวีเดน เสียแชมป์ประเทศที่ดีที่สุดสำหรับผู้หญิงให้กับเดนมาร์ก โดยปีนี้ตกมาอยู่ที่ลำดับสอง อย่างไรก็ตามจากการสำรวจพบว่า ผู้หญิงชาวสวีเดนมีทัศนคติที่ก้าวหน้าที่สุดต่อความเสมอภาคทางเพศ สวีเดนยังมีแนวโน้มที่ดีในรายงาน Global Gap Report ของโลกในปี 2018 ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 3 จาก 149 ประเทศผู้หญิงสวีเดนมีทัศนคติที่ก้าวหน้ามากในเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ

 

3.ประเทศเนเธอร์แลนด์

เนเธอร์แลนด์เป็น ประเทศมีที่มีความคืบหน้าในการลดช่องว่างระหว่างเพศ สุขภาพการ จ้างงาน การศึกษาเศรษฐกิจและมาตรการทางการเมือง ที่เปิดโอกาสให้กับผู้หญิงอย่างกว้างขวาง รัฐบาลมอบสิทธิประโยชน์ให้กับคุณแม่มือใหม่รวมถึงให้การเข้าสนับสนุนค่ารักษาพยาบาลของกลุ่มสตรีที่เป็นแม่ด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมดหรือบางส่วนจากสวัสดิการการประกันครอบครัวของประเทศ  ดังนั้นผู้หญิงในประเทศเนเธอร์แลนด์จึงสามารถสร้างชีวิตที่สมดุลได้จากการมีเวลาที่ยืดหยุ่น เพราะภาครัฐเข้าใจแรงงานเพศหญิงและผู้เป็นแม่มากขึ้นว่าต้องมีภาระทั้ง 2 ทาง

การยืดหยุ่นเวลาจึงทำให้สามารถทำงานประจำได้ และแบ่งเวลาไปรับผิดชอบภาระทางครอบครัวได้เช่นกัน อัตราการว่างงานของพนักงานหญิงจึงลดน้อยลง

 

4.ประเทศนอร์เวย์

นอร์เวย์ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสมอภาคทางเพศมากที่สุดในโลก ประเทศอยู่ในอันดับที่ 2 จาก 149 ประเทศในรายงาน Gap World Gap ของ World Economic Forum 2018  นอร์เวย์มีนโยบายการลาคลอดบุตรที่กว้างขวางช่วยให้ผู้หญิงได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษ คุณแม่สามารถใช้เวลา 35 สัปดาห์โดยที่นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างเต็มหรือ หรือหากหยุด 45 สัปดาห์ที่จะได้รับค่าจ้างสูงถึง  80%

 

5. ประเทศแคนาดา

แคนาดาจัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของประเทศที่ดีที่สุด สำหรับผู้หญิงในปี 2020  จากนโยบายของความเท่าเทียมระหว่างเพศทั้งเรื่องของสุขภาพ การศึกษา เศรษฐกิจและการเมือง  โดย แคนาดาอยู่ในอันดับที่ 16 จาก 149 ประเทศในรายงาน Global Gap Report ทั่วโลกของ World Economic Forum 2018  จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่จะพบว่ามีคนจำนวนมากจากทั่วโลกมีความต้องการที่จะอพยพเข้าไปเป็นประชากรของประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดประเทศหนึ่งนี้

 

สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชีย  ผลการสำรวจระบุว่า ประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่ได้คะแนนสูงสุด โดยถูกจัดอยู่ในลำดับที่ 18  จากนโยบายสำคัญของประเทศญี่ปุ่นที่รัฐบาลยุคใหม่พยายามแก้ไข จากอดีตที่เคยเป็นประเทศที่ผู้หญิงไม่สามารถมีความเท่าเทียมกับผู้ชาย  โดยรัฐบาลญีปุ่นได้พยายามแก้ไขปัญหานี้ จากสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนไป

ปัจจุบันรัฐบาลญีปุ่นหันมาให้ความสำคัญกับเพศหญิง มีการสร้างมาตรการต่างๆ เพื่อลดอุปสรรคด้านความก้าวหน้าของผู้หญิงทั้งเรื่องชีวิตครอบครัวในการเลี้ยงดูบุตรและการจ้างงาน รวมถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมของแรงงานหญิงมากขึ้น เพื่อให้สามารถทำงานขณะเลี้ยงดูบุตรได้  ประเทศญี่ปุ่นจึงเพิ่มสวัสดิการการลาเลี้ยงดูบุตร จาก 50% เป็น 67% ของค่าจ้าง และเพิ่มจำนวนตัวเลือกการเลี้ยงดูเด็กที่มีราคาไม่แพงมากขึ้น

นอกจากนี้ รัฐบาลยังจัดตั้งนโยบายเพื่อให้นายจ้างสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเลี้ยงดูบุตรให้พนักงาน ส่งเสริมสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานให้พนักงานอีกด้วย

 

ในส่วนของภูมิภาคอาเซียน  ประเทศที่ติดอยู่ในอันดับสูงสุด ยังคงเป็นประเทศสิงคโปร์ ที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ร่ำรวย และมีสวัสดิการที่ดี  จากการเป็นเป็นที่ตั้งของท่าเรือที่พลุกพล่าน นับเป็นประเทศ และมีอัตราการว่างงานที่ต่ำมาก และที่ร่ำรวยมากที่สุดในโลกประเทศหนึ่ง  และมีความปลอดภัยสูง รวมทั้งให้ความสำคัญทางด้านสุขภาพอนามัย และความเท่าเทียมทางเพศ  โดยสิงคโปร์ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 20 เลื่อนขึ้นจากอันดับที่ 21 ในปีที่แล้ว

 

ในขณะที่ประเทศมาเลเซียได้รับการจัดอันดับอยู่ในลำดับที่ 39 ตามด้วยประเทศไทย ที่ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 49 ตกลงจากลำดับที่ 42 ในปีที่แล้ว  และฟิลิปินส์อันดับที่ 42  จากการจัดอันดับทั้งหมด 73  ประเทศ

 

ขอขอบคุณ : https://www.usnews.com/news/best-countries/best-women?slide=3

kinyupen