หมอยงประกาศโควิดจบแล้ว แค่โรคประจำถิ่น ฉีดวัคซีนเฉพาะกลุ่มเสี่ยงปีละครั้งก็พอ

0
594
kinyupen

วันนี้ กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต มีรายงานอัปเดทเกี่ยวกับสถานการณ์โควิดในรอบปัจจุบันมาฝากกันอีกแล้วค่ะ เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2566 นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า โรคโควิด-19 ไม่ได้หายไปไหน และน่าจะสิ้นสุดด้วยการเปลี่ยนเป็นโรคประจำฤดูกาลต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์ เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาค วิชากุมารเวชศาสตร ์ คณะแพทยศาสตร ์ จุฬาฯ

ในปีที่ 4 นี้ การนับยอดผู้ป่วยติดเชื้อ ไม่เกิดประโยชน์ เพราะตัวเลขที่รายงานต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ขณะนี้ทั่วโลกน่าจะมีการติดเชื้อมากกว่าร้อยละ 70 หรือประมาณ 5 พันล้านคน ตัวเลขที่รายงานการติดเชื้อทั่วโลกมีประมาณเกือบ 700 ล้านคน ต่ำกว่าความเป็นจริงประมาณ 10 เท่า ประเทศไทยก็ไม่ได้รายงานตัวเลขติดเชื้อแล้ว รายงานเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลและผู้เสียชีวิตเท่านั้น

องค์การอนามัยโลกคงจะเลิกนับตัวเลขในเร็ว ๆ นี้ หลังจากการระบาดในประเทศจีนลดลง (เพราะส่วนใหญ่ติดเชื้อแล้ว)

ความรุนแรงของโรคลดลงมาโดยตลอด ผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 80 เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว จะไม่มีการย้อนไปปิดบ้านปิดเมืองอีกแล้ว

วัคซีน โดยเฉพาะ mRNA ตลาดควรเป็นของผู้ซื้อ วัคซีนมีอายุสั้น และขวดหนึ่ง ยังมีจำนวน 7-10 โดส จึงยากต่อการใช้  ให้มีการสูญเสียทิ้งให้น้อยที่สุด ประกอบกับมีราคาแพง มีอาการแทรกซ้อนที่พบได้ มากกว่าวัคซีนที่ใช้ในอดีต และในอนาคตเมื่อเทียบกับความรุนแรงของโรค จึงเป็นการยากที่ประเทศกำลังพัฒนาเข้าถึง

ความจำเป็นที่จะต้องฉีดทุก 4-6 เดือนไม่มีอีกแล้ว เมื่อเข้าสู่โรคประจำฤดูกาล การให้วัคซีนจะเหลือปีละ 1 ครั้ง การนัดคนมาฉีดพร้อมกันเพื่อลดการสูญเสียของวัคซีนจะทำได้ยากขึ้น โดยเฉพาะวัคซีนมีอายุสั้น การเก็บรักษายุ่งยาก ใช้อุณหภูมิติดลบ ยิ่งทำให้ราคาแพงขึ้น การให้ได้วัคซีนตรงกับสายพันธุ์ยิ่งยากเข้าไปอีก เพราะการพัฒนาต้องมีต้นทุนสูงและเมื่อพัฒนาขึ้นมาแล้วไวรัสก็เปลี่ยนสายพันธุ์ไปอีก

ในอนาคตอันใกล้นี้น่าจะได้เห็นตัวเลขของประเทศที่ใช้วัคซีนต่างชนิดกัน ประสิทธิภาพในการลดความรุนแรง หรือเสียชีวิตเป็นอย่างไร เมื่อทุกประเทศส่วนใหญ่ติดเชื้อไปหมดแล้ว จะเป็นการย้อนดูบทเรียนในอดีต

ประเทศไทยมีการติดเชื้อไปแล้วมากกว่าร้อยละ 70 ถึงวันนี้ น่าจะถึงร้อยละ 80 ทำให้มีภูมิต้านทานแบบธรรมชาติร่วมกับภูมิต้านทานจากวัคซีน ในประชากรเกือบทั้งหมด และถ้าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนปีละ 1 ครั้ง โดยให้ในกลุ่มเสี่ยง ปริมาณวัคซีนที่ใช้ต่อปี ก็จะเหมือนไข้หวัดใหญ่ ที่มีฤดูกาลระบาดในฤดูฝนหรือโรงเรียนเปิดเทอมแรก ในเดือนมิถุนายนนั่นเอง

การให้วัคซีนประจำปี ก็ควรจะเป็น เดือนเมษายน – พฤษภาคม เพื่อป้องกันการระบาดในฤดูฝน ที่จะเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here