ทำไมตอน “ผ่าตัดสมอง” ไม่ต้องวางยาสลบ

0
733
kinyupen

การผ่าตัดสมองถือเป็นช่วงเวลาสำคัญซึ่งชี้ชะตาชีวิตเลยก็ว่าได้ แต่รู้หรือไม่ ตอน “ผ่าตัดสมอง” เขาไม่วางยาสลบกัน

“ไม่เจ็บเหรอ นี่สมองเลยนะ?”

“หวาดเสียวเกินไปแล้ว!”

สิ่งนี้มีเหตุผล และเหตุผลนี้สำคัญมากๆ เลยด้วย กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตจะมาเฉลยข้อสงสัยของทุกคนเองค่ะ

การผ่าตัดส่วนใหญ่มักต้องวางยาสลบเสมอ แต่ไม่ใช่กับการผ่าตัดสมอง เพราะเหตุผล 2 ประการ

– ประการแรก คือ สมองของเราไร้ประสาทรับรู้ความรู้สึกแตกต่างจากอวัยวะส่วนอื่นที่มีเซลล์ประสาทที่รับรู้ความเจ็บปวด (ว่าง่ายๆ คือสมองไม่มีเซ็นเซอร์รับความเจ็บปวดเหมือนผิวหนัง)

– ประการที่สอง คือ การผ่าตัดสมองระหว่างตื่นตัวเป็นวิธีที่ช่วยให้แพทย์ สามารถตรวจสอบได้ว่าการผ่าตัดสมบูรณ์ ไม่กระทบประสาทสั่งการส่วนอื่น

คำถามที่พบบ่อย

1. ถ้าไม่วางยาสลบ แล้วทำไมภาพที่เราเห็นตามสื่อผู้ผ่าตัดสมองถึงกำลังนอนหลับ?

ผู้ป่วยจะถูกทำให้หมดสติก่อนในช่วงระหว่างก่อนและหลังผ่าตัด ซึ่งเป็นช่วงของการเปิดและปิดกะโหลกเท่านั้น (ช่วงที่แพทย์จะผ่าเนื้องอก ผู้ป่วยจะถูกปลุกขึ้นมาเพื่อให้รู้ว่าส่วนไหนแตะต้องได้/ไม่ได้)

กับอีกกรณีคือ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถผ่าตัดแบบตื่นตัวได้ เช่น ผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือ ผู้ป่วยที่ไม่สามารถนอนราบ และผู้ป่วยที่มีอาการกลัวที่แคบ ทำให้ศัลยแพทย์ต้องให้ยาสลบตลอดการผ่าตัด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด

2. การผ่าตัดสมอง ผู้ป่วยจำเป็นต้องมีสติไหม?

ไม่จำเป็น การผ่าตัดสมองแบบให้ผู้ป่วยตื่นระหว่างผ่าตัดนั้น จะทำเฉพาะในกรณีที่แพทย์ต้องผ่าตัดใกล้กับจุดเสี่ยงมาก อย่างสมองจุดที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ควบคุมการพูด หรือการมองเห็น

ดังนั้นเพื่อที่เขาจะได้รู้ว่าสามารถตัดก้อนเนื้อออกมาได้แค่ไหน ต้องหลีกเลี่ยงส่วนไหนบ้าง หากปล่อยให้หลับไม่รู้สึกตัวไป เกิดไปผ่าตัดกระทบจุดสำคัญขึ้นมา อาจหมายถึงความพิการที่จะเกิดขึ้นตลอดชีวิตผู้ป่วยได้เลยทีเดียว

ตัวอย่างเคสผ่าตัดสมองแปลกๆ

แพทย์ให้นักดนตรีมืออาชีพสีไวโอลินขณะผ่าตัดสมอง เพื่อให้ศัลยแพทย์สามารถลงมีดผ่าตัดได้ โดยไม่กระทบกระเทือนสมองกลีบหน้าซีกขวา ซึ่งเป็นส่วนควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อมือซ้ายที่เธอใช้บรรเลงไวโอลิน

หนุ่มบราซิลเล่นกีตาร์ระหว่างกำลังผ่าตัดเนื้องอกในสมอง!? เพราะเมื่อทีมแพทย์ทราบว่าผู้ป่วยรายนี้มีอาชีพเป็นมือกีตาร์ประสบการณ์มากกว่า 20 ปี จึงขอร้องให้เขาหาวิธีอะไรก็ได้ให้รู้ว่ายังมีสติและตื่นอยู่ในช่วงเวลาที่ผ่าตัดเนื่องจากสมองส่วนดังกล่าวมีผลต่อประสาทสัมผัสและการพูด

“ผมเล่นทั้งหมด 6 เพลงในช่วงผ่าตัด มือขวาผมไม่มีแรงเพราะทีมแพทย์กำลังผ่าตัดด้านนั้นอยู่ ไม่นานผมก็หยุดและหลับไป” เขาเล่า

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here