#สมรสเท่าเทียม เท่ากับ คู่ชีวิตจริงหรอ?

0
390
kinyupen

สมรสเท่าเทียม เท่าเทียมจริงหรือเปล่า? หลังจากที่รัฐฯ มีการหารือกันเมื่อหลายปีที่ผ่านมาจนกระทั่งได้ประกาศร่าง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ซึ่งถูกจัดทำมาเพื่อกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) แต่อย่างไรก็ตามจากหลายความคิดเห็นจากหลายคน บ้างก็ว่าเท่าเทียมกับการสมรสของชายจริงหญิงแท้เหลือเปล่า? จนเกิดเป็นกระแสเปรียบเทียบกับการสมรสเท่าเทียม วันนี้กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต จะพาคุณมาไขข้อสงสัยว่า สมรสเท่าเทียมนั้นเท่ากับบ พ.ร.บ.คู่ชีวิตจริงมั้ย?

พ.ร.บ. คู่ชีวิต และสมรสเท่าเทียม คืออะไร?

พ.ร.บ.คู่ชีวิต หรือพระราชบัญญัติคู่ชีวิต เป็นกฎหมายที่ออกมาเพื่อรับรองสิทธิบุคคลเพศเดียวกันให้สามารถจดทะเบียนคู่ชีวิตได้ ทั้งยังให้สิทธิคู่รักที่จดทะเบียนคู่ชีวิตทำนองเดียวกับคู่สามีภรรยา (ชาย-หญิง) ที่จดทะเบียนสมรสกัน

ส่วนสมรสเท่าเทียม เป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลเพศเดียวกันสามารถสมรสกันได้ตามกฎหมาย พร้อมได้รับสิทธิในการสมรสไม่ต่างจากคู่สมรสชายหญิงยกตัวอย่างเช่น สิทธิในการใช้นามสกุล สิทธิในการเซ็นยินยอมในการรักษาพยาบาล สิทธิในการรับรู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรักษา สิทธิในการกู้เงินซื้อบ้านและทำประกันชีวิตร่วมกันในฐานะคู่สมรส หรือสิทธิทางมรดก เป็นต้น

พ.ร.บ.คู่ชีวิตปี 65 กับ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ต่างกันตรงไหน? เท่ากันจริงมั้ย?

สำหรับพ.ร.บ.คู่ชีวิต ถูกผลักดันโดยกรมคุ้มครองสิทธิ์ กระทรวงยุติธรรม บัญญัติกฎหมายใหม่ขึ้นมา มีคำเรียกคู่รัก LGBTQ ว่า คู่ชีวิต คือ คนเพศเดียวกัน สามารถจดทะเบียนร่วมกันได้ก็จริง แต่อย่างไรก็ตาม คู่ชีวิต ไม่เท่ากับ คู่สมรส เนื่องจากสิทธิบางสิทธิยังได้ไม่ครบเหมือนกับคู่สมรส ยกตัวอย่าง

– คู่สมรส รับสวัสดิการรัฐหรือเอกชนของอีกฝ่ายได้

– คู่สมรส ใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ เมื่อจดทะเบียน แต่ คู่ชีวิตทำไม่ได้

โดย นาย เกิดโชค เกษมวงศ์จิตร รองอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิ์ ให้ความเห็นว่า แท้จริงสิทธิเท่ากันทุกอย่าง แต่เหลือแค่สิทธิ์ในส่วนที่เกี่ยวกับ สวัสดิการรัฐ เท่านั้น เช่น สวัสดิการรักษาพยาบาลของ LGBTQ ที่เป็นข้าราชการ เนื่องจากไม่มีข้อมูลว่าในไทยมี LGBTQ ที่เป็นข้าราชการมากแค่ไหน ต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ ตอบกระทรวงการคลังไม่ได้ ซึ่งคลังขอเวลา 3 ปีหลังกฏหมายตัวนี้ออกจะเร่งจัดการส่วนนี้ให้มีความเท่าเทียมกันทุกประการ

แล้วแบบนี้หรอถึงเรียกว่าเท่าเทียม? เพียงแค่ข้อจำกัดในเรื่องเพศเท่านั้นหรอที่ทำให้คนกลุ่มที่มีความหลากหลายเหล่านี้ไม่มีสิทธิที่จะเข้าถึงสวัสดิการหลักๆ หลายๆ อย่างของรัฐ………

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เนื่องด้วยเดือนนี้เป็นเดือน Pride Month หรือ “เดือนแห่งความภาคภูมิใจ” ของ กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยแต่ละประเทศมีการจัดกิจกรรมเพื่อสดุดีและระลึกถึงเหตุการณ์จลาจลสโตนวอลล์ (Stonewall Riots) ซึ่งยุคนั้นมีการจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ใช้ความรุนแรงอยู่เสมอในผับของกลุ่มคนรักร่วมเพศ เช่นเดียวกับไทยซึ่งในปีนี้ก็ได้มีการเดินขบวนพาเรดกันอย่างยิ่งใหญ่ และขณะเดียวกันก็ได้มีการออกมาประกาศจุดยืนเรื่องของ การสมรสเท่าเทียม

โดยมีใจความว่า . . . พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม

ริเริ่มร่างโดยพรรคก้าวไกล เป็นการแก้ไขกฎหมายเดิมที่มีอยู่แล้วให้ครอบคลุมคนทุกเพศ อย่างแท้จริง ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม.1448 เช่น แก้คำศัพท์บัญญัติ เช่นว่า การสมรสจาก “ชาย” หรือ “หญิง” เป็น “บุคคล” กับ บุคคล หรือคำว่า “สามีและภรรยา” เป็น “คู่สมรส” นอกจากนี้ภายใน พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียมยังว่าด้วยเรื่องสิทธิต่างๆ ที่จะสามารถให้กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเช่น สถานะตามกฎหมาย การหมั้น การจัดทรัพย์สินร่วม การรับบุตรบุญธรรม มรดก การอุ้มบุญ ฟ้องหย่า การจัดฌาปนกิจของคู่จดทะเบียน เป็นต้น

อย่างไรก็ตามตอนนี้ยังเป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่ในสังคม แม้สาระสำคัญของร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ สรุปได้ว่ามีจุดมุ่งหมายเดียวกัน นั่นคือการให้ประชาชนคนไทยทุกคน ทุกเพศ สามารถจดทะเบียนสมรสกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่หากพิจารณาดีๆ แล้วจะเห็นได้ว่าสิทธิและหน้าที่ของคู่สมรสตามร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต กับการสมรสเท่าเทียมนั้นไม่เท่ากัน

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here