พร้อมยัง!! เลิกจดจ่อโควิด สธ.เล็งลดเหลือระดับ 2 เลิกตรวจ ATK ทุกสัปดาห์

0
425
kinyupen

วันที่ 30 พฤษภาคม 2565 นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์ โควิด-19 ว่า สถานการณ์ โควิด ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อสะสม 531 ล้านคน เสียชีวิต 6.31 ล้านคน หลายประเทศกลับมาระบาดใหม่หลักหมื่นราย ทั้งฝรั่งเศส เยอรมนี เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ส่วนเกาหลีเหนือเริ่มระบาดวงกว้างมากขึ้น ทั้งนี้บางประเทศเริ่มปรับระบบรายงานจากรายวันมาเป็นรายสัปดาห์หรือเฉพาะเคสเสียชีวิต

สำหรับประเทศไทย ถือว่าผู้ติดเชื้อ ผู้เสียชีวิตลดลงต่อเนื่อง  โดยผู้เสียชีวิตยังเป็นกลุ่มเสี่ยง 608 โดยเฉพาะอายุ 70 ปีขึ้นไป ครึ่งหนึ่งไม่ได้ฉีดวัคซีน จึงรณรงค์กลุ่มเสี่ยงเสียชีวิตสูงให้ฉีดวัคซีนเข็มปกติและเข็มกระตุ้นเพื่อลดผู้เสียชีวิต

“ขณะนี้ยังคงสถานะการเตือนภัย โควิด ระดับ 3 โดยเน้นกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ไม่เข้าสถานที่เสี่ยง เช่น ผับบาร์ คาราโอเกะ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 และผู้ที่รับวัคซีนไม่ครบ 3 เข็ม อย่างไรก็ตาม สัปดาห์นี้จะพิจารณาการปรับระดับเตือนภัย โควิด เป็นระดับ 2 ส่วนจะมีจังหวัดไหนต้องรอติดตามการพิจารณาอีกครั้ง และขอความร่วมมือสวมหน้ากากและเว้นห่างเช่นเดิม”

ภาพรวมประเทศไทยตอนนี้สถานการณ์ลดลงคล้ายหลายประเทศในเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีการปรับระบบรายงานเนื่องจากการติดเชื้อลดลง เข้าสู่การผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ โดยเน้นติดตามผู้ป่วยที่มีอาการหนัก ใส่ท่อช่วยหายใจเป็นหลัก ดังนั้น ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ประเทศไทยจะมีการปรับระบบรายงานให้เข้ากับสถานการณ์ที่จะผ่อนคลายมากขึ้น ที่จะมีการเปิดผับบาร์ใน 31 จังหวัด หรือผ่อนคลายเรื่องอื่น ๆ เพื่อจะได้วิเคราะห์ข้อมูลได้ชัดเจนมากขึ้น โดยปรับจากการรายงานผู้ติดเชื้อเป็นผู้ป่วย โดยจะรายงานจำนวนผู้ป่วยรายวันแบบเฉลี่ย 7 วัน เน้นผู้ป่วยที่มีอาการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยอาการหนัก ใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิตยังรายงานทุกวันต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม จะยังต้องเข้มมาตรการป้องกันส่วนบุคคล โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงคือ ผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ดูแลทั้ง 2 กลุ่มนี้ ส่วนสถานที่เสี่ยง อย่างผับบาร์ คาราโอเกะ พนักงานจะต้องตรวจ ATK ทุกสัปดาห์ เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่กระจายโรค

ส่วนประชาชนทั่วไปเน้นการตรวจเฉพาะกลุ่มที่อาการป่วยเท่านั้น ดังนั้น ต่อไปบรรดาบริษัทสถานประกอบการจึงไม่ต้องตรวจประจำสัปดาห์แล้ว เน้นเมื่อมีอาการป่วย เช่น ไข้ ไอ น้ำมูกไหล เจ็บคอ หอบเหนื่อย เป็นต้น รวมถึงยังต้องเข้มมาตรการฉีดวัคซีนโดยเฉพาะผู้สูงวัยกลุ่มเสี่ยงสูง หากติดเชื้ออาจอาการหนักได้ต้องรับเข็มกระตุ้น ส่วนผู้ที่ยังไม่เคยฉีดเลยก็ควรพิจารณารับวัคซีนได้แล้ว

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here