รู้จัก ‘โรคกลัวสังคม’ ที่ไม่ใช่แค่ขี้อาย แต่ถึงขั้น Phobia

0
1813
kinyupen

ระหว่างประหม่า ขี้อายเวลาต้องพูดต่อหน้าคนเยอะๆ กับโรคกลัวสังคมเหมือนมีเส้นบางๆ กั้นอยู่ กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตจะพาคุณทำความรู้จักกับ “โรคกลัวสังคม” (Social Anxiety Disorder หรือ Social Phobia)

 

 

ความต่างระหว่าง ขี้อาย กับ กลัวสังคม

ผู้ป่วยหลายคนป่วยเป็นโรคกลัวสังคมโดยไม่รู้ตัว เพราะดูเป็นบุคคลที่ดูปกติสุขดี ไม่มีทีท่าว่าจะป่วย เพราะอาการของโรคจะก้ำกึ่งอยู่ระหว่างความขี้อาย ประหม่า กลัวขายหน้า ตามสถานการณ์ตื่นเต้นทั่วไปใครๆ ก็เป็น

 

ความตื่นเต้นในการเจอคนเยอะๆ พูดต่อหน้าคนจำนวนมากเป็นเรื่องธรรมดา ที่ทุกคนสามารถเจอได้ ไม่เฉพาะกับผู้ป่วยด้วยโรคกลัวสังคมเท่านั้น

 

 

ปัญหาคือความตื่นเต้นธรรมดามักเกิดเป็นครั้งคราว แต่สำหรับผู้ป่วยโรคกลัวสังคม จะมีอาการทุกครั้งที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นตัวกระตุ้น ผู้ป่วยโรคกลัวการเข้าสังคม จะประหม่ามาก และไม่สามารถบังคับตัวเองให้ไม่ขลาดกลัวการเข้าสังคมได้เลย

 

 

อาการโรคกลัวสังคมแบ่งออก  3 ประเภท

 อาการแสดงทางอารมณ์และความคิด

  1. รู้สึกประหม่าทุกครั้งที่ต้องพูดกับบุคคลอื่นหรืออยู่ต่อหน้าคนอื่นก็พูดไม่ออก
  2. วิตกกังวลอย่างมาก ว่าคนอื่นจะวิพากษ์วิจารณ์และคิดอย่างไร กับตัวเอง
  3. เครียดล่วงหน้าเป็นวันหรือสัปดาห์ เมื่อรู้ว่าต้องปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชน
  4. กลัวว่าตัวเองจะแสดงอาการหน้าขายหน้าออกไป
  5. กลัวคนอื่นจะจับสังเกตได้ว่ากำลังรู้สึกประหม่าอยู่

 

อาการทางกายและพฤติกรรม

อาย หน้าแดง เขินจนบิด ไม่กล้าสบตา เสียงสั่น พูดตะกุกตะกัก หายใจหอบถี่กระชั้น ใจเต้นแรง แน่นหน้าอก เหงื่อแตก  หน้ามืด   วิงเวียนศีรษะ  ปั่นป่วนในท้อง  บางรายถึงกับอาเจียน

พฤติกรรมที่บ่งชี้อาการ

  1. ชอบปลีกตัวหลบอยู่คนเดียวบ่อย ๆ เพราะกลัวการเผชิญหน้ากับบุคคลอื่น
  2. มนุษยสัมพันธ์ค่อนข้างต่ำ และรักษาความเป็นเพื่อนไว้ได้ยาก
  3. ไม่กล้าทำอะไรด้วยตัวเอง ต้องมีเพื่อนอยู่ข้าง ๆ ตลอดเวลา
  4. ไม่กล้าแสดงออกขั้นรุนแรง
  5. ผู้ใหญ่บางรายอาจดื่มแอลกอฮอล์ย้อมใจทุกครั้งก่อนเผชิญหน้ากับคนหมู่มาก

 

 

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดอาการหวาดกลัวสังคม

หากอยู่ในสถานการณ์ปกติ อาการโรคหวาดกลัวสังคมคงไม่แสดงออกมาให้เห็นได้ชัดเจนนัก แต่หากได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยภายนอกบางอย่างทำให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้นมาได้ เช่น

 

  1. เมื่อต้องพบเพื่อน หรือต้องทำความรู้จักกับคนใหม่ ๆ
  2. กำลังตกเป็นเป้าสายตาถูกล้อ แซว หรือกล่าวถึง
  3. ถูกจับจ้องเวลาที่ทำอะไร รู้สึกว่าโดนแอบมอง เวลาไปออกเดท
  4. จำเป็นต้องพูดคุยกับใครเป็นบทสนทนาสั้น ๆ หรือเมื่อต้องเข้าสอบ หรือถูกทดสอบ
  5. เมื่อต้องพูดในที่สาธารณะ แสดงบนเวที หรือหน้าชั้นเรียน ในที่ประชุม
  6. เมื่อต้องพูดคุยกับคนสำคัญ หรือบุคคลที่มีอิทธิพลเหนือกว่าตัวเอง
  7. เมื่อเป็นฝ่ายโทรศัพท์ หรือติดต่อผู้อื่นก่อน
  8. เวลารับประทานอาหารในที่สาธารณะ เวลาไปงานปาร์ตี้

 

 

ผลกระทบของโรคกลัวสังคม

ส่วนมากมักส่งผลต่อหน้าที่การงานโดยตรง เพราะผู้ป่วยมักหลีกเลี่ยงการนำเสนอผลงาน บางรายยังยอมให้ผู้อื่นเป็นผู้นำเสนอผลงานของตนเอง ทำให้สูญเสียความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน บางคนอาจหลีกเลี่ยงการพบผู้คน ไม่ค่อยเข้าสังคม

 

อย่างไรก็ตาม การหลีกหนีจากสถานการณ์ทางสังคมอาจเป็นเพียงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น หากผู้ป่วยมีอาการหวาดกลัว วิตกกังวล และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในสังคมร่วมกับผู้อื่น ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

 

 

การรักษาโรคกลัวการเข้าสังคม

วิธีการรักษาอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยวิธีที่มักนำมาใช้รักษา ได้แก่ การดูแลตนเองด้วยการปรับพฤติกรรม จิตบำบัด (Psychotherapy) และการใช้ยารักษาโรค ซึ่งอาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกัน

 

กินอยู่เป็นขอขอบคุณที่มาจาก

 

kinyupen