8 พื้นฐานสุขภาพดีที่เรารู้แต่ไม่เคยใส่ใจ มีอะไรบ้าง

0
748
kinyupen

เชื่อว่าหลายคนรู้ดี ว่ามีอะไรบ้างที่ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง อะไรบ้างที่ไม่ดีต่อสุขภาพ แต่เราก็เลือกที่จะผัดวันประกันพรุ่ง เลิกกินอาหารแปรรูปไม่ได้ ขี้เกียจออกกำลังกาย เจ็บป่วยเมื่อไหร่ค่อยไปหาหมอ แล้วปล่อยให้ยาเป็นตัวช่วย

 

กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต มี 8 พื้นฐานสุขภาพที่เราควรใส่ใจ จาก ดร.จอห์น แคมป์เบลล์ (Dr. John Campbell) มาฝาก

ซึ่ง ดร.จอห์น เป็นอาจารย์สอนในวิทยาลัยพยาบาลที่อังกฤษ และเป็นผู้เขียนตำรา Campbell’s Pathophysiology  Notes เจ้าของช่อง Youtube : Dr. John Campbell ที่มีผู้ติดตามกว่า 2 ล้านคน

 

Dr. John Campbell

 

ตรงกลางคือคนที่มีสุขภาพดี และมีปัจจัยที่ส่งผลให้สุขภาพดีอยู่รอบๆ ซึ่งกินอยู่เป็นได้สรุปปัจจัยสุขภาพดีมาให้แล้วดังนี้

 

Interactions of health

1. กินอาหารเพื่อสุขภาพ

ไม่ใช่แค่อาหารเพื่อสุขภาพเท่านั้น ควรกินพืชผักและผลไม้ให้มากๆ อย่างในรูปคือบรอกโคลีและแอปเปิล ดีต่อไฟเบอร์ ดีต่อวิตามิน ดีต่อแร่ธาตุ ดีต่อไมโครไบโอม ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในร่างกายมนุษย์และส่งเสริมสุขภาพของเรา

 

เรารับประทาน Processed Food มากเกินไป คาร์โบไฮเดรต ไขมันอิ่มตัว สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เลวร้าย

 

โดยพื้นฐานแล้ว เราต้องกลับไปกินอาหารที่แปรรูปน้อยที่สุด แทนที่จะกินอาหารที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น ซึ่งอาจมีรสชาติดีและราคาถูก มีน้ำตาลสูง แต่ไม่ดีจริง ๆ สำหรับเรา

 

เพราะโดยธรรมชาติจริงๆ เราไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้ชีวิตในฐานะนักล่า หลายหมื่นปีมาแล้วเราหาอาหารเป็นผักประเภทต่างๆ

แต่ในบางครั้งชายหนุ่มในเผ่าจะล่าและจะกินเนื้อบ้าง แต่ส่วนใหญ่เราเก็บอาหารป่า กินอาหารไม่มาก และส่วนใหญ่เป็นพืช

 

 

2. การออกกำลังกาย

ร่างกายของมนุษย์ได้รับการออกแบบมาให้กระฉับกระเฉง ไม่ได้ถูกออกแบบให้อยู่แต่หน้าจอคอมพิวเตอร์ และไม่ได้ถูกออกแบบให้มีไลฟ์สไตล์อย่างนี้ซ้ำๆ

เราควรจะมีความกระตือรือร้น และจำเป็นต้อง “ออกกำลังกาย”

 

  • การออกกำลังกายทำให้อารมณ์ดีขึ้น
  • สามารถบรรเทาอาการซึมเศร้าได้
  • ดีสำหรับหัวใจและหลอดเลือด
  • ลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือด โรคหัวใจวาย
  • ช่วยให้ความดันโลหิตลดลง

 

 

3. สุขภาพจิตที่ดี

ที่จริงในภาพมันคือสมอง และแน่นอนว่าสมองเป็นตัวแทนของจิตใจ ในขณะที่เราอยู่ในสภาวะทางกายภาพนี้ สมองก็สร้างจิตใจ จิตใจเป็นผลผลิตจากสมอง ดังนั้น เราจึงต้องดูแลสมองและจิตใจให้แข็งแรง

 

สุขภาพกายส่งผลต่อสุขภาพใจ และสุขภาพใจก็ส่งผลต่อสุขภาพกายด้วย

คนที่สุขภาพทรุดโทรม ก็มีจิตใจหม่นหมองได้ง่ายกว่า

 

แต่ถ้าคุณมีจิตใจที่แข็งแรง ผลกระทบทางจิตเหล่านี้ทั้งหมดจะส่งกลับเข้าสู่ร่างกาย ทำให้มีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพกายที่แข็งแรงด้วย

 

จงคิดแต่เรื่องดีๆ มีความสัมพันธ์ที่ดีเท่าที่เราจะทำได้ ทำให้จิตใจตื่นตัวด้วยสิ่งดีๆ ทำสิ่งที่จะรักษาจิตใจและสมองให้ทำงานได้ดี โภชนาการที่ดีก็ช่วยบำรุงสมองได้เช่นกัน

เมื่อจิตใจเป็นบวกก็จะส่งผลต่อร่างกายในทางบวก

 

 

4. การรับสารพิษเข้าร่างกาย เช่น เหล้า บุหรี่ มลภาวะ

ในที่นี้ไม่ได้พูดถึงแค่เบียร์และบุหรี่ แม้มีเพียง 20% ของประชากรที่สูบบุหรี่ แต่โลกเราก็มีสารพิษจากสิ่งแวดล้อมมากมายที่จะเป็นพิษได้

 

ใช่…นี่อาจเป็นสิ่งที่เรากิน

พวกเนื้อสัตว์ อาหารแปรรูป อาจมีแอลกอฮอล์มากเกินไป อาจเป็นควันบุหรี่ ควันกัญชา อาจเป็นอะไรก็ได้เหล่านี้

ลามไปถึงวัตถุเจือปนในอาหาร ตัวอย่างเช่น สารพิษบางชนิดที่เราเรียกว่า สารก่อมะเร็ง

 

ยารักษาการติดเชื้อ การสูดดมหรือรับประทานสารก่อมะเร็งสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกาย เช่น การหายใจเอาฝุ่นหรือควันเข้าไป ทำให้เกิดโรคปอดได้

 

พวกมันสามารถทำให้เกิดมะเร็ง และมะเร็งก็ส่งต่อทางพันธุกรรมได้ด้วย

 

 

5. กรรมพันธุ์

โรคมีปัจจัยทางพันธุกรรมมากมาย แม้เราทำอะไรไม่ได้มากเกี่ยวกับเรื่องนั้น แต่สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักว่าจุดอ่อนทางพันธุกรรมของคุณคืออะไร

ดังนั้นการตรวจพันธุกรรมก่อนมีบุตรจึงจำเป็น เพื่อป้องกันโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูก

 

แต่เราจะเห็นว่าลูกศรนี้มีสองด้าน คือจากบุคคลไปสู่พันธุกรรมด้วย

สิ่งนี้จะไม่เปลี่ยนพันธุกรรมพื้นฐาน แต่นี่เป็นพันธุศาสตร์ด้านกระบวนการเหนือพันธุกรรม หรือ อีพีเจเนติกส์ (epigenetics)

 

อีพีเจเนติกส์คือสิ่งที่เราทำในชีวิต เริ่มตั้งแต่ชีวิตของทารกในครรภ์ สิ่งที่เราทำในวัยเด็ก สิ่งที่เราทำในชีวิตที่ส่งผลต่อยีน

  • เราได้รับพันธุกรรมจำนวนหนึ่ง แต่เราไม่สามารถทำอะไรเกี่ยวกับเรื่องนั้นได้ ณ จุดที่พ่อของคุณ อสุจิที่ปฏิสนธิของแม่ของคุณเสร็จแล้ว พูดง่ายๆ คือเป็นโชคของการจับสลาก
  • อีพีเจเนติกส์ : เราสามารถตั้งโปรแกรมได้ ว่ายีนใดถูกเปิดและยีนใดถูกปิด เราสามารถเรียนรู้ที่จะใส่ยีนที่ดีต่อสุขภาพ เปิดยีนที่แข็งแรง ปิดยีนที่ไม่แข็งแรงโดยปัจจัยด้านไลฟ์สไตล์

 

 

6. สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น ไวรัส แบคทีเรีย

เรารู้กันว่าไวรัสเข้ามาภายในตัวเรา ทำซ้ำในตัวเรา ทำให้เกิดการติดเชื้อ แต่ก็ยังมีแบคทีเรียอีกหลายชนิด และสิ่งอื่นๆ ก็สามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้เช่นกัน

 

อย่างโปรโตซัว (Protozoa) ที่สามารถทำให้เกิดโรคบางชนิด เช่น มาลาเรีย

พรีออน (Prion) ซึ่งเป็นอนุภาคที่ติดเชื้อ เป็นโปรตีนขนาดเล็ก อาจทำให้เกิดโรคบางชนิดได้

 

วิถีชีวิตของเรานั้นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกันของเราได้ เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เสริมวิตามินในปริมาณที่เหมาะสม ฯลฯ

 

 

7. ปฏิสัมพันธ์ที่ดี

มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ถูกออกมาแบบมาให้อยู่กับชุมชน อาศัยอยู่ในครอบครัว สิ่งสำคัญคือต้องมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกร่วมกัน

 

กับคนรอบข้าง  ในครอบครัว ลูกถึงพ่อแม่ พ่อแม่กับลูก เพื่อนต่อเพื่อน สามีถึงภรรยา ภรรยาถึงสามี คนรักกับคนรัก

ความสัมพันธ์เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสุขภาพของเรา

 

กลุ่มสังคมที่ดี สุขภาพที่ดี ทัศนคติที่ดี ทัศนคติที่ดี สุขภาพที่ดี มีความสัมพันธ์ทางสังคมในเชิงบวกมากเป็นปัจจัย

 

“ฉันอนุญาตให้คุณกำจัดความสัมพันธ์ที่เป็นพิษในชีวิตของคุณที่นี่ และเริ่มต้นความสัมพันธ์เชิงบวกในตอนนี้” Dr. John Campbell กล่าว

 

 

8. สภาพแวดล้อม

เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านสุขภาพได้จากการปรับสภาพแวดล้อม

สภาพแวดล้อมนี้รวมถึงสิ่งต่างๆ เช่น มลพิษ

  • เราสามารถลดมลพิษได้หรือไม่?
  • เราสามารถลดการสัมผัสมลพิษให้เหลือน้อยที่สุดได้หรือไม่?

 

สภาพแวดล้อมนี้รวมถึงพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ด้วย

สิ่งแวดล้อมที่นี่รวมถึงการติดต่อกับธรรมชาติ มองออกไปข้างนอกก็เห็นสีเขียว ส่วนในชนบทเราเห็นท้องฟ้าสีคราม เราเห็นสีฟ้าของทะเล และนี่เป็นเพียงสภาพแวดล้อมที่เราควรจะอาศัยอยู่

 

แต่สิ่งที่พบบ่อยคือต่อให้เรามีคุณภาพชีวิตไม่ดีในสภาพแวดล้อมนั้นๆ เราก็จะปรับให้เหมาะสมในสภาพแวดล้อมนั้น

อย่างไรก็ตามมนุษย์ต้องการสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่เป็นบวกกับระบบนิเวศของโลกนี้

ภูมิหลังด้านโภชนาการที่ดี ส่งเสริมโดยสภาพแวดล้อมที่ดี

 

 

สรุปให้หน่อย

ปรับสุขภาพของเราให้เหมาะสม ทั้งสุขภาพของชุมชนที่เราอาศัยอยู่ สุขภาพของสิ่งแวดล้อม อาหารที่เรากิน การออกกำลังกาย ปฏิสัมพันธ์ที่ดี หยุดความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ สุขภาพจิตใจที่ดี หลีกเลี่ยงสารพิษ สร้างไลฟ์สไตล์ให้ยีนเราแข็งแรง

 

 

แม้เรื่องการแพร่ระบาดของโรค เชื้อไวรัสจะหลีกเลี่ยงได้ยาก แต่เราก็สามารถเตรียมร่างกายให้แข็งแรงอยู่สม่ำเสมอได้ แม้ป้องกันโรคไม่ได้ 100% แต่ก็ช่วยลดความเสี่ยงจากอาการป่วยหนักไปได้มากโข

kinyupen