วอนหญิงตั้งครรภ์ฉีดวัคซีน ห่วงครบโดสแค่ 16.4%

0
434
kinyupen

กระทรวงสาธารณสุข ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และองค์การอนามัยโลก ร่วมรณรงค์ให้หญิงท้องเข้ารับวัคซีนเพื่อลดการเจ็บป่วยรุนแรงจากการติดโควิด 19

เชิญชวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้ารับวัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 2 ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน

 

 

วิทยากร ซ้ายไปขวา

  • พลอากาศโทนายแพทย์การุณ เก่งสกุล ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย
  • นายแพทย์เอกชัย เพียรศรีวัชรา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • ดร.จอส ฟอนเดลาร์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย

 

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 22 ธันวาคม พ.ศ. 2564: กระทรวงสาธารณสุขแสดงความกังวลต่อกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ครบโดสนั้นยังมีจำนวนน้อย

จึงขอเชิญชวนให้หญิงตั้งครรภ์เข้ารับวัคซีนที่ศูนย์ฉีดวัคซีนหรือคลินิกฝากครรภ์ใกล้บ้าน ขณะที่ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย ได้แสดงความเป็นห่วงที่หญิงตั้งครรภ์ที่รับวัคซีนเข็มที่ 2 มีเพียง 16.4 เปอร์เซ็นต์

 

หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด-19 มีความเสี่ยงสูงกว่าผู้หญิงในวัยเดียวกันที่ไม่ท้อง ในการเกิดการเจ็บป่วยรุนแรงและอาจมีอาการหนักจนต้องใส่ท่อช่วยหายใจ

 

ผลการศึกษาล่าสุดจากการทดลองทางคลินิกระดับโลกของ ChAdOx1 nCoV-19 วัคซีน Astra Zeneca 1 แสดงให้เห็นว่าวัคซีนโควิด 19 ไม่มีผลต่อภาวะเจริญพันธุ์ ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตร หรือการตายของทารกในครรภ์ในสตรีที่ได้รับวัคซีนก่อนตั้งครรภ์

 

 

ในประเทศไทย ข้อมูลการติดเชื้อโควิด 19 ในหญิงตั้งครรภ์ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2564 รายงานว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อทั้งหมด 6,102 ราย (850 ต่อเดือน หรือ 28 คนต่อวัน) เป็นคนไทย 4,280 ราย และชาวต่างชาติ 1,822 ราย

 

ทำให้มีหญิงตั้งครรภ์เสียชีวิต 103 ราย (1.7%) และทารกเสียชีวิต 55 ราย  โดยราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เตือนว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิด 19 มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าประชากรทั่วไปเกือบสองเท่า

 

 

ดร. ดร.จอส ฟอนเดลาร์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประเทศไทย กล่าวว่า “การฉีดวัคซีนครบสองเข็มจะช่วยเพิ่มการป้องกันจากความร้ายแรงของไวรัส SARS-CoV-2 ในประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว

 

เราเข้าใจว่าหญิงตั้งครรภ์จะมีความระมัดระวังเป็นพิเศษต่อการตัดสินใจที่ส่งผลต่อสุขภาพของตนเองและลูกในครรภ์ อย่างไรก็ดี การไม่ฉีดวัคซีนเป็นการเพิ่มความเสี่ยง หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้รับวัคซีนถ้าติดเชื้อโควิด 19 มีโอกาสจะเจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิต

 

 

วัคซีนโควิด 19 ทุกชนิดที่องค์การอนามัยโลกและประเทศไทยอนุญาตให้ใช้ในปัจจุบัน มีความปลอดภัยต่อผู้หญิงท้องและทารกในครรภ์และทารกแรกเกิด ซึ่งวัคซีนนี้มีพร้อมสำหรับหญิงตั้งครรภ์และสามารถฉีดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

ผมอยากเชิญชวนให้ทุกคน โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวเข้ารับวัคซีนให้ครบโดส” เพื่อลดการเจ็บป่วยรุนแรงจากการติดโควิด 19

 

 

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า “ กรมอนามัยได้ทำการเก็บข้อมูลของแม่ที่ได้รับวัคซีนขณะตั้งครรภ์และคลอดแล้วจำนวน 1,215 คน ยังไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงใดๆ อุบัติการณ์ของการแท้ง ทารกตายในครรภ์ ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย หรือการเกิดความพิการแต่กำเนิด ไม่แตกต่างจากหญิงตั้งครรภ์ทั่วไป

 

กรมอนามัย จึงจะขอสื่อสารกับสื่อมวลชนให้ช่วยกันรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้กับหญิงตั้งครรภ์ ว่า “หญิงตั้งครรภ์ ถือเป็นกลุ่มเสี่ยง ถ้าติดโควิด 19 แล้วจะเกิดอาการรุนแรงได้มากกว่าคนทั่วไป”

 

ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์ อย่าลังเลที่จะมารับวัคซีน และขอให้ครอบครัวของหญิงตั้งครรภ์ ตลอดจน บุคลากรทางการแพทย์ มีความมั่นใจในวัคซีนโควิด 19 และได้ช่วยกันสนับสนุนหญิงตั้งครรภ์ให้ได้รับการฉีดวัคซีนในสถานพยาบาลใกล้บ้าน

 

 

นายแพทย์ชนินันท์ สนธิไชย นายแพทย์ชำนาญการ กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า “กรมควบคุมโรคย้ำหลักการสำคัญในการให้บริการวัคซีนโควิด 19 ของประเทศไทย ในปี 2565 ประกอบด้วย

 

  1. เพื่อให้ประชากรทุกคนในแผ่นดินไทยได้รับวัคซีนด้วยความสมัครใจและครอบคลุม
  2. เพื่อเตรียมการรองรับการระบาดรวมถึงเชื้อกลายพันธุ์
  3. เพื่อลดความรุนแรงและการเสียชีวิตในประชากรทุกกลุ่มอายุ
  4. เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจ ภาคการศึกษา การท่องเที่ยว และการเปิดประเทศ ตามแผนที่กำหนด

 

ทั้งนี้ สำหรับนโยบายการให้วัคซีนโควิด 19 ในหญิงตั้งครรภ์ ทางคณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 มีมติเห็นชอบให้กลุ่มหญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มเสี่ยงเพิ่มเติมที่ควรได้รับวัคซีนโควิด 19

 

และคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ได้แจ้งแนวทางการฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเพิ่มเติม

เพื่อเร่งรัดให้วัคซีนในกลุ่มเป้าหมายทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่มีความเสี่ยงป่วยรุนแรงและเสียชีวิต ซึ่งรวมถึงหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป เพื่อสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในหญิงตั้งครรภ์อย่างทั่วถึง”

 

 

พลอากาศโทนายแพทย์การุณ เก่งสกุล ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า “เหตุผลที่หญิงตั้งครรภ์มีความกังวลในการฉีดวัคซีนโควิด 19 คือเรื่องความปลอดภัย

 

อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกและสำนักง่านเลขาธิการอาหารและยาของประเทศไทยได้ทำการตรวจสอบข้อมูลด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยและอนุมัติวัคซีนโควิด 19 ที่มีความปลอดภัยและสามารถใช้ได้กับหญิงตั้งครรภ์ เราจึงอยากเชิญชวนให้หญิงตั้งครรภ์ติดต่อสถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อรับวัคซีนโดยเร็วที่สุด”

 

 

นอกจากกลุ่มหญิงตั้งครรภ์แล้ว กระทรวงสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลกอยากเชิญชวนให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ทั้งผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว (กลุ่ม 607) เข้ารับวัคซีนโควิด 19 โดยเร็วที่สุดด้วยเช่นกัน

 

การสำรวจ YouGov ล่าสุดที่จัดทำโดยองค์การอนามัยโลก ประเทศไทย พบว่าประชาชนกลุ่มเสี่ยง หรือ กลุ่ม 608 จำนวน 31เปอร์เซ็นต์ ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ซึ่งมีจำนวนมากกว่าประชากรไทยส่วนใหญ่ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเพียง 21 เปอร์เซ็นต์

 

นอกจากนี้ ประชากรในกลุ่ม 608 จำนวน 15 เปอร์เซ็นต์ ไม่แน่ใจหรือไม่ต้องการฉีดวัคซีน เปรียบเทียบกับประชาชนในกลุ่มทั่วไปที่ไม่ประสงค์จะฉีดวัคซีนมีเพียง เปอร์เซ็นต์ และ 5 เปอร์เซ็นต์ ยังคงลังเลที่จะรับวัคซีนเข็มที่ 2

 

บุคคลที่มีโรคประจาตัว (607) ได้แก่

  • โรคเบาหวาน
  • โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และโรคหอบหืดที่ควบคุมได้ไม่ดี
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคไตเรื้อรัง ที่อยู่ในระยะ 5 ขึ้นไป (ไตวายเรื้อรัง)
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคมะเร็งทุกชนิด ที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วย เคมีบาบัด รังสีบาบัด และภูมิคุ้มกันบาบัด
  • โรคอ้วน น้าหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม
kinyupen