อาการ ‘โอไมครอน’ โควิดสายพันธุ์ใหม่ แทนที่เดลต้า สู่โรคประจำถิ่น

0
615
kinyupen

โควิด-19 กลายพันธุ์สู้วัคซีน ทำให้เราต้องคอยระแวดระวังอย่างไม่หยุดหย่อน อย่างสายพันธุ์ ‘โอไมครอน’ กำลังแพร่กระจายอย่างรวดเร็วทั่วอังกฤษ

 

WHO หรือองค์การอนามัยโลก ก็ประกาศยกระดับให้โอไมครอนเป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวลเสียด้วย เพราะทั้งดื้อวัคซีน และแพร่กระจายไวกว่าสายพันธุ์เดลตา

กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต จะพาสังเกตอาการโควิดสายพันธุ์โอไมครอน เพื่อให้รู้ตัวได้เร็ว และรักษาอย่างทันท่วงที

 

 

เดอะซันรายงานว่าระบบสาธารณสุขประจำประเทศอังกฤษ (National Health Service: NHS) ระบุอาการหลักของโควิดในเด็กและผู้ใหญ่ ดังนี้

 

อาการของโควิดกลายพันธุ์โอไมครอน

  • อุณหภูมิสูง
  • การไอต่อเนื่องครั้งใหม่ (หมายถึง การไอมากเกิน 1 ชั่วโมง หรือไอ 3 ครั้งขึ้นไปใน 24 ชั่วโมง)
  • สูญเสียหรือเปลี่ยนประสาทสัมผัสในการรับกลิ่นหรือรส
  • เมื่อยล้า
  • คัดจมูก น้ำมูกไหล
  • ปวดหัว
  • เจ็บคอ
  • เบื่ออาหาร
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย

 

ควรระวังในเด็ก : มีรายงานก่อนหน้านี้จากประเทศแอฟริกาใต้ว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีอาจมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยจากโอไมครอนรุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ

 

 

5 อาการใหม่ “โอไมครอน” ล่าสุด (20 ธ.ค. 2564)

ดร.อาเมียร์ ข่าน ให้สัมภาษณ์กับลอแรน แห่ง ITV เปิดเผยอาการหลักที่ผู้ป่วยได้รับการติดเชื้อ “โอไมครอน” ซึ่งเป็นตัวแปรใหม่ที่ปรากฏขึ้นขณะนอนหลับ กล่าวว่า แพทย์จากในแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่ตรวจพบเชื้อ “โอไมครอน” นี้เป็นครั้งแรก ได้ค้นพบว่า ผู้ป่วยมีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืนขณะนอนหลับ

 

อาการใหม่ 5 ประการ

  1. เจ็บคอ
  2. ปวดกล้ามเนื้อเล็กน้อย
  3. เหนื่อยมาก
  4. ไอแห้ง
  5. “เหงื่อออกตอนกลางคืน” แม้จะนอนหลับในห้องเย็น ซึ่งทำให้เปียกโชกจนคุณอาจต้องลุกขึ้นไปเปลี่ยนเสื้อผ้า

 

 

ทำไมสายพันธุ์ โอไมครอนถึงน่ากังวล?

  • ทำให้เชื่อกันว่าไวรัสจะสามารถแพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลตา
  • สามารถเข้าสู่ระบบร่างกายมนุษย์ได้ง่ายขึ้น
  • อาจจะหลบภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น
  • มีแนวโน้มต้านประสิทธิภาพวัคซีน
  • คนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มีโอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำได้จากโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
  • ความรุนแรงของโควิดกลายพันธุ์ตัวนี้ ยังไม่แน่ชัดว่าจะทำให้การเจ็บป่วยหรือการติดเชื้อรุนแรงขึ้นหรือไม่

 

เนื่องจากโอไมครอนการกลายพันธุ์ของยีนมากถึง 50 กว่าตำแหน่ง

โดย 32 ตำแหน่งเกิดขึ้นบนโปรตีนหนามแหลม หรือที่เรียกว่า Spike Protein ซึ่งเป็นโปรตีนที่ไวรัสใช้ในการเข้าสู่เซลล์ของร่างกายมนุษย์ ซึ่งพบมากกว่าทุกสายพันธุ์ และมากกว่าสายพันธุ์เดลตา ถึง 2 เท่า และพบการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ ที่ไวรัสใช้จับยึดกับเซลล์ของคนเราถึง 10 ตำแหน่ง

 

 

ดังนั้นดูแลร่างกายให้พร้อม ต้องสวมใส่แมสก์ ขยันล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสจุดเสี่ยง ออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อสุขภาพที่ดี ป้องกันโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้น ด้วยความปรารถนาดีจากกินอยู่เป็น

 

กินอยู่เป็นขอขอบคุณที่มาจาก

เวลส์ออนไลน์ (walesonline.co.uk)

โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล หนองแขม (vichaivej-nongkhaem.com)

THE SUN (thesun.co.uk)

 

kinyupen