เช็กลิสต์กระเป๋าฉุกเฉินพร้อมคว้ายามน้ำท่วม ไฟไหม้ ภัยพิบัติ

0
1607
kinyupen

จากที่ประเทศไทยเคยสงบ ไร้ภัยธรรมชาติเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ตอนนี้มันเปลี่ยนไปแล้ว.. ไฟไหม้ป่าเชียงใหม่ ไฟไหม้โรงงาน สารเคมีรั่วไหล ภาวะโลกร้อนที่ทำให้สภาพอากาศแปรปรวน ฝนตกไม่หยุด น้ำท่วมมิดหลังคา

แต่ที่น่าตกใจคือประเทศไทยมีการป้องกันภัยพิบัติน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศที่เจริญแล้ว การพึ่งตัวเองให้เป็นจะเอาตัวรอดได้มากกว่า

 

กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตชวนคุณจัดกระเป๋าลี้ภัย ใบเดียวอยู่ เผื่อต้องอพยพด่วนจะได้คว้ากระเป๋าหนีภัยได้ทันที เพิ่มโอกาสรอดตาย พร้อมเช็กลิสต์ของที่ต้องมีติดกระเป๋า

 

เช็กลิสต์ของสำคัญในกระเป๋าฉุกเฉิน พร้อมลี้ภัยทันที (สำหรับ 1 คน)

เตรียมสิ่งของจำเป็นให้พร้อมสำหรับการอพยพได้ตลอดเวลา ด้วยเป้ยังชีพพร้อมคว้า (ของทุกคน) น้ำท่วม ไฟไหม้ สารเคมีรั่ว ฯลฯ หนีได้ทันที

 

 

1. กระเป๋า

แนวคิดในการจัดเตรียมเป้ขนาดเล็ก-น้ำหนักเบา 3 แนวทาง

  • จัดกระเป๋าใบเล็กแล้วใส่ซ้อนไว้ในใบเป้ใหญ่
  • จัดเป้ใบเล็กติดไว้กับเป้ใบใหญ่ (เป้บางแบบถูกออกแบบให้ประกบหรือถอดแยกเป้ใบเล็กออกจากเป้ใบหลักได้)
  • จัดกระเป๋าใบเล็กแยกไว้ต่างหากจากเป้หลัง เช่น คาดเอวไว้

 

2. น้ำดื่ม 750 มล.

 

3. อาหารทานได้เลย (MRE = Meal Ready to Eat) เช่น ช็อกโกแลต แครกเกอร์ กล้วยตาก อาหารกระป๋อง มีลูกอม มีช้อนส้อมพลาสติกและตะเกียบเผื่อไว้

 

4. ยา

ยาสำหรับโรคประจำตัว พกยาสามัญประจำบ้าน อุปกรณ์ทำแผล ยาทากันยุง ที่เป็นขนาดพกพาไปด้วย

 

5. ทิชชู่เปียก (กระดาษเช็ดก้นเด็ก)

 

6. ถุงขยะ

สารพัดประโยชน์ ไว้ทิ้งขยะ กันฝน กันหนาว เป็นห้องส้วมชั่วคราว

 

7. ผ้าใบกางกันฝน

ถ้าไม่มีฝน ปูพื้นไว้นั่ง นอน ก็ยังดี

 

8. ผ้าห่มฉุกเฉินแก้หนาว

 

9. มาส์กปิดปาก ปิดจมูก

 

10. ไฟฉาย

เผื่อไฟดับ ซื้อแบบไม่แพง ถ้ามีไฟฉายแบบปั่นมืออีก 1 อันด้วยจะดีมาก

 

11. โทรศัพท์มือถือ

สำคัญมากๆๆ ไว้ติดต่อ ขอความช่วยเหลือ หาข้อมูล (แต่ในญี่ปุ่นเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินตู้โทรศัพท์สาธารณะ สามารถยกหูแล้วโทรแจ้งตำรวจได้ฟรี จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมที่ญี่ปุ่นถึงยังคงต้องมีตู้โทรศัพท์สาธารณะอยู่)

 

12. พาวเวอร์แบงค์

มือถือต้องมีแบตเตอรี่พร้อมตลอดเวลา คนญี่ปุ่นบางคนเตรียมไว้ 2 – 3 อันเลย

 

13. เอกสารสำคัญ

พาสปอร์ต เอกสารการเปลี่ยนชื่อ ใบจบการศึกษา ทะเบียนสมรส สมุดบัญชีธนาคาร ตราประทับ ฯลฯ เพื่อความชัวร์ถ่ายเอกสารไว้เผื่อ 1 ชุด ทั้งของตัวเองและคนในครอบครัว

 

14. นกหวีด ไว้ข้อความช่วยเหลือ

 

15. มีดพับ คัตเตอร์ และกรรไกรต่างๆ

 

ของญี่ปุ่น จะมีมีดพับที่มีค้อนด้านบนขายด้วย เพราะหากเกิดแผ่นดินไหว แล้วเราติดอยู่ในบ้านออกไปข้างนอกไม่ได้ ประตูก็เปิดไม่ได้ ก็จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่แข็งแรงพอที่จะใช้ทุบกระจกให้แตกได้ (ภาพจาก japankuru.com)

 

อย่าลืม!สิ่งสำคัญอื่นๆ ของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน

สิ่งสำคัญที่จำเป็นในชีวิตประจำวันอื่นๆ ซึ่งสามารถปรับตามความจำเป็นของแต่ละคนเลย เช่น แว่นตา ฟันปลอม นมผง แพมเพิร์ส ผ้าอนามัย ชุดชั้นใน เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว แปรงสีฟัน ฯลฯ

 

อย่าลืม ตกลงกับคนในบ้านไว้ ยามเกิดภัยพิบัติ เหตุฉุกเฉิน

  • จำเบอร์โทรศัพท์ของรถพยาบาล สถานีดับเพลิง ตำรวจ บันทึกเบอร์โทรศัพท์ที่จำเป็นไว้ในมือถือของทุกคนไปเลย ทั้งเบอร์หน่วยงานในท้องถิ่น เบอร์ครอบครัว
  • จำตำแหน่งวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดแก๊ส สะพานไฟฟ้า (รวมถึงวิธีปิด) เรียนรู้อุปกรณ์ที่อาจเป็นอันตรายเมื่อเกิดเหตุ ก่อนอพยพต้องปิดแก๊สและปิดวงจรกระแสไฟฟ้าทั้งหมด
  • เตรียมเส้นทางหนีภัยอย่างน้อย 2 ทาง เผื่อไฟไหม้-น้ำท่วม-คนร้ายเข้าบ้าน ออกทางประตูหน้าไม่ได้ ก็ต้องออกทางหน้าต่าง หากมีแต่หน้าต่างเหล็กดัดติดตายนี่อันตรายมาก ทำเหล็กดัดแบบเปิดเองได้จากด้านในดีกว่า มีไว้แค่ 1 บานก็ได้ จำให้ดีล่ะว่าตำแหน่งไหน
  • จุดนัดพบหลังอพยพ ป้องกันการพลัดหลงหลังประสบภัย

 

 

ผู้รู้คือผู้ที่อยู่รอด กระเป๋าฉุกเฉิน เตรียมอพยพ อาจฟังดูเวอร์ แต่ประเทศญี่ปุ่นเขามีกันทุกคน เตรียมไว้ก็ไม่เสียหาย เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าภัยพิบัติจะมาถึงเราเมื่อไร

 

กินอยู่เป็นขอขอบคุณที่มา

kinyupen