เอ๊ะ! ทำไมถ่านอันนี้หมดเร็วจัง ถ่านไฟฉาย ไม่ว่าจะ ก้อนเล็กหรือก้อนใหญ่ AA หรือ AAA หน้าตาดูคล้ายๆ กันไปหมด ต่างกันแค่สี งง! มึน! สับสน! ทำให้หลายคนซื้อผิดๆ ถูก ใช้ผิดประเภทและไม่เหมาะกับการใช้งาน
กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิตชวนคุยเรื่องถ่านไฟฉาย ที่เราเห็นหลากสีนี้ ทราบไหมว่า ถ่านไฟฉายแบบใช้แล้วทิ้งที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวันสามารถแบ่งย่อยได้อีก 3 ชนิด ได้แก่
1. ถ่านเขียว/ถ่านดำ ราคาย่อมเยา แต่มีความจุน้อย ทำให้ต้องเปลี่ยนบ่อย โดยถ่านเขียวเหมาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังไฟมาก เช่น ไฟฉายหรือมอเตอร์ ส่วนถ่านดำจะเหมาะกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการกำลังไฟน้อยแต่ยาวนานกว่า
- สีดำ : เหมาะใช้กับเกม วิทยุเทปพกพา นาฬิกา
- สีเขียว : เหมาะใช้กับไฟฉาย วิทยุทรานซิสเตอร์ นาฬิกาปลุก รีโมททีวี เพราะจ่ายกระแสไฟสูงได้มากกว่าสีดำ แต่ความจุน้อยกว่า ใช้งานได้ระยะสั้นๆ
2. ถ่านอัลคาไลน์ ซึ่งให้กำลังไฟฟ้าที่เสถียรกว่า เหมาะกับอุปกรณ์ที่ต้องการกำลังไฟมากกว่า เช่น รถบังคับของเล่น ไฟฉายกำลังสูง ไฟแฟลชกล้องถ่ายภาพ
หลายคนอาจคิดว่า ถ่านอัลคาไลน์ดีขนาดนี้ ทำไมยังต้องใช้ถ่านดำอยู่อีกล่ะ ใช้ถ่านอัลคาไลน์ทั้งบ้านไปเลยไม่ดีกว่าหรือ? แต่กินอยู่เป็นขอบอกไว้ก่อนว่า เห็นถ่านอัลคาไลน์ดีขนาดนี้ แต่ก็ทำให้เครื่องใช้บางอย่างรวนได้เหมือนกัน เช่น นาฬิกา
ทำไมถึง “ห้ามใช้ถ่านอัลคาไลน์ กับนาฬิกาแขวนผนัง” ?
นาฬิกา Quartz ทำงาน โดย ใช้ วงจรสร้างความถี่ oscillator circuits ซึ่งปกติ จะมีความถี่ 32.768 kHz จากไฟ แรงดันมาตราฐาน 1.5v
แรงดัน ที่เกิน 1.55v ขึ้นไป จะทำให้การทำงาน ของวงจรเพี้ยนไป โดยจะได้ความถี่ที่ลดลง เป็นเหตุให้ นาฬิกา Quartz จะเดินช้ากว่าปกติ ถ้าใส่ถ่านอัลคาไลน์ เพราะถ่านอัลคาไลน์มีแรงดันเริ่มต้น ประมาณ 1.58 V ซึ่ง สูงกว่า แรงดัน ของถ่านดำ หรือ zinc – carbon ที่มีแรงดันเริ่มต้น ที่ 1.5 v
และแน่นอน ในแรงดัน ที่ต่ำกว่า 1.2 v เวลาถ่านใกล้หมดไฟ จะทำให้วงจรให้ความถี่ ที่สูงกว่าปกติ เราจะสังเกตุได้ว่านาฬิกา จะเดินเร็วกว่า ปกติ อยู่หลายวันก่อนหยุดทำงานไปเลย
ด้วยเหตุนี้เราจึงมักใช้ถ่านดำกับ นาฬิกา Quartz เพราะ ราคาถูก และถ่านดำจะมีแรงดัน 1.5v พอดีทำให้นาฬิกาเดินได้อย่างเที่ยงตรงนั้นเองค่ะ
ไม่ควรใช้ถ่านอัลคาไลน์กับรีโมท!
ถ่านอัลคาไลน์ มีโอกาสมีกรดออกมาได้ง่าย (เมื่อถ่าน-แบตเตอรี่เก่ามากๆ จะมีสารออกมาเป็นน้ำเหนียวๆ ดังนั้นควรทิ้งถ่านให้ถูกที่ ลงถังขยะอันตรายนะคะ) ทำให้เมื่อใส่ในรีโมท หรือนาฬิกา ที่จะอยู่ได้นานมาก กรดอาจจะไหลออกมาทำลายอุปกรณ์ แถมยังเป็นพิษต่อผู้ใช้อีกด้วย
3.ถ่านซิลเวอร์ มักพบในถ่านกระดุมของอุปกรณ์ที่มีการใช้งานยาวนาน เพราะสามารถเก็บประจุได้ดี
ใช้ถ่านให้ปลอดภัย ถูกวิธี
- อย่าเปิดอุปกรณ์ค้างไว้โดยไม่จำเป็น ปิดสวิตช์มันซะ
- เพื่อไม่ให้สับสนว่าอันไหนถ่านเก่า-ถ่านใหม่ ควรเปลี่ยนถ่านพร้อมกันทุกก้อนในคราวเดียวกัน
- ไม่ควรนำถ่านหลายชนิดหรือหลายยี่ห้อมาใช้ปะปนกัน
- ตรวจสอบวิธีการใส่ถ่านและขั้วให้ถูกต้องเสมอ
- ไม่แกะชิ้นส่วนถ่านออกมาเล่น
- ห้ามเก็บถ่านไว้ในที่ที่มีความร้อนสูง
- หลีกเลี่ยงการทำให้ถ่านเกิดการชอร์ตกัน
- ห้ามนำถ่านที่ชาร์จไฟไม่ได้มาชาร์จไฟใหม่ อันตรายมาก
เท่านี้ก็พอรู้แล้วว่าอุปกรณ์ชิ้นไหน ต้องใช้ถ่านอะไร จะได้เลือกซื้อกันถูก!