ย้อนดูความโดดเด่นของคอนฯ “บิ๊กเมาท์เท่น” ที่วัยรุ่นไทยต้องขอไปสักครั้งหนึ่งในชีวิต

0
1114
kinyupen

กำลังเป็นประเด็นร้อน และกำลังถูกพูดถึงอยู่ในกระแสทั้งออนไลน์ และบนสื่อต่างๆ หลังคอนเสิร์ตใหญ่ที่ถือว่าเป็นการแสดงดนตรีกลางแจ้งที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง อย่างเทศกาลคอนเสิร์ตบิ๊กเมาน์เท่นมิวสิคเฟสติวัล ครั้งที่ 11 ถูกผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมามีสั่งยกเลิก หลังจากได้รับการร้องเรียนว่าไม่สามารถดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคติดต่อในระหว่างเกิดการระบาดของโควิด 19 ในขณะนี้

 

สรุปความเป็นมาของเหตุการณ์ คือ

  • 12 ธันวาคม ผู้ใช้ทวิตเตอร์จำนวนหนึ่งแชร์ภาพการจัดระบบคัดกรอง และผู้ร่วมงานแอร์อัด ไม่เว้นระยะห่าง พบผู้มาร่วมงาน เป็นลมภายในงานและมีอาการไข้ขึ้นสูง หายใจลำบากนำตัวส่งโรงพยาบาล ลือว่ามาจากพื้นที่เสี่ยงติดโควิดพร้อมเพื่อน 7 คน
  • 13 ธันวาคม ผลการตรวจสอบทั้งหมดเป็นลบ แต่มีการลงพื้นที่ตรวจสอบภายในที่จัดงาน พบว่าส่วนใหญ่ผู้ร่วมงานไม่สวมหน้ากากอนามัย ไม่มีการเว้นระยะห่าง
  • สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แจ้งให้ผู้จัด จัดการให้ลดความแออัดลง แม้จะมีการปรับปรุงพื้นที่ แต่ก็ไม่ได้ลดความแออัดของผู้เข้าร่วมงาน
  • ผู้ว่าฯ นครราชสีมาประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เห็นสมควรว่าควรยุติการจัดงานในครั้งนี้ จึงมีคำสั่งให้ยุติ แม้ทางผู้จัดได้ยื่นอุทธรณ์ขอให้ทบทวนคำสั่ง เมื่อพิจารณาแล้วทางสสจ.ยังยืนยันตามคำสั่งเดิม
  • ทางผู้จัดน้อมรับผล และจัดระเบียบให้ผู้มาร่วมงานทยอยออกจากพื้นที่ โดยเว้นระยะห่างตามมาตรการ คณะผู้จัดได้ยุติการแสดงในเวลา 22.00 น. และกล่าวคำขอโทษพร้อมประกาศจะคืนเงินค่าบัตรให้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 มกราคมเป็นต้นไป

 

ดังนั้นการจัดเทศกาลดนตรีที่ถือว่าเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของบรรดาวัยรุ่นไทยในครั้งที่ 11 ก็ต้องยุติลงไป แม้ว่าจะมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ที่ปะปนการเมืองมาบ้างแต่ ท้ายที่สุดทุกคนก็ยอมรับการตัดสินดังกล่าว

 

ลองย้อนกลับไปดูประวัติความเป็นมาของคอนเสิร์ตเทศกาลดนตรี คอนเสิร์ตบิ๊กเมาเท่น หรือที่รู้จักกันแบบสากลว่า เวที BMMF (Big Mountain Music Festival) กันอีกครั้ง ซึ่งตลอด 11 ปีของการจัดงาน มีเรื่องน่าสนใจหลายอย่าง วันนี้ “กินอยู่เป็น” จะพากลับไปดูความโดดเด่นของเทศกาลนี้กันอีกครั้ง

 

ภาพจาก Big Mountain Music Festival

 

  • BMMF เริ่มจัดครั้งแรก เมื่อ ปี 2553 ที่โบนันซ่า เขาใหญ่ โดยสังกัดเกเร บริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ โดยมี ยุทธนา บุญอ้อม หรือ ป๋าเต็ด เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงใจ โดย คอนเสิร์ตนี้จัดอย่างต่อเนื่องมาแล้ว 10 ครั้ง ครั้งล่าสุดที่ถูกสั่งให้ยุติการแสดงคือครั้งที่ 11
  • การจัดงานในครั้งแรกปี 2553 มีประชาชนและวัยรุ่นพากันเดินทางไปร่วมงานจำนวนมาก จนเป็นเหตุให้เกิดรถติดยาวบนเส้นทางที่มุ่งหน้าสู่โบนันซ่าเขาใหญ่ สถานที่จัดงานกลายเป็นเรื่องกล่าวขานกันมาจนถึงปัจจุบัน
  • “ข้าวไข่เจียว” กลายเป็นเมนูอาหารยอดนิยมของผู้คนที่ไม่เที่ยวงาน จนกระทั่งเมนูง่ายๆ นี้กลายเป็น “เครื่องเคียง” ที่คู่กันกับเทศกาลดนตรีนี้ไปในที่สุด ว่ากันว่าใครไปเที่ยวงานนี้ต้อง กินข้าวไข่เจียวบิ๊กเมาท์เท่น!!
  • รูปแบบของการจัดคอนเสิร์ต เป็นการแสดงกลางแจ้งของวงดนตรีต่างๆ ที่จำกัดสังกัด โดยผู้จัดต้องการให้ประเทศไทยมีเทศกาลดนตรีที่ยิ่งใหญ่ และเป็นการรวบรวมการแสดงดนตรีของศิลปินที่หลากหลาย ทุกชนิด ทุกประเภท เป็นการจัดให้ทัดเทียมเทศกาลดนตรีในนานาประเทศ
  • นอกจากจะมีศิลปินไทยแล้ว ยังมีศิลปินชื่อดังจากต่างประเทศเข้าร่วมด้วย ทำให้ที่ผ่านมามีผู้เข้าร่วมงานจำนวนมากในแต่ละปี
  • ยุทธนา บุญอ้อม เล่าว่า เขาเรียนรู้หัวใจของมิวสิกเฟสติวัลจากส้วมแบบ ‘long drop’ ของเทศกาลดนตรีแกลสตันบูรี หมายถึงว่า บางทีความสะดวกสบายไม่ใช่หัวใจสำคัญ แต่มันคือประสบการณ์ที่ได้รับมา ซึ่งอาจจะไม่ใช่ความสะดวกสบาย แต่มันอาจเป็นหนึ่งในโมเมนต์ที่คนรักดนตรีจะไม่มีวันลืม
  • ผู้จัดให้ให้สัมภาษณ์สื่อว่า บิ๊กเมาน์เท่นมิวสิคเฟสติวัล เป็นความสำเร็จอย่างยิ่งของเทศกาลดนตรีของไทย เพราะ มีผู้คนโดยเฉพาะวัยรุ่นต่างรอคอยที่จะเข้าไปชม โดยทุกครั้งเคยตั้งเป้ามีคน ร่วมงานถึง 80,000 คน เมื่อรวมทีมงานก็น่าจะมีคนอยู่ในงานเกือบ 90,000 คนในแต่ละครั้ง
  • รูปแบบเหมือนค่ายลูกเสือผสมคอนเสิร์ต ผสมตลาดนัดแบกะดิน และปาร์ตี้ EDM ที่รวมทุกรสชาติ จนกลายเป็นสิ่งที่เรียกว่าแบรนด์ Big Mountain
  • จะมีการจัดการเรื่องฝุ่น เรื่องห้องน้ำ เรื่องที่จอดรถ และเรื่องขยะอย่างเต็มที่ให้ดีที่สุด และยังใส่เงินลงทุนเพิ่มเพื่อจะพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ในทุกครั้งที่จัดงาน
  • คนมา Big Mountain มี 3 กลุ่มด้วยกันคือ ไม่เคยมา มาแล้วอยากกลับมาอีก และมาแล้วแต่คงไม่กลับมาแล้วบางคนเจอแฟนในงาน บางคนเคยมากับแฟน เลิกกันแล้วกลับมากับแฟนใหม่ บางคนเลิกกันแล้วกลับมารักกันที่งาน บางคู่ขอแต่งงานกันที่นี่ บางคู่พาลูกกลับมาก็มี

 

สำหรับเทศกาลดนตรีระดับโลกที่เชื่อว่าเป็นแรงบันดาลใจของผู้จัดและปัจจุบันยังคงมีการจัดต่อเนื่อง และถือเป็นเทศกาลดนตรีที่ผู้ระเสียงเพลงยังคงปรารถนาที่จะไปสักครั้งในชีวิต อาทิ

  • งานดนตรีและศิลปะวูดสต็อก (อังกฤษ: Woodstock Music & Art Fair) หรือมีชื่อไม่เป็นทางการว่า วูดสต็อก (อังกฤษ: Woodstock) หรือเทศกาลวูดสต็อก (อังกฤษ: The Woodstock Festival) มีคำเปรยว่า “An Aquarian Exposition: 3 Days of Peace & Music” จัดขึ้นที่ไร่ของแมกซ์ ยาสเกอร์ ที่มีพื้นที่ 600 เอเคอร์ (2.4 ตร.กม.) ใกล้กับหมู่บ้านในไวต์เลก ที่เมืองเบเธล นิวยอร์ก ตั้งแต่วันที่ 15-18 สิงหาคม ค.ศ. 1969 มีการแสดงภายนอกถึง 32 ศิลปิน มีผู้ชมใกว่า 300,000 คน มีการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็น 1 ในเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นแกนหมุนในประวัติศาสตร์ดนตรี และติดอยู่ในอันดับ ใน 50 อันดับเหตุการณ์ที่เปลี่ยนประวัติศาสตร์ร็อกแอนด์โรล ของนิตยสารโรลลิงสโตน ชื่อของงานมาจากชื่อเมืองวูดสต็อก รัฐนิวยอร์ก ซึ่งอยู่ห่างออกไป 69 กิโลเมตร เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมาด้านศิลปะมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 และเป็นที่พักอาศัยของศิลปินนักร้องที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น บ็อบ ไดแลน จอห์นนี แคช จิมิ เฮนดริกซ์
  • เทศกาลแกลสตันบูรี (อังกฤษ: Glastonbury Festival) หรือชื่อเต็มว่า เทศกาลศิลปะการแสดงร่วมสมัยแกลสตันบูรี (อังกฤษ: Glastonbury Festival of Contemporary Performing Arts) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แกลสตันบูรี หรือ แกลสโต เป็นเทศกาลดนตรีและการแสดงบนผืนหญ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นที่รู้จักด้านดนตรีร่วมสมัย และยังมีศิลปะ การเต้นรำ ตลก ละคร ละครสัตว์ คาบาเร่ต์ และศิลปะอื่น ๆ ในปี 2005 เทศกาลครอบคลุมพื้นที่ 900 เอเคอร์ (3.6 ตร.กม.) มีการแสดงกว่า 385 โชว์ มีผู้เข้าร่วมชมราว 150,000 คน ในปี 2007 มีการแสดงกว่า 700 การแสดง กับเวทีมากกว่า 80 เวที
  • เทศกาล Summer Sonic ประเทศญีปุ่น มักจะจัดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคม ประมาณช่วงวันหยุดโอบ้ง (กลางสิงหาคม) พอดี โดยจะจัดขึ้นทั้งที่โอซาก้า (แถบคันไซ) และโตเกียว (แถบคันโต) รวม 2 วัน โดยศิลปินจะสลับกันเล่นวันละเวที กล่าวคือ ถ้าวงนี้เล่นที่โอซาก้าคืนวันเสาร์ อีกวงก็จะย้ายไปเล่นที่โตเกียวคืนวันอาทิตย์ ดังนั้นก็ไม่ต้องกลัวพลาดการชมศิลปินวงใดวงหนึ่ง แถมยังไม่ต้องถามไปชมกันข้ามภูมิภาคด้วย ใครใกล้โอซาก้าก็ดูที่โอซาก้า ใครใกล้โตเกียวก็กันที่โตเกียว จบเป๊ะ!

 

วิธีการจัดเทศกาลดนตรีแบบนี้ของ Summer Sonic นั้นเป็นรูปแบบเดียวกับเทศกาล Reading and Leeds Festival ของสหราชอาณาจักร

kinyupen