ส่องช่องทางธรรมชาติไทย – เมียนมาร์ แค่ข้ามมาก็จ๊ะเอ๋ เมืองไทย สบายๆ

0
752
kinyupen

กลายเป็นประเด็นที่กำลังร้อนฉ่าในประเทศไทย หลังจากที่มีการตรวจพบสาวไทยที่เดินทางไปทำงานในจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ลักลอบเข้าเมืองมาทางช่องทางธรรมชาติ โดยไม่มีการตรวจคัดกรองโควิด 19 หนำซ้ำยังใช้ชีวิตปกติ ปะปนกับผู้คนทั่วไป รวมทั้งยังออกเดินทางท่องราตรีไปในหลายสถานที่ กระทั่งตรวจพบว่าติดเชื้อโควิด 19 สร้างความกังวลให้กับชาวไทยไปทั่วในขณะนี้

 

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ จึงเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า แม้ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพยายามหาทางป้องกันการแพร่ระบาดของโรคที่กำลังระบาดหนักในประเทศเมียนมา แต่ด้วยสภาพพื้นที่ทางธรรมชาติระหว่างไทยกับ พม่าที่มีชายแดนติดกันมากกว่า สองพันกิโลเมตรจึงเป็นเรื่องยากที่จะสกัดกั้นการไหลทะลักหนีการระบาดของโรคเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นคนไทยที่เข้าไปทำงาน หรือ ชาวเมียนมาร์ เองที่พยายามลักลอบเข้ามาในประเทศไทยขณะนี้

 

 

ก่อนหน้านี้ พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. รองเคยออกมาระบุว่า ประเทศไทยมีจังหวัดที่มีพรมแดนติดกับชายแดนติดกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาทั้ง 10 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ชุมพร เชียงราย เชียงใหม่ ตาก ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี แม่ฮ่องสอน ระนอง ราชบุรี

 

โดยการเข้าประเทศตามด่านชายแดนไทย เมียนมาร์ นั้น สามารถดำเนินการเข้า-ออก ผ่านจุดข้าออกประเทศใน 20 จุดได้ดังนี้

  • จุดผ่านแดนถาวร จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย จ.เชียงราย 2 จุด , จ.ตาก 1จุด, จ.กาญจนบุรี 1 จุด และ จ.ระนอง 1 จุด
  • จุดผ่านแดนชั่วคราว จำนวน 1 แห่ง อยู่ใน จ.กาญจนบุรี
  • จุดผ่อนปรน จำนวน 14 แห่ง ประกอบด้วย จ.เชียงราย 5 จุด, เชียงใหม่ 2 จุด, แม่ฮ่องสอน 4 จุด, กาญจนบุรี 1 จุด และ ประจวบคีรีขันธ์

 

สำหรับ 20 จุดผ่านแดนนี้ คือ ช่องทางเข้าออกที่ถูกกฎหมาย แต่ผู้คนยังสามารถลักลอบเข้าประเทศไทย ตามช่องทางธรรมชาติตลอดแนวชายแดนไทย-เมียนมาร์ ที่มีความยาวกว่า 2,041 กิโลเมตร

 

ช่องทางธรรมชาติ (Natural Border Path) หมายถึง ช่องทางบริเวณชายแดนเพื่อการเดินทางเข้า-ออกของประชาชนที่เดินทางไปมาหาสู่กัน ซึ่งไม่มีการประกาศเป็นจุดผ่านแดนใดๆ หรืออาจเคยประกาศเป็นจุดผ่านแดนชั่วคราวหรือจุดผ่อนปรนเพื่อการค้าที่ประกาศยกเลิกไปแล้ว แต่ยังคงมีการเดินทางเข้า-ออกของประชาชนอยู่

 

โดยช่องทางธรรมชาติส่วนใหญ่ “ไม่มีรั้วกั้น” ดังนั้นคนทั้งสองฝั่งจะสามารถเข้า-ออกประเทศ ในทุกช่องทาง ทุกพื้นที่ ไม่จำเป็นต้องผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง อย่างไรก็ตามบางสภาพพื้นที่เป็นป่ารกชัฏ ไม่มีถนนเข้าในพื้นที่ หรือบางพื้นที่แม้จะมีเส้นทางรถยนต์ แต่ก็มีความยากลำบากในการเดินทาง

บางแห่งยังมี “ทหารพราน” ออกลาดตระเวนอย่างต่อเนื่อง โดยการลาดตระเวนแต่ละครั้งๆ ของแต่ละชุด จะใช้เวลาประมาณ1 สัปดาห์ ใช้วิธีการเดินเท้าเข้าไปในป่า พักค้างแรมในป่า ดังนั้นหากมีกลุ่มคนที่พยายามหลบหนีเข้าเมืองตามเส้นทางธรรมชาติ โอกาสที่จะเจอกองกำลังทหารพรานที่ออกลาดตระเวน จึงเป็นไปได้สูง แต่ถึงแม้จะมีความยากลำบาก แต่โอกาสเล็ดลอดเข้ามาก็เป็นไปได้กำลังทหารพรานไม่ได้มีกำลังลาดตระเวนได้ครอบคลุมตลอดแนวชายแดน

 

นอกจากนี้ การลักลอบเข้าเมืองโดยมีคนจัดตั้ง หรือ ทำเป็นขบวนการ วิธีการเหล่านี้ ต้องอาศัยคนนำทางที่มีประสบการณ์ทั้งเส้นทาง และการเคลียร์ทาง วิธีลักษณะนี้ จะต้องมีคนนำทางทั้งสองฝั่ง มีจุดนัดพบในป่า มีจุดพักค้างคืน และมีจุดรับตัวเข้าประเทศ รวมทั้งต้องรู้ข้อมูลวัน เวลา ของชุดลาดตระเวนในพื้นที่ว่าเข้าปฏิบัติงานช่วงเวลาไหนอย่างไร

 

“วิธีการลักษณะนี้มีทั้งการเดินเท้า หรือ การลักลอบมากับรถขนสินค้าเกษตร หรือรถบรรทุกขนาดใหญ่ต่างๆ ในพื้นที่ อ.พบพระ จ.ตาก หรือหลายจุดตรวจความมั่นคงตามด่านชายแดน ถ้าสังเกตเห็นจะพบว่าเจ้าหน้าที่ประจำจุด จะมีเหล็กปลายแหลมคล้ายเหล็กเส้นขนาดเล็ก จะคอยเอาไว้สุ่มทางในรถขนผักเพื่อดูว่ามีการแอบซ่อนตัวมาอยู่ในกองผักบนกระบะบรรทุกหรือไม่ รวมทั้งมีการใช้สุนัขตำรวจดมกลิ่นในบางจุดตรวจอีกด้วย

สำหรับ ส่วนความผิด กรณีที่มีคนนำพาหลบหนีเข้าเมือง ซึ่งอาจได้ค่าหัวคิว หัวละ 1,000-2,000 บาท จะมีโทษ “ร่วมกัน รู้ว่าคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร โดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ.2522 ให้เข้าพักอาศัย ซ่อนเร้น หรือช่วยด้วยประการใดๆ เพื่อให้คนต่างด้าวนั้นพ้นจากการจับกุม”

 

ส่วนชาวต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมือง จะมีความผิด “เป็นคนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตและมั่วสุมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคตามข้อกำหนดในมาตรา 9 ฉบับที่ 1 ข้อ 5 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548

 

สำหรับช่องทางที่กลุ่มผู้ลักลอบสาวที่ติดเชื้อโควิด 19 ลักลอบเข้ามา และยังเป็นช่องทางที่ถูกมักมีชาวต่างด้าวหรือชาวไทยที่ไปทำงานที่จังหวัดท่าขี้เหล็กมักแอบลักลอบเข้ามาผ่านจังหวัดเชียงรายคือ เส้นทางข้ามแม่น้ำสาย ซึ่งเป็นแม่น้ำที่กั้นพรมแดนระหว่างไทยกับเมียนมาร์ นั่นเอง

 

แม่น้ำเมย ยืนมองจากฝั่งไทยไปหาพม่า

 

สำหรับ แม่น้ำสาย เป็นแม่น้ำที่แบ่งเขตการปกครองอำเภอแม่สายของประเทศไทย กับเมืองท่าขี้เหล็กของประเทศพม่า มีต้นกำเนิดที่ แขวงท่าขี้เหล็ก, รัฐฉาน ประเทศพม่า เป็นแม่น้ำสายสำคัญที่เป็นสัญลักษณ์ของอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีความยาวรวมทั้งหมด 30 กิโลเมตรโดยมีความยาวในประเทศไทย 15 กิโลเมตร

 

แม่น้ำสายแห่งนี้เป็นแม่น้ำที่เป็นพรมแดนทางธรรมชาติที่กั้นระหว่างไทยกับพม่า ต้นน้ำของแม่น้ำสายอยู่ที่ประเทศพม่าหลังจากนั้นก็ไหลผ่านประเทศไทยระหว่างอำเภอแม่สายกับแขวงท่าขี้เหล็กแล้วก็ไปรวมกับแม่น้ำรวกภายในอำเภอ แม่น้ำหลังจากนั้นก็ไหลรวมเข้ากับแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงแสน ชาวบ้านต่างใช้ประโยชน์จากแม่น้ำสายด้านเกษตรกรรม และยังเป็นช่องทางธรรมชาติทั้งประชาชนทั้งสองประเทศใช้ลักลอบข้ามไปมาโดยไม่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองที่ถูกต้องอีกด้วย

 

นอกจากนี้ในพื้นที่ จ.ตาก ยังมี แม่น้ำเมย ซึ่งเป็นแม่น้ำสายย่อยของแม่น้ำสาละวิน มีต้นกำเนิดในอำเภอพบพระ จังหวัดตาก ไหลขึ้นไปทางเหนือผ่านอำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด อำเภอท่าสองยาง มาบรรจบกับแม่น้ำสาละวินที่อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีความยาว 327 กิโลเมตร เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างไทยกับพม่าและมีความสำคัญในการลำเลียงสินค้าทางน้ำระหว่างไทยกับพม่า และยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางธรรมชาติที่มักตรวจพบมีผู้ลักลอบเข้าเมืองมากที่สุดอีกจุดหนึ่งอีกด้วย

kinyupen