โดยเฉพาะเกณฑ์การคิดค่าธรรมเนียม และดอกเบี้ย ที่ดูเหมือนจะเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การปลดนี้ช้าลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกหนี้ที่มียอดค้าง แม้จะนำเงินไปชำระยอดค้าง แต่ต้องถูกคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมทบไปมาซ้ำซ้อนจนเหลือเงินเพื่อหักยอดเงินต้นนิดหน่อยเท่านั้น เลยพาลให้หมดกำลังใจใช้หนี้
แต่ล่าสุดน่าจะเป็นทางออกที่ลูกหนี้หลายคนเริ่มจะมีกำลังใจขึ้นได้บ้างแล้ว เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย ได้หาทางแก้ไขปัญหานี้ โดยออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์เรื่องการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้และการตัดชำระหนี้ แบบใหม่ เพื่อช่วยลดภาระหนี้ ให้กับประชาชน ที่ค้างชำระหนี้ โดยประกาศนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อลูกหนี้ที่ค้างชำระหนี้ ซึ่งจะสามารถทำให้สามารถปลดหนี้ได้เร็วขึ้นเพราะได้มีการกำหนดให้มีการคิดอัตราค่าธรรมเนียม และ ดอกเบี้ย จากยอดค้างแบบใหม่ เพื่อให้ลูกหนี้เหลือเงินสำหรับการตัดยอดเงินต้นได้เร็วขึ้น สรุปแบบเข้าใจง่ายๆ คือ
- การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐานของ “เงินต้นที่ผิดนัดจริง” เท่านั้น ไม่ให้รวมส่วนของเงินต้นของค่างวดในอนาคตที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ต่างจากแนวปฏิบัติเดิมที่หากผิดนัดชำระหนี้เพียงงวดเดียว ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จากฐานเงินต้นคงค้างทั้งหมด ส่งผลให้มูลค่าดอกเบี้ยผิดนัดสูงมาก ซึ่งเกณฑ์ใหม่นี้จะทำให้การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง และเกิดความเป็นธรรมกับประชาชนมากขึ้น
นั่นคือ ฐานการคิดดอกเบี้ยผิดนัด จากก่อนหน้านี้ที่จะเอาเงินต้นทั้งก้อนซึ่งเป็นเงินก้อนใหญ่มาคิดดอกเบี้ย หลังจากนี้ต่อไปจะคิดจากยอดที่ผิดนัดเท่านั้น เช่นเงินต้นกู้หนึ่งล้านบาท แต่ผู้กู้ค้างจ่ายอยู่สามหมื่นบาท ธนาคารที่ให้กู้จะต้องคิดดอกเบี้ยจากฐานเงินที่ค้าง คือ 30,000 บาท ไม่ใช่การนำเงินหนึ่งล้านบาทมาคิดเป็นฐาน
- การกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ที่ “อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาบวกไม่เกิน 3%” เช่น ถ้าอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาคือ 8% ผู้ให้บริการทางการเงินจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้ไม่เกิน 11% โดยต้องคำนึงถึงประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาด้วย ซึ่งต่างจากเดิมที่ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้เอง เช่น กำหนดตามอัตราดอกเบี้ยสูดสุดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ 15% หรือบางกรณีสูงถึง 18% หรือ 22% ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ (affordability risk) ได้ ดังนั้น การปรับเกณฑ์ในครั้งนี้ จะช่วยให้ลูกหนี้พยายามจ่ายชำระหนี้ ลดโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ และยังช่วยให้ระบบการเงินมีความสมดุลมากขึ้น การฟ้องร้องดำเนินคดีจะลดลง และที่สำคัญคือจะต้องคิดจากก้อนที่ผิดนัดเท่านั้น ไม่ใช่จากยอดกู้ทั้งหมด
- การกำหนดลำดับการตัดชำระหนี้โดยให้ “ตัดค่างวดที่ค้างชำระนานที่สุดเป็นลำดับแรก” เพื่อให้ลูกหนี้ทราบลำดับการตัดชำระหนี้ที่ชัดเจน โดยเมื่อลูกหนี้ชำระหนี้ เงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปจ่ายค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย และเงินต้นของงวดหนี้ที่ค้างชำระนานที่สุดก่อน หรือตัดยอดที่ค้างทั้งค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ยและเงินต้นออกไปก่อน (ที่ค่างเก่าในงวดนั้นเดิมแต่จะยังไม่ตัดค่าธรรมเนียม หรือดอกเบี้ยของเงินที่ค้างในงวดต่อๆ มา)
ต่างจากแนวทางเดิมที่เงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปตัดค่าธรรมเนียมทั้งหมด จากนั้นตัดดอกเบี้ยทั้งหมด ก่อนนำเงินส่วนที่เหลือ ซึ่งจะเหลือน้อยลง มาตัดเงินต้นเป็นลำดับสุดท้าย
ซึ่งการปรับเกณฑ์ใหม่นี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เงินงวดที่ลูกหนี้ผ่อนในแต่ละเดือนสามารถตัดถึงเงินต้นได้มากขึ้น ช่วยลดการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพหรือ NPL รวมทั้งช่วยให้ลูกหนี้มีกำลังใจในการจ่ายชำระหนี้ต่อเนื่อง และยังช่วยให้ประวัติการผ่อนชำระหนี้ของลูกหนี้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงมากขึ้น
ประกาศการกำหนดเกณฑ์การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ยกเว้นเรื่องลำดับการตัดชำระหนี้ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป เนื่องจากผู้ให้บริการทางการเงินต้องใช้เวลาในการปรับปรุงระบบงานที่เกี่ยวข้อง
- 4 ไอเดียปลดหนี้
- “หนี้สิน” กำลังใจที่ดีที่สุดในการทำงาน
- แนะ Gen Y Gen Z หนี้ควรหยุดสร้าง..วางแผนออมบ้างถ้าอยากรวย
- 4 กับดักสร้างหนี้..วนไป สไตล์มนุษย์เงินเดือน
สำหรับการผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 เมษายน 2564 ผู้ให้บริการทางการเงินสามารถนำหลักการตามประกาศฉบับใหม่มาใช้พิจารณายกเว้นหรือผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ตาม