นี่คือ 5 ปัญหา ซึ่งพบในเด็กที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่
- ดูดกลืนอาหาร เพราะจะทำให้นมไหลย้อนขึ้นไปที่จมูกผ่านช่องเพดานโหว่ ยิ่งทานนมผสมจะมีอาการมากกว่าทานนมแม่ ทำให้ทารกกระสับกระส่าย ร้องไห้ กวนบ่อย และไม่อยากดูดนม
- เจริญเติบโตช้าผิดปกติ เพราะความลำบากในการดูดกลืนสารอาหาร ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการด้านต่างๆ ช้า
- ปัญหาระบบทางเดินหายใจ การดูดกลืนของเหลว เช่น น้ำ หรือ นม อาจทำให้สำลักได้ ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
- ปัญหาด้านการพูด พูดช้า พูดออกเสียงไม่ชัด อาจทำให้เด็กรู้สึกมีปมด้อยได้
- ปัญหาฟันผิดปกติ ความผิดปกติของริมฝีปาก เพดานและจมูก ส่งผลต่อโครงสร้างและการสบกันของฟัน เช่น ฟันล่างครอบฟันบน ฟันบน และฟันล่างไม่สบกัน ฟันขาดหายไป ฟันขึ้นผิดที่ และผิดตำแหน่ง เป็นต้น
“45 นาที พลิกชีวิต”
ในด้านการรักษา แพทย์จะใช้เวลาประมาณ 45 นาที พลิกชีวิตเด็กที่เป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ให้กลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ซึ่งน้องๆ หลายคนอาจต้องเจอ 45 นาทีแห่งชีวิต…หลายต่อหลายครั้งกว่าจะพลิกชีวิตได้ เพราะต้องเริ่มผ่าตัดรักษาตั้งแต่วัยทารกจนกระทั่งถึงวัยรุ่นอายุประมาณ 18 ปี และกว่าจะปกติได้…เด็ก 1 คน ต้องใช้ค่ารักษาพยาบาลรวมแล้วหลายแสนบาท
ปัจจุบัน ยังคงมีเด็กอีกหลายคนที่รอความช่วยเหลืออยู่อีกมาก เพราะโรคนี้เกิดในช่วง “มหัศจรรย์ 1000 วันแรกของชีวิต” โดยขณะตั้งครรภ์หากคุณแม่ได้ระดับสารบางอย่าง เช่น ยากันชัก ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) สารพิษ สารเคมี …. คุณแม่ที่สูบบุหรี่จัด หรือ ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนัก รวมถึงมีภาวะขาดสารอาหาร เช่น ขาดกรดโฟลิคขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจำเป็นต่อพัฒนาการของลูกน้อย ภาวะเสี่ยงนี้มักเกิดกับคุณแม่ที่เข้าไม่ถึงสาธารณูปโภคที่ดี หรือ ไม่ได้รับการฝากครรภ์ ส่วนใหญ่มักพบตามเขตตะเข็บชายแดน หรือ ชุมชนที่ห่างไกล
ทางแก้จึงไม่ใช่แค่เพียงต้นเหตุ แต่คือปลายเหตุที่เราสามารถร่วมด้วยช่วยกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเป็นจิตอาสาเข้าไปช่วยทีมแพทย์ขณะลงพื้นที่ รวมถึงการร่วมบริจาคสมทบทุนค่ารักษาให้กับน้องๆ หรือ การแชร์บทความนี้ให้กับใครอีกหลายคนได้รับรู้ถึงปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในบ้านของเรา