Ambulance Drone โดรนกู้ชีพ ช่วยชีวิตใน 2 นาที

0
1413
kinyupen

ตั้งแต่ในปี 2014 ที่อเล็กซ์ โมมอนต์ (Alec Momont) ผู้สร้างโครงการ Ambulance Drone ได้พัฒนาโดรนรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นกล่องเครื่องมือบินขนาดกะทัดรัดที่มีอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการช่วยชีวิตขั้นสูง มีความสามารถในการพกพาและพับเก็บได้ช่วยให้ใช้งานโดรนได้ทุกที่รวมถึงในบ้าน โดยต้นแบบแรกเน้นที่การส่งมอบเครื่องกระตุ้นหัวใจอัตโนมัติ (AED)

 

 

จากสถิติพบว่าในทุกปีมีผู้รอดชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเพียง 8% ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก คือ ช่วยชีวิตไม่ทัน การช่วยเหลือฉุกเฉินค่อนข้างช้า (10 นาที) ในขณะที่การตายของสมองไปสู่การเสียชีวิตเริ่มเกิดขึ้นในเวลาเพียง 4 ถึง 6 นาที

 

แต่ Ambulance Drone ที่สามารถช่วยชีวิตได้ด้วยเครื่องกระตุ้นหัวใจในตัว สามารถไปได้มากกว่า 100 กม./ชม. และไปถึงที่หมายได้ภายใน 1 นาที เพิ่มโอกาสรอดจาก 8% เป็น 80%! ซึ่งตอบโจทย์สำหรับใช้งานในเมืองที่มีการจราจรหน้าแน่นและสถานที่มีคนพลุกพล่าน ทำให้รถของหน่วยกู้ภัยไม่สามารถไปได้ทันเวลา

 

 

คำชี้แจง : ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวและควรทำ CPR ก่อนเสมอ แล้วจึงส่งจะส่งโดรนผู้ช่วยออกไปเพื่อรับ AED หรือ Ambulance Drone ในกรณีที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น

 

โดรนกู้ชีพ จะติดตามการโทรฉุกเฉินบนมือถือและใช้ GPS เพื่อนำทางไปยังบริเวณที่มีผู้ป่วยฉุกเฉิน มีการติดกล้องสตรีมสดที่โดรน เพื่อให้นักบินหรือเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำในการใช้เครื่อง AED และการให้ความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินได้

 

เมื่อโดรนพับขึ้นจะกลายเป็นกล่องเครื่องมือสำหรับอุปกรณ์ฉุกเฉินทุกประเภท และปัจจุบันโดรนฉุกเฉินในถูกพัฒนาต่อยอดให้รองรับกรณีการบาดเจ็บหรือการช่วยเหลือโรคที่เป็นอันตรายอื่นๆ เช่น การจมน้ำ โรคเบาหวาน ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ และการบาดเจ็บ

 

TU Delft

 

นอกจากนี้การใช้โดรนช่วยในการกู้ชีพถือว่าตอบโจทย์มาก เพราะมีการทดสอบหลายต่อหลายครั้ง ที่สามารถทำเวลาช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังเชื่อถือได้เนื่องจากระหว่างกระบวนการกู้ชีพ มีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญตลอดเวลา เพื่อช่วยดึงสติ และให้การปฐมพยาบาลที่ถูกต้องทางการแพทย์ต่อไป ซึ่งล่าสุดยังมีการใช้โดรนมาประยุกต์ใช้ในการแพทย์อีกหลายแบบ เช่น โดรนไร้คนขับ โดรนส่งผู้ป่วย โดรนกู้ภัย (อัคคีภัย)

 

EHang Holdings Limited

 

เช่น  โดรนกู้ภัย ของ EHang Holdings Limited บริษัทเทคโนโลยียานพาหนะทางอากาศสัญญาติจีน ที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เพราะจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดในเมือง ซึ่ง EHang Drone ที่ได้เข้าร่วม Ambular หรือ หน่วยงาน Emergency Response Aircraft เครื่องบินที่จะตอบสนองต่อกรณีฉุกเฉิน ที่ปัจจุบันได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการขนส่งผู้คนผ่านโดรนได้ ผ่านโดรนรุ่น AAV EHang 216 โดรนโดยสารแบบ 2 ที่นั่ง ในประเทศนอร์เวย์ได้แล้ว ก็หวังว่าในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศไทย อาจจะนำเทคโนโลยีเช่นนี้ เข้ามาใช้เพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บในนาทีชีวิตต่อไป

 

kinyupen