“ร้านสะดวกซื้อ” กับบริการล้ำสมัย ตอบรับยุค 4.0

0
793
ร้านสะดวกซื้อ-กับบริการล้ำสมัย-ตอบรับยุค-4.0_web
kinyupen

กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต พาไปติดตามเรื่องราวของ “ร้านสะดวกซื้อ” ไม่ได้มีเพียงแค่จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค หรือจัดโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมเท่านั้น แต่ตลอดปี 2018 “ร้านสะดวกซื้อ” ผุดบริการใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์ลูกค้ามากมายให้มาใช้บริการ

เรียกได้ว่าเหนือกว่าร้านขายของชำ ร้านโชห่วยแล้ว ก็ยังมีร้านสะดวกซื้อที่มีพร้อมทุกสิ่งทุกอย่างเอาใจลูกค้าผู้มาใช้บริการ แบบว่าให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด ไม่เพียงแค่จำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภคภายในร้านสะดวกซื้อเท่านั้น แต่ยังมีบริการอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น เคาวเตอร์เซอร์วิส ที่บริการรับชำระค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าสาธารณูปโภคต่าง ๆ สะดวกลูกค้าผู้มาใช้บริการ , บริการอาหารและเครื่องดื่มของเซเว่น สำหรับคนที่ต้องออกไปทำงานหรือไปเรียนหนังสือ แล้วต้องการอาหารเร่งด่วน ที่นี่ก็มีจำหน่าย ฯลฯ

ร้านสะดวกซื้อเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2470 โดยบริษัท เซาท์แลนด์ ไอซ์ จำกัด (เซาท์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น) เริ่มต้นกิจการผลิตและจัดจำหน่ายน้ำแข็งที่เมืองดัลลัส รัฐเทกซัส สหรัฐฯ ในปีเดียวกัน ทางบริษัทฯ ได้นำสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ มาจำหน่าย เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้า จึงเปลี่ยนชื่อเป็น Tote’m Store ในระยะแรกเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 07.00-23.00 น. ของทุกวัน กระทั่งมีการเปิดตลอด 24 ชั่วโมง ในปัจจุบัน ร้านสะดวกซื้อชื่อดังอย่าง “เซเว่นอีเลฟเว่น” ในประเทศไทย มีจำนวนประมาณ 8,000 สาขา เฉพาะในกรุงเทพฯ มีมากกว่า 500 สาขา นอกจากนี้ ยังมีร้านสะดวกซื้อเจ้าอื่น ๆ อย่าง แฟมิลี่ มาร์ค , ลอว์สัน , ท็อปส์ซุปเปอร์มาร์เก็ต , เทสโก้โลตัส เอ็กเพรส , เฟรซมาร์ค , 108 Shop ฯลฯ

ณ วันนี้ ตลอดปี 2018 ร้านสะดวกซื้อไม่ได้มีเพียงแค่บริการลดแลกแจกแถมเท่านั้น ยังมีบริการใหม่ ๆ ตอบโจทย์ลูกค้ามากมาย

 

ร้านสะดวกซื้อ-กับบริการล้ำสมัย-ตอบรับยุค-4_FB

 

ทั้งนี้ Kantar Worldpanel (Thailand) บริษัทวิจัยพฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคในกลุ่มสินค้า FMCG ได้สรุป 3 ปัจจัยสำคัญในการเติบโตของร้านสะดวกซื้อในประเทศไทย ได้แก่ (1.) การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรศาสตร์ : โครงสร้างของประชากร และครอบครัวมีการเปลี่ยนไป ส่งผลต่อพฤติกรรมก็คือ ผู้บริโภคจะซื้อแต่ของที่จำเป็น และซื้อเมื่อต้องการเท่านั้น , (2.) ร้านสะดวกซื้อจะกลายเป็น Community Hub ในชุมชน : ร้านสะดวกซื้อจะต้องไม่ใช่แค่ร้านขายของใกล้บ้าน ที่มีแค่ความสะดวกสบายอย่างเดียว แต่ต้องยกระดับเป็นร้านสะดวกซื้อที่มีบริการใหม่ๆ ทำให้ชีวิตผู้บริโภคง่ายขึ้น และขยายร้านเข้าสู่พื้นที่ชุมชมมากขึ้นเช่นกัน และ (3.) แหล่งผนึกออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน : ให้ร้านสะดวกซื้อกลายเป็นพื้นที่กลางระหว่างร้านค้าออนไลน์กับผู้บริโภค จึงได้เห็นบริการ Click & Collect มากขึ้น สั่งซื้อของช่องทางออนไลน์ แล้วผู้ขายจะร่วมมือกับร้านสะดวกซื้อในการรับสินค้าที่ร้าน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้า

อย่างไรก็ตาม ในอนาคตร้านสะดวกซื้อทั้งหลายอาจจะผุดการให้บริการอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าผู้มาใช้บริการ นอกจากนี้ ร้านสะดวกซื้อแต่ละเจ้าอาจจะต้องคิดหนักในการวางแผนแข่งขันกับร้านสะดวกซื้อคู่แข่ง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคและดึงลูกค้าให้มาใช้บริการให้ได้มากที่สุด และนี่คือหนึ่งในวิถีแห่ง กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต

kinyupen