ทำความรู้จัก “ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน” อันตรายจากสภาพพื้นที่

0
441
kinyupen
กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต พาไปติดตามเรื่องราวของกรณีทีมฟุตบอลเยาวชนและโค้ชผู้ฝึกสอนรวม 13 คน หลงเข้า “ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน” เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ที่ผ่านมา วันนี้มาทำความรู้จักถ้ำเก่าแก่แห่งนี้ ถ้ำที่อันตรายเมื่อเข้าฤดูฝน

 

ถ้ำหลวง-ขุนช้างนางนอน ตั้งอยู่ที่ เขตป่าสงวนแห่งชาติป่า ดอยนางนอน ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีความสูงจากจากระดับนำทะเลปานกลาง 453.00 เมตร และเป็นแหล่งธรรมชาติจากโครงการแนวทางการจัดการแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ปี 2547

 

ถ้ำหลวง เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ปากถ้ำเป็นห้องโถงกว้าง ภายในถ้ำจะพบกับความงามของ เกล็ดหินสะท้อนแสง หินงอก หินย้อย ธารน้ำและถ้ำลอด ถ้ำหลวงยังรอคอยความท้าทายการสำรวจจากนักท่องเที่ยวอยู่ตลอดเวลาเพราะสำรวจไปได้ไม่ถึงที่หมายก็ต้องล่าถอยออกมา ด้วยพบกับอุปสรรคมากมายภายในถ้ำไม่ว่าจะเป็น ความมืด ความแคบภายในถ้ำ กระแสน้ำและระดับน้ำที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  เนื่องจากถ้ำแห่งนี้มีน้ำไหลมาจาก ผาหมี ซึ่งจะมีระดับน้ำและกระแสน้ำที่รุนแรงมากขึ้น ยิ่งเข้าฤดูฝนน้ำในถ้ำจะยิ่งเพิ่มระดับ บางจุดน้ำท่วมปิดมิดทางเดิน ระยะทางทั้งหมดของถ้ำมีความยาวประมาณ 7-8 กิโลเมตร

 

สภาพธรณีวิทยานอกถ้ำ

ประกอบไปด้วยชั้นหินปูน หมวดหินราชบุรี (Ratburi Group) ที่เกิดอยู่ในยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous) ต่อยุคเพอร์เมียน (Permian) ซึ่งมีช่วงอายุระหว่าง 345-230 ล้านปี หินที่พบมีทั้งหินปูน (Limesmtone) และหินอ่อน (Marble) สีเทาถึงเทาดำ มีซากบรรพชีวิน (Fossil) สลับด้วยหินดินดาน (Shale) สีเทา

สภาพธรณีวิทยาภายในถ้ำ

ประเภทของถ้ำเขาหลวงเป็นถ้ำกึ่งแห้ง เนื่องจากบางส่วนยังมีการเกิดของหินงอก และหินย้อยอยู่ และบางส่วนแห้งแล้ว อยู่ในพื้นที่วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ตั้งอยู่ที่ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีลักษณะภูมิประเทศแบบหินปูน (Karst topography) มีลักษณะทางธรณีวิทยา ประกอบด้วยหินแข็งยุคคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน (Carboniferous-Permian: CP) หินที่พบในพื้นที่ประกอบด้วยหินปูนสีเทาอ่อน (Limestone) หินอ่อน (Marble) หินยุคนี้อยู่ในช่วงอายุประมาณ 270-320 ล้านปี ปากทางเข้าถ้ำสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 433 เมตร แนวโถงถ้ำมีโถงหลักเพียงโถงเดียว แต่เส้นทางคดเคี้ยว บางช่วงเดินเข้าถึงได้ง่าย บางช่วงมีเพดานต่ำ จนถึงเส้นทางเดินลำบาก มีความยาวรวม 759.76 เมตร เมตร และโถงแยกฝั่งตรงข้ามทางเดินเข้าถ้ำ มีความยาว 68.27 เมตร  ซึ่งการสำรวจในครั้งนี้ สำรวจจนสิ้นสุดห้องลับแล เนื่องจากทางที่จะไปโถงอื่น ๆ นั้นลำบากมาก แร่ทุติยภูมิที่พบเป็นแร่แคลไซต์ (calcite) ได้แก่ หินย้อย หินงอก เสาหิน ม่านเบคอน ผลึกแร่แปรงล้างขวด หลอดโซดา และตะกอนภายในถ้ำ ได้แก่ เศษหินถล่มจากหินน้ำไหล และหินปูน ตะกอนดินเหนียว หาดทราย พบหลักฐานที่แสดงถึงวิวัฒนาการของถ้ำจำนวนมาก เช่น รอยการไหลของน้ำเป็นริ้วคลื่นปัจจุบัน (Ripple Mark) ระดับพื้นถ้ำเก่า หินถล่มขนาดเล็ก และใหญ่จำนวนมาก รอยแตกแบบมีแรงดึง (Tension Crack) นอกจากนี้ยังพบรอยระดับน้ำ หลุมยุบ และโพรงบริเวณเพดานถ้ำ (Anastomosis) และการแตกออกของผนัง

ถ้ำแห่งนี้เป็นถ้ำเก่าแก่และจัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของจังหวัดเชียงราย ซึ่งไม่พบหลักฐานทางโบราณคดี ภายในถ้ำ

 

ทั้งนี้สถานการณ์ล่าสุดของทีมช่วยเหลือ รวมถึงหน่วยซีล จากกองทำเรือ วันที่ 25/06/18

07.30 น.  หน่วยซีลดำน้ำเข้าพื้นที่

08.30 น. พบกระดาษแสดงรายชื่อเด็ก ยังไม่สามารถดูดน้ำกับทรายออกได้เนื่องจากระดับน้ำเริ่มสูงและกว้างขึ้น คาดทุกคนยังปลอดภัย

 

นี่คือหนึ่งในวิถีแห่ง กินอยู่เป็น 360 องศาแห่งการใช้ชีวิต

 

Credit: onep.go.th

 

 

kinyupen