Whoscall เผยมิจฉาชีพไทยเพ่นพ่านหนัก ปีที่แล้วโทร-SMS หลอกลวง 17 ล้านครั้ง

0
290
kinyupen

พบสายมิจฉาชีพพุ่งขึ้นเป็น 17 ล้านครั้งจากปีที่แล้ว และ 7 ใน 10 ของข้อความที่ได้รับเป็นข้อความหลอกลวงและสแปม

Whoscall แอปพลิเคชันระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จัก และป้องกันสแปม สำหรับสมาร์ทโฟน  ชี้ถึงปัญหาที่เพิ่มขึ้นของการหลอกลวงทางโทรศัพท์และข้อความ SMS จากรายงานประจำปีพบว่า  มีการหลอกลวงทั้งจากสายโทรเข้าและข้อความ SMS รวม 405.4 ล้านครั้ง ทั่วโลก

Whoscall เผยสถิติน่าตกใจ  ปีที่แล้ว SMS หลอกลวงทะลักกว่า 405 ล้านครั้งทั่วโลก ไทยดุเดือดมิจฉาชีพอาละวาดหนักเพิ่ม 165%  เผยเบอร์โทรรั่วเกือบครั้ง ถึง 13.5 ล้านเบอร์

รายงานยังเผยสถิติสำคัญครั้งแรก ถึงจำนวนการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ในประเทศไทยกว่า 45% หรือ 13.5 ล้านเบอร์  การรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์เป็น ปัญหาสำคัญทั่วโลก รวมถึงการหลอกลวงทางข้อความ SMS ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่อง      

นายแมนวู จู ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ Gogolook  ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น Whoscall  กล่าวว่า ภัยคุกคามจากการหลอกลวงที่เพิ่มขึ้นมีผลกระทบต่อ อุตสาหกรรมต่อต้านการทุจริต (Anti-Fraud Prevention) จากข้อมูลของ Fortune Business Insight อุตสาหกรรมนี้คาดว่า จะมีมูลค่าถึง 129.2 พันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2572 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปีที่ 22.8% จากการเพิ่มขึ้นของ เอไอแบบรู้สร้าง (Generative AI) และช่องโหว่ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลขององค์กร คาดว่าจะมีการใช้เทคโนโลยี เพื่อหลอกลวง และเกิดผลเสียทวีความรุนแรงมากขึ้นในอนาคต

“จากรายงานประจำปีพบว่า  มีการหลอกลวงทั้งจากสายโทรเข้าและข้อความ SMS รวม 405.4 ล้านครั้ง ทั่วโลก แม้ว่าตัวเลขโดยรวมจะลดลงจากปีที่แล้ว แต่สำหรับประเทศไทยการหลอกลวงยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่ง คนไทยยังต้องรับสายจากมิจฉาชีพเพิ่มขึ้น 165% หรือ 17 ล้านครั้งในปี 2565”

นายฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริษัท Gogolook  กล่าวว่า สำหรับในประเทศไทย พบว่า ในจำนวนข้อความ SMS ที่คนไทยได้รับ 10 ครั้ง จะเป็นข้อความหลอกลวง หรือ ข้อความสแปม ถึง 7 ครั้ง หรือคิดเป็น 73% ของข้อความที่ได้รับทั้งหมด ส่วนสายโทรศัพท์ที่หลอกลวงก็เพิ่มขึ้นถึง 165% จาก 6.4 ล้านครั้งในปี 2564 เป็น 17 ล้านครั้งในปี 2565  นอกจากนี้ มีจำนวนการรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์ในประเทศไทยกว่า 45% หรือ 13.5 ล้านเบอร์  การรั่วไหลของเบอร์โทรศัพท์เป็น ปัญหาสำคัญทั่วโลก

“ภัยเหล่านี้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง Whoscall จึงมุ่งมั่นสร้างความตระหนักรู้ให้คนไทย เห็นความสำคัญของการป้องกันการถูกหลอกลวง การรู้ทันทั้งกลอุบายของมิจฉาชีพและรู้ทันว่าใครโทรมาจะสามารถช่วยให้ คนไทยป้องกันตนเองจากการหลอกลวงได้”

นายฐิตินันท์กล่าวว่า มิจฉาชีพนิยมส่งข้อความหลอกลวงเนื่องจากสามารถเข้าถึงเหยื่อจำนวนมากด้วยต้นทุนต่ำ ข้อความ SMS ถูกใช้เป็น เครื่องมือเพื่อ “ติดต่อครั้งแรก” โดยหลอกให้เหยื่อกดลิงก์ฟิชชิ่งเพื่อขโมยข้อมูลส่วนตัว เพิ่มบัญชีไลน์เพื่อหลอกให้ส่งข้อมูลหรือ โอนเงินให้ กลอุบายที่พบบ่อยได้แก่ การเสนอเงินกู้โดยมักอ้างรัฐบาลหรือธนาคาร  และการให้สิทธิ์เข้าตรงเว็บพนันออนไลน์ ที่ผิดกฎหมาย คีย์เวิร์ดของข้อความหลอกลวงที่ถูกรายงานที่พบบ่อยที่สุดเช่น “รับสิทธิ์ยื่นกู้” “เครดิตฟรี” “เว็บตรง” “คุณได้รับสิทธิ์” “คุณได้รับทุนสำรองโครงการประชารัฐ” “คุณได้รับสิทธิ์สินเชื่อ” และ “คุณคือผู้โชคดี”  

ทั้งนี้ รูปแบบและประเด็นการหลอกลวงถูกปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของแต่ละประเทศ จากการค้นหาและระบุการหลอกลวง (รวมการโทรและข้อความ) ต่อผู้ใช้ Whoscall 1 คน ประเทศไทยอยู่ในอันดับต้น ๆ ที่มีข้อความและสายโทรเข้าหลอกลวง เฉลี่ย 33.2 ครั้งต่อปี (เพิ่มขึ้น 7%) ขณะที่ไต้หวันมี 17.5 ครั้ง (ลดลง 20%) และมาเลเซีย 16.5 ครั้ง  (เพิ่มขึ้น 15%) ตัวเลข ดังกล่าวตอกย้ำว่าการหลอกลวงนั้นยังคงแพร่หลายไปยังหลายประเทศ

บริการออนไลน์ได้รับความนิยมมากขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 การหลอกลวงจึงเพิ่มขึ้น โดยไม่มีทีท่าว่าจะชะลอตัวลง Whoscall ขอแนะนำให้คนไทยปฏิบัติตามแนวทางเหล่านี้เพื่อป้องกันตนเองจากเหล่ามิจฉาชีพ:

อย่าคลิก: หากคุณได้รับลิงก์ใน SMS อย่าคลิกลิงก์นั้น โดยเฉพาะข้อความที่มาจากธนาคารหรือหมายเลขที่ไม่รู้จัก เนื่องจาก ปัจจุบัน มีข้อห้ามไม่ให้ธนาคารและสถาบันการเงินในประเทศไทยส่งลิงก์ทาง SMS ให้กับลูกค้าโดยตรง

– อย่ากรอก: หากได้รับ SMS เพื่อขอข้อมูลส่วนบุคคลหรือขออัปเดตชื่อผู้ใช้/รหัสผ่าน หรือข้อมูลทางการเงินที่มีลิงก์ไปยัง เว็บไซต์     ที่น่าสงสัย อย่าให้ข้อมูลส่วนบุคคลใดๆเด็ดขาด

– อย่าเพิกเฉย: ผู้ใช้สามารถช่วยกันต่อต้านกลโกงและหลอกลวงทางโทรศัพท์ โดยการรายงานเบอร์โทรศัพท์ที่น่าสงสัย หรือหลอกลวง ทางแอปพลิเคชัน Whoscall เพื่อป้องกันและช่วยส่งคำเตือนไปยังกลุ่มผู้ใช้รายอื่น

kinyupen

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here